7 มิ.ย. 2020 เวลา 11:17 • การศึกษา
อาการเจ็บหน้าอก แบบไหน..ที่อันตรายถึงชีวิต!!
1
เราจะทราบได้อย่างไร ว่าไอเจ้าอาการ ‘เจ็บหน้าอก’ จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าลักษณะแบบไหนที่อันตราย ?
และมีข้อแนะนำหรือการปฏิบัติตัวเบื้องต้นอย่างไร...วันนี้มี่จะมาเล่าให้ฟังค่ะ
เมื่อมีผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอก ขั้นแรกเลยคุณหมอจะต้องประเมินให้ได้ค่ะว่า ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกมานั้น...
1
เป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตหรือไม่ (life threatening condition) เพื่อให้การรักษาอย่างเร็วที่สุด!
1
ซึ่ง อาการเจ็บหน้าอกแบบ life-threatening condition จะแบ่งออกเป็น 3 จักรวาลหลักๆ
(มี่จะลงรายละเอียดในโรคที่พบได้บ่อยนะคะ)
1
1️⃣ จักรวาลที่เป็นเรื่องของหลอดเลือดหัวใจ❤️
1
ถ้าเธอเจ็บหัวใจมา..เราก็เจ็บนะ..เพราะเราอยู่ในใจเธอวว อะฮิ้วววววววว // =..=
“Coronary arteries disease” - อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจ
เกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการตีบตันของเส้นเลือดหัวใจ
❤️ myocardial ischemia – กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
จะมีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่เหมือนใคร เรียกชื่อแบบเกร๋ๆว่า angina pectoris มีลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะดังนี้ค่ะ
✔️ ลักษณะของการเจ็บ
- อาการปวดแบบบีบรัด เหมือนมีอะไรหนักๆมาทับบริเวณหน้าอก (เหมือนช้างเหยียบ) - แน่นหน้าอก หรือจุกเสียดหน้าอก โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ที่เส้นประสาทไม่ค่อยจะดีแล้ว การรับรู้ความเจ็บปวดจะลดลงค่ะ อาจจะมีอาการแค่จุกๆเสียดๆได้ ทำให้คิดว่าคงไม่ได้เป็นอะไรมาก และมาโรงพยาบาลช้าได้ค่ะ
2
ตำแหน่งของการเจ็บหน้าอก (ดังภาพเป็นบริเวณใดก็ได้) - มักเป็นตรงกลางหลังกระดูกหน้าอก และมักจะเจ็บร้าวไปแขนซ้ายด้านใน ไหล่ หลัง บริเวณกรามที่ไม่เลยกรามขึ้นไป//ไม่งงนะคะ แหะๆ
3
ระยะเวลาของการเจ็บหน้าอก – ประมาณ 5-15 นาทีค่ะ และไม่ควรเจ็บนานเกิน 30 นาที
อาการที่พบร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก – เหงื่อออกตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน หรือหายใจไม่สะดวก
1
✔️ การเจ็บหน้าอกของโรคนี้มักจะมีปัจจัยกระตุ้นค่ะ เช่น มีการออกแรง ออกกำลังกาย อากาศเย็น มีความรู้สึก โกรธ ตกใจ ตื่นเต้น
✔️ อาการเจ็บหน้าอกจะดีขึ้นเมื่อได้หยุดพัก หรือ อมยากลุ่มไนโตรกรีเซอรีน (กรณีที่เป็นผู้ป่วยโรคนี้เดิมก็จะมียาชนิดนี้ติดๆตัวค่ะ) กรณีที่อมยา อาการควรดีขึ้นหรือหายเจ็บหน้าอกภายใน 5 นาที
2
❤️ myocardial infarction – กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
อาการเจ็บหน้าอกจะเหมือนๆกับ angina pectoris แต่อาการจะรุนแรงกว่า คือ ระยะเวลาของการเจ็บหน้าอก จะนานติดต่อกันมากกว่า 30นาที และ อาการจะไม่ดีขึ้นเมื่อพัก หรืออมยาไนโตรกรีเซอรีน 3 เม็ดแล้ว ก็ยังไม่ดีขึ้น
ส่วนใหญ่แล้วผุ้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมักจะมี อาการของเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนำมาก่อน
📌โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันพบได้บ่อยมากขึ้นค่ะ และมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิตมาก ในบางครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็น silent killer เลยก็ได้
👉🏼 ซึ่งกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่
ผู้ที่สูบบุหรี่จัด( มากกว่าครึ่งซอง/วัน)
โคเรสเตอรอลในเลือดสูง
เป็นเบาหวาน
เป็นความดันโลหิตสูง
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย (ชาย < 45 ปี หรือ หญิง < 55 ปี)
2
2️⃣ จักรวาลของโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆของหัวใจและปอด
ที่นอกเหนือไปจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
“Other cardiopulmonary cause”
1
❤️ Cardiac tamponade คือภาวะที่มีของเหลว (น้ำหรือเลือด) ปริมาณมากคั่งอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันมากขึ้นในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ และกดเบียดหัวใจ เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ในที่สุด ซึ่งภาวะนี้จะสามารถพบได้ใน ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บบริเวณหน้าอก ผู้ที่เป็นเนื้องอก/มะเร็ง โรคออโตอิมมูน โรคประจำตัวอยู่เดิมเช่นโรคหัวใจ หรือผู้ที่เคยผ่านการผ่าตัด/ฉายรังสีบริเวณทรวงอก หรือหาสาเหตุไม่ได้
👉🏼อาการแสดง - ในรายที่มีภาวะบีบรัดหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอกตลอดเวลา อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ปัสสาวะลดลงและความรู้สึกตัวลดลง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดดำที่คอโป่ง และความดันโลหิตต่ำ
4
❤️ Aortic disection คือภาวะที่เลือดเซาะเข้าไปในผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่เดิมที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดีหรือ ผู้ที่มีโรคทางพันุกรรมที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ไม่แข็งแรง เช่น Marfan syndrome
👉🏼อาการแสดง – เจ็บหน้าอกแบบรุนแรงมากกกก เหมือนโดนมีดแทง ไปตามบริเวณที่เลือดเซาะไปค่ะ เจ็บแบบทรมานมาก เหงื่อเปียกชุ่ม บางคนเป็นลม และแขนขาออ่อนแรง ตรวจร่างกายจะพบว่าความดันโลหิตจะพุ่งสูง และชีพจร และความดันที่ขา-แขน-คอ ไม่เท่ากัน
❤️ Pulmonary embolism – โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด พบได้ในคนที่มีความเสี่ยงที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวนานๆ เช่น ผู้ที่ผ่าตัดกระดูก หรือผ่าตัดอะรที่ต้องนอนมานานๆ,ตั้งครรภ์-คลอดลูก, ประวัติเป็นโรคมะเร็ง, โรคที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
อาการแสดง – ถ้าอาการไม่รุนแรงมากจะเจ็บแปล็บๆเวลาหายใจเข้า แต่ถ้าอาการรุนแรงมากอาการเจ็บจะคล้ายกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยหอบมากๆร่วมด้วย หรือไอป็นเลือด
3️⃣จักรวาลที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจและปอด
“Non-cardiopulmonary cause”
❤️ Esophageal perforate – หลอดอาหารทะลุ ส่วนใหญ่เกิดจากการทำหัตถการที่เกี่ยวกับหลอดอาหาร เช่นการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆได้เช่น อุบัติเหตุ เนื้องอก หรือเกิดตามหลังการอาเจียนที่รุนแรง
4
📌📌ข้อปฎิบัติหากมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน
1.หยุดทุกกิจกรรมที่ทำอยู่ในขณะนั้น พักก๊อนนนนนะคะ (ในกรณีผู้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เดิม กรุณารีบไปเอายาอมใต้ลิ้นมาอมด่วนค่ะ)
2.มาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดนะคะ ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตามแต่ห้ามมม แบกสังขาร เดิน/วิ่ง/กระโดด/ตีลังกา มาโรงพยาบาลเองนะคะ ไม่เอานะคะไม่ดีค่ะ อาจจะไม่ถึงมือหมอได้ ให้ใครก็ได้ขับรถมาส่งดีกว่าค่ะ
3.ถ้าไม่มีคนมาส่งนะคะ รถโรงพยาบาลมีโทรค่ะ
4.พยายามทำใจให้สบายค่ะ 👀
โรคที่มี่ร่ายยาวสาธยายขยายความยืดยาวมาทั้งหมดนี้ มักจะไม่เกิดในคนที่มีสุขภาพดี
ปกติสุข ที่ไม่มีโรคประจำตัว (ยกเว้นบางภาวะที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุได้)
2
ดังนั้น จงอย่าทำตัวเองให้อยู่ในภาวะความเสี่ยงเพราะส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุลของเราเองทั้งนั้นค่ะ
1.อาหารการกิน+ ดื่มน้ำให้เพียงพอ – พยายามอย่าตามใจปากให้มาก ควบคุมอาหารบ้าง แป้ง น้ำตาล ไขมัน หนักๆ ควรลดบ้างค่ะ //ใช่ค่ะ...มี่เตือนตัวเองอยู่
2.ออกกำลังกาย ...ลองเบเบ้สิคะ..🙄 เอาเท่าที่ไหวและเหมาะสมกับเรานะคะพยายามทำให้เป็นกิจวัตร
3.พักผ่อนให้เพียงพอ..// พูดยากเลยข้อนี้มี่ก็ทำไม่ค่อยได้ค่ะ555555
4.เหล้า/บุหรี่ ถ้าเลิกได้เลิกนะคะ โดยเฉพาะบุหรี่เนี่ย ตอนนี้สูบๆไปยังไม่มีอาการหรอกค่ะ ไปมีตอนนู้นแก่แล้ว ใส่ท่อช่วยหายใจเกือบทุกราย 😱😱😱
5.จิตใจของเราก็สำคัญนะคะ❤️ พยายามคิดบวกเข้าไว้ หาตังค์ให้พอใช้จะได้ไม่เครียดค่ะ..อ่ะล้อเล่งงง
6.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่มียาประจำอยู่แล้ว รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอนะคะ
7.ข้อนี้สำคัญค่ะ สิบนิ้วพนมมือไหว้วานกราบกราน ไปตรวจสุขภาพประจำปีเถอะนะคะ เช็คความดัน ค่าน้ำตาล ไขมัน เบาหวานในเลือด อย่าได้นิ่งนอนใจกันนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อ่านทุกคน อย่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบกันมาบ่อยๆใจหน่องบ่ดี
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง /หากผิดพลาดประการใด บอกกล่าวได้เลยค่ะ น้อมรับทุกคำแนะนำ และพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขค่ะ🥰🥰🥰
เฮ้อออ จบบบ ยาวอ่ะ555555567891+++
รักส์นะ...ถึงเป็นห่วง
หน่องหมอ
Reference รูปภาพ & เนื้อหา
harrison 20th edition
หนังสือเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โครงการตำรา-วพม. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา