Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หน่องง'หมอ
•
ติดตาม
9 พ.ค. 2020 เวลา 15:06 • การศึกษา
4 ข้อมูลสำคัญที่คุณหมออยากรู้...เมื่อคุณถูก ’งู ‘ กัดมาโรงพยาบาล
case ผู้ป่วยที่โดนงูกัดมาโรงพยาบาล สามารถพบได้เรื่อยๆ ทั้งที่โดน ‘งู’กัดมาจริงๆ โดนเขี้ยวเฉี่ยวมาบ้าง หรือโดนสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ ‘งู’กัดมา
อย่างไรก็ตาม คำถามและข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป ผู้ที่ถูกงูกัด เพื่อให้คุณหมอสามารถให้การรักษาผู้ที่ถูกงูกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด!
1
1️⃣ มีงูมั้ย เอ้ย...เอางูมามั้ยคะ? - เป็นคำถามแรกเพื่อได้มาซึ่งชนิดของงู และสามารถ ให้การรักษาได้เฉพาะเจาะจงและเร็วที่สุด
✔️ นำงูมา -โดยที่แน่ใจแล้วว่า ‘ตีโดนตัวที่กัดจริงๆ’ ผู้ที่โดนกัดไม่ควรวิ่งตีงูเอง เพราะบริเวณที่โดนกัดควรอยู่ให้นิ่งที่สุด
การตีงูให้ตีบริเวณต้นคอแรงๆ ..มีสติ อย่าแค้นแล้วตีจนส่วนหัวนั้นเละเกินไป จะทำให้พิจารณาชนิดงูยากกว่า ส่วนหัวงูมาครบ
✖️ไม่ได้นำงูมา - พยายามถ่ายภาพไว้ ถ้าถ่ายทัน เอาภาพให้คุณหมอดูค่ะ
ถ้าตีงูไม่ได้ ถ่ายภาพไม่ทัน งูหนีไป ไม่ต้องตามล่าหางูนะคะ ผู้ที่ถูกกัดให้เอาตัวเองออกมาจากบริเวณที่เกิดเหตุ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด พยายามจดจำรายละเอียดของงูมา ลักษณะแบบไหน สีอะไร ตัวใหญ่แค่ไหน
เมื่อไม่ทราบชนิดของงู ข้อมูลดังต่อไปนี้ จะสามารถบ่งบอกถึงชนิดของงูได้
2️⃣ ลักษณะของแผลที่ถูกงูกัด และอาการหลังโดนงูกัด **ข้อนี้สำคัญมากเป็นตัวแปรสำคัญในการให้การรักษา**
‘งู’ ที่กัดอาจเป็นได้ทั้งงูพิษ และงูไม่มีพิษ สามารถแยกได้โดยรอยกัด ลักษณะของงูและอาการของผู้ที่ถูกกัด ดังนี้
งูไม่มีพิษกัด - ลักษณะแผลจะเป็นดังภาพ มีเพียงรอยถลอก หรือเป็นรอยขีดข่วน อาจมีอาการเฉพาะที่เช่น แดงหรือบวมบริเวณที่ถูกกัดได้ อาจไม่มีอาการรุนแรงที่น่าเป็นห่วง ถึงแม้จะทราบแน่ชัดว่าเป็นงูไม่มีพิษกัด ก็ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วมาโรงพยาบาลทันที เพื่อให้คุณหมอประเมินความยับเยินของบาดแผลและพิจารณาจ่ายยาฆ่าเชื้อ/ให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ลักษณะที่สำคัญของงูไม่มีพิษ ลักษณะบาดแผล และตัวอย่างงูไม่มีพิษ
งูมีพิษกัด - จากสถิติ มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด จะได้รับพิษเข้าสู่กระแสเลือด แล้วมีอาการรุนแรงต่อระบบต่างๆ นอกนั้นจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเฉพาะที่
ผู้ที่ถูกกัดและจะมีอาการรุนแรงหรือไม่รุนแรง ขึ้นกับชนิดของงูและปริมาณพิษที่ได้รับ
อาจเกิดเพียงอาการเฉพาะที่บริเวณที่ถูกกัด หรือมีทั้งอาการเฉพาะที่และอาการที่พิษมีต่อระบบต่างๆจนถึงขั้นเสียชีวิต
งูที่มีพิษทำลายระบบประสาท - พิษสามารถดูดซึมได้รวดเร็วเข้าทางกระแสเลือด จะรบกวนการส่งกระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการจะเริ่มจากมีอาการหนักที่หนังตาบน ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นสองภาพ ชาที่ริมฝีปาก
ต่อมา มีอาการกลืนลำบาก น้ำลายไหล สำลัก พูดไม่ชัด กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจไม่สะดวก
สุดท้ายจะเสียชีวิตจากการหายใจเองไม่ได้หากไม่ได้รับเซรุ่มต้านพิษงูและการดูแลรักษาแบบประคับประคองโดยเร็ว
ตัวอย่างงูที่มีพิษต่อระบบประสาทที่พบบ่อย และอาการเฉพาะที่บริเวณที่ถูกกัด
งูที่มีพิษต่อระบบเลือด - พิษของงูจะขัดขวางการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น ไรฟัน ตามผิวหนัง รอยเข็มฉีดยา
สิ่งที่น่ากลัวคือเลือดออกตามอวัยวะภายใน เช่น เลือดออกในสมอง และพิษงูชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการแพ้แบบรุนแรงได้
*พิษของงูแมวเซานอกจากเป็นพิษต่อระบบเลือดแล้วอาจทำให้ไตวายได้ ต้องสังเกตว่าปัสสาวะไม่ออกหรือไม่ หรืออาการปวดบั้นเอวหลังถูกงูกัด
ตัวอย่างงูที่มีพิษต่อระเลือดที่พบบ่อย และอาการเฉพาะที่บริเวณที่ถูกกัด
งูที่มีพิษทำลายกล้ามเนื้อ - อาการเกิดหลังได้รับพิษงูประมาณครึ่งถึง 3 ชั่วโมง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ และอาเจียน
เริ่มแรกจะปวดตามตัวและต่อมน้ำเหลืองเหนือบริเวณที่ถูกกัด ต่อมา จะปวดกล้ามเนื้อมากเมื่อเคลื่อนไหว เป็นอัมพาต ปัสสาวะมีสีดำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ตัวอย่างงูที่มีพิษทำลายกล้ามเนื้อ และอาการเฉพาะที่บริเวณที่ถูกกัด
3️⃣ อาชีพ วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ
อาชีพ - บ่งบอกถึงสถานที่ที่มีโอกาสเป็นแหล่งชุกชุมของงูชนิดนั้นๆ ได้เช่น เป็นชาวนาเกี่ยวข้าวในนา ชาวสวนยาง ชาวประมง.
เวลา - ถ้าเป็นช่วงกลางคืนก็เป็นไปได้ที่สูงว่าจะถูกงูกัด เพราะเป็นช่วงเวลาที่งูออกมาหากิน.
นอกจากนี้คุณหมออาจจะถามถึง สถานที่ ที่ถูกงูกัด มีงูอะไรชุกชุม แถวนั้นเคยมีคนโดนงูกัดหรือไม่ ถ้ามีเคยโดนงูอะไรกัด คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะทราบถึงข้อมูลตรงจุดนี้ดี
4️⃣ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนมาถึงมือคุณหมอ ทำอะไรมาบ้าง?
คำถามนี้ เพื่อการรักษาต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม และหากปฐมพยาบาลมาผิดวิธีจะแนะนำวิธีการปฎิบัติอย่างถูกต้องได้ค่ะ :)
จบแล้วจ้าา ยาวเหมือน ความรู้แบบจุกๆกันไปเลย555
ถ้าเห็นว่าบทความของมี่มีประโยชน์ โปรดแชร์ต่อเยอะๆ นะคะ มี่มองว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ มี่เคยเจอบางเคสที่มาโรงพยาบาลมีปฐมพยาบาลมาแบบผิดๆ เช่น ขันชะเนาะมาแน่นเปรี้ยะ , ดูดพิษงูมา ประมาณนี้ค่ะ
บทความหน้ามี่จะขอนำเสนอเรื่องราวที่มี่เจอมาจากการเรียนปี4 ที่ศูนย์แพทย์ชนบทอันแสนจะอบอุ่น(จนร้อน) ของมี่ จะ สนุก หรือ โหด มันส์ ฮา ขนาดไหน โปรดติดตามนะคะ
ด้วยรักส์
หน่องหมอมี่
Reference รูปภาพและเนื้อหาจาก
https://pixabay.com/th/photos/งู-งูเห่า-ที่เป็นอันตราย-1974382/
https://bosque.agrilife.org/2015/07/17/snakes/
https://med.uth.edu/surgery/wp-content/uploads/sites/66/2017/07/SnakeBite.pdf
https://www.tes.com/lessons/tPv9jQNCRG9bGA/snake-venom
https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-01.php
https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-05.php
https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-06.php
https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-08.php
https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-10.php
https://www.pobpad.com/งูกัด
https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/snake
<—อันนี้ดีมากละเอียดเว่อๆ
https://www.saovabha.com/download/VichakarnSnake2011.pdf
7 บันทึก
48
38
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
SURVIVAL - ชีวิตต้องรอด!
7
48
38
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย