Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvesTalk
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2020 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
รู้ก่อนซื้อ “หุ้น OR”
หุ้น OR หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) กำลังจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เร็ว ๆ นี้
วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปสำรวจดูว่า OR ทำธุรกิจอะไรบ้าง ผลประกอบการที่ผ่านมาเป็นอย่างไร รวมไปถึงโครงการในอนาคตของบริษัทฯ
📷 PTTOR
ธุรกิจของบริษัท
ธุรกิจของ OR สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) และกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ
1.กลุ่มธุรกิจน้ำมัน
ในส่วนของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจการตลาดค้าปลีก และการตลาดพาณิชย์
โดยการตลาดค้าปลีก คือ ธุรกิจขายน้ำมันในปั๊ม แปลว่าทุกครั้งที่ท่านเข้าไปเติมน้ำมันในปั๊ม ปตท. รายได้จะเข้าสู่ PTTOR ซึ่ง ณ ปัจจุบัน น้ำมันดีเซลมีสัดส่วนรายได้สูงที่สุดอยู่ที่ประมาณ 58% รองลงมาคือเบนซินอีก 42% และอื่น ๆ อีกเล็กน้อย
อีกส่วนหนึ่งคือการตลาดพาณิชย์ หมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยงข้องกับน้ำมัน แต่ไม่ใช่การขายน้ำมันในปั๊ม เช่น ธุรกิจขายน้ำมันอากาศยานอย่าง JET A-1 ธุรกิจแก๊สหุงต้ม (LPG) ที่เราเห็นส่งไปตามบ้าน รวมไปถึงธุรกิจ FIT Auto ที่บริการตรวจสภาพรถ และเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เป็นต้น
2. กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil)
ในส่วนของธุรกิจ Non-Oil เอง ก็สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ธุรกิจเช่นกัน คือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจร้านสะดวกซื้อและบริหารจัดการพื้นที่
ในส่วนของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทฯ เป็นเจ้าของแบรนด์ Cafe Amazon กาแฟที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในไทย และ Pearly Tea นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังได้สิทธิ์ในการบริหารร้านอาหาร chain ดังจากต่างประเทศอย่าง Texas Chicken และ ฮั่ว เซ่ง ฮง ติ่มซำ อีกด้วย
อีกส่วนหนึ่งคือธุรกิจร้านสะดวกซื้อและบริหารพื้นที่ ซึ่งบริษัทฯ เองเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อยี่ห้อ Jiffy และมีการร่วมมือกับ CPALL ในการเปิดร้าน 7-11 ในปั๊ม ปตท. นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังมีการเปิดพื้นที่ให้ร้านค้าอื่น ๆ มาเช่าพื้นที่ในบริเวณสถานบริการน้ำมันอีกด้วย เช่น the pizza, Chester’s Grill เป็นต้น
3. กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ
นอกจากธุรกิจในประเทศแล้ว บริษัทฯ ได้มีการขยับขยายไปทำธุรกิจในต่างประเทศด้วย โดยมีการขยายทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน และไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน
ซึ่งในปัจจุบันนี้ เฉพาะในกลุ่มธุรกิจต่างประเทศมีสัดส่วนรายได้มาจากประเทศฟิลิปปินส์ 53% ประเทศกัมพูชา 26% และอื่น ๆ เช่น ลาว มาเลเซีย จีน อีก 21%
แนวโน้มผลประกอบการ
หากเราย้อนดูผลประกอบการของบริษัทฯ ในช่วงปี 2560 – 2562 จะพบรายได้และกำไรเป็นดังนี้
▪️ปี 2560 รายได้ 547,251.90 ล้านบาท กำไรสุทธิ 12,671.06 ล้านบาท
▪️ปี 2561 รายได้ 594,128.74 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9,493.05 ล้านบาท
▪️ปี 2562 รายได้ 577,134.02 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,895.80 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตของรายได้เฉลี่ย 2.69% ต่อปี แต่กำไรสุทธิลดลงเฉลี่ย 7.27% ต่อปี
โครงสร้างรายได้
นอกจากนั้นหากดูที่โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มธุรกิจน้ำมัน อันดับ 2 มาจากกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ และส่วนสุดท้ายมาจากกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil)
และหากเรามองการเติบโตของรายได้ในแต่ละกลุ่มจะพบว่า
▪️กลุ่มธุรกิจน้ำมัน มีรายได้เติบโตจาก 516,602.70 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 539,835.40 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 2.22% ต่อปี
▪️กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) มีรายได้เติบโตจาก 13,496.50 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 17,016.20 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 12.28% ต่อปี
▪️กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีรายได้เติบโตจาก 25,454.00 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 33,656.90 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 14.99% ต่อปี
ทำให้สัดส่วนรายได้ของปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนไปพอสมควร
แต่…หากเราดูที่ EBITDA หรือ กำไรที่ใกล้เคียงกับเงินสด จะเห็นภาพที่เปลี่ยนไป
▪️กลุ่มธุรกิจน้ำมัน มี EBITDA ลดลงจาก 14,851.80 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 12,016.40 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการลดลงเฉลี่ย 10.05% ต่อปี
▪️กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) มี EBITDA เติบโตจาก 3,635.6 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 4,254.70 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 8.18% ต่อปี
▪️กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มี EBITDA ลดลงจาก 727.90 ล้านบาท ในปี 2560 มาเป็น 707.20 ล้านบาท ในปี 2562 คิดเป็นการลดลงเฉลี่ย 1.43% ต่อปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีเพียงกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) เท่านั้นที่มีการเติบโตขึ้นของ EBITDA ส่วนอีก 2 กลุ่มธุรกิจที่เหลือมีแนวโน้มที่ลดลง
ทำให้สัดส่วน EBITDA ของปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนไปพอสมควร
โดยจะเห็นว่าสัดส่วน EBITDA ของกลุ่มธุรกิจน้ำมันลดลงจาก 77% มาเป็น 71% ในขณะที่กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ เติบโตจาก 19% มาเป็น 25% ส่วนกลุ่มธุรกิจต่างประเทศสัดส่วนค่อนข้างคงที่ที่ 4%
ซึ่งทำให้เราเห็นความสำคัญของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ถึงแม้ว่ารายได้จะเป็นสัดส่วนที่น้อยเพียง 3% ของรายได้ทั้งหมด แต่สร้างกำไรให้กับธุรกิจถึง 25% และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เหตุผลในการเพิ่มทุน
OR ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่ามีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุน 6 ประเด็น คือ
1. การขยายเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน
2. การขยายธุรกิจสำหรับการตลาดพาณิชย์
3. การลงทุนในคลังเก็บผลิตภัณฑ์และศูนย์กระจายสินค้าธุรกิจน้ำมัน
4. การขยายเครือข่ายร้านค้าปลีก
5. การลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ
6. เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และ/หรือชำระคืนเงินกู้ยืม
แต่ตอนนี้ทางบริษัทฯ ยังไม่ได้แจ้งจำนวนเงินที่จะใช้ในแต่ละโครงการอย่างชัดเจน
ตัวเลขสำคัญทางการเงิน
ตัวเลขสำคัญทางการเงินทางการเงินของ OR เป็นดังนี้
ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนสภาพคล่อง และความสามารถในการบริหารหนี้สินทำได้ค่อนข้างดี
หากเราลองไปเทียบกับบริษัทฯ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะเป็นดังนี้
ซึ่งจะเห็นว่า OR มีความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง และบริหารหนี้สินที่ค่อนข้างดี ส่วนค่าอื่น ๆ ดูเป็นรอง PTG อยู่พอสมควร
รับชมในรูปแบบ VDO
youtube.com
InvesTalk | รู้ก่อนซื้อ ”หุ้น OR”
รู้ก่อนซื้อ ”หุ้น OR” โดย InvesTalk - สนทนาภาษานักลงทุน ช่องที่จะพาทุกท่านไปวิเคราะห์ เจาะลึก พื้นฐานกิจการของบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นข้อมูลปร...
ติดตาม “InvesTalk – สนทนาภาษานักลงทุน” ได้ทาง
Website:
https://theinvestalk.blogspot.com/
YouTube:
http://bit.ly/InvesTalk
FB:
https://www.facebook.com/Investalk.net/
Blockdit:
https://www.blockdit.com/investalk
ขอบคุณครับ 🙂
14 บันทึก
33
9
29
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ก่อนซื้อ IPO
14
33
9
29
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย