Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
11 พ.ค. 2020 เวลา 13:13 • ประวัติศาสตร์
สกุลเงินที่ครองโลก (3):
เมืองแห่งดอกลิลลี่ และกำเนิดธนาคาร
วันนี้จะมาเล่าเรื่อง กาเบรียล บาติสตูต้า อดีตกัปตันทีมฟุตบอลฟิออเรนติน่า แห่งเมืองฟลอเรนซ์ เอ้ยไม่ใช่...
เรามาต่อกับ บทความ สกุลเงินที่ครองโลก (3) กัน
หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
════════════════
บริการตรวจสอบคุณภาพ สินค้า
นำเข้าจากจีน สนใจติดต่อ
https://bit.ly/3aRxBEW
════════════════
ความเดิมตอนที่แล้ว ความเสื่อมถอยของอาณาจักรไบแซนไทน์ ทำให้เงิน Solidus หมดความน่าสนใจ และถูกแทนที่ด้วยสกุลเงินอื่น
ยุโรปตกอยู่ในยุคกลางหรือยุคมืด (Medieval Age) นับพันปี...
จนการมาถึงของ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยการ หรือ ยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) ในช่วงศริสต์ศตววรรษที่ 14 จุดเริ่มต้นที่เมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี
Cr. Royal Carribean
ที่เมือง ฟลอเรนซ์ นี้นี่เอง ที่มีการผลิตเหรียญทองในสกุลเงิน “fiorino d'oro” หรือเรียกว่า Fiorino หรือ Florin
โดยเหรียญทอง 1 Fiorino มีน้ำหนักทองประมาณ 3.5 กรัม โดยด้านหนึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์ fleur-de-lis ซึ่งก็คือ ดอกลิลลี่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ฟลอเรนซ์ และอีกด้านมีรูปนักบุญ John the Baptist
Cr. Wiki
เงิน Fiorino ผลิตมาตั้งแต่ปี คริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้ว แต่เริ่มมาแพร่หลาย เป็นที่นิยมในยุโรป ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 13-15 ในยุคเรเนสซองส์ นี่แหล่ะ
แต่สาเหตุที่ทำให้ความนิยมในเงินฟลอริน เพิ่มขึ้นสูง จนกลายเป็นเหมือนสกุลเงิน “ยูโร” ของยุโรปในยุคนั้น ไม่ได้เกิดจากอำนาจทางทหาร แต่เกิดจากการค้าขายระหว่างประเทศ และระบบการเงินยุคใหม่ ที่ถือกำเนิดขึ้นในอิตาลี นั่นก็คือ “ระบบธนาคาร”
ฟิโบนัชชี่ (Fibonacci) กลุ่มตัวเลขมหัศจรรย์
Cr. Wiki
สมบัติตกทอด อย่างหนึ่งของชาวโรมัน ก็คือ การนับเลขแบบโรมัน (i, ii, iii, iv,… เป็นต้น) ซึ่งเราก็รู้กันดีว่า มันจำยาก และบวกเลขยากขนาดไหน
แต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อิตาลี ก็มีนักคณิตศาสตร์หนุ่มผู้เฉลียวฉลาด คนหนึ่งที่มีนามว่า Leonardo of Pisa หรือ ฟิโบนัชชี่ (Fibonacci) ผู้ซึ่งเรียนรู้ศิลปะวิทยาการ และการคำนวณจากทางตะวันออก (ซึ่งต้องบอกว่าช่วงนั้น โลกฝั่งตะวันออก เช่น ชาวยิว หรือจีน เจริญก้าวหน้ากว่ายุโรปมาก)
ฟิโบนัชชี่ นำเสนอ 2 อย่างสำคัญ ก็คือ การนับเลขแบบ ฟิโบนัชชี่ (0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, …) โดยตัวเลขชุดดังกล่าว ถือเป็นกลุ่มตัวเลขมหัศจรรย์
ถ้านำตัวเลขปัจจุบันหารด้วยตัวเลขก่อนหน้าไปเรื่อยๆ จะได้ค่าเท่ากับที่เสถียรอยู่ที่ 1.618 ซึ่งเรียกว่าเป็น “Golden mean” เป็นสัดส่วน ที่พบได้ในหลายๆสิ่งของที่อยู่ในธรรมชาติ เช่นก้นหอย
โดยมีการประยุกต์ใช้หลากหลาย ตั้งแต่ การออกแบบโลโก้เช่น Apple จนไปถึง นักเล่นหุ้นแนวเทคนิค
Cr. National Geographic
แต่อีกข้อที่ต้องยกเครดิตให้ ฟิโบนัชชี่ การเผยแพร่วิธีนับเลขในแบบฮินดูอราบิก ก็คือ เลย 0-10 แบบที่เราใช้ปัจจุบัน แถมมีจุดทศนิยมให้ด้วย ทำให้การคำนวณ บวกลบ เลข การลงบัญชี และการคำนวดอกเบี้ย ทำได้อย่างรวดเร็ว ว่องไวขึ้นอย่างมาก เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบบัญชี และธนาคาร
นอกจากนี้ ฟิโบนัชชี่ ยังเขียนหนังสือ เรื่อง Liber Abaci หรือ “วิธีการคำนวณ” ในปี ค.ศ. 1202 ที่มีหลักการสำคัญคือ การคำนวณมูลค่าเงินในปัจจุบัน หรือ Present Value อีกด้วย
ปล่อยกู้นอกระบบ (Loan Sharks)
สำหรับเพื่อนๆ ที่ทันอ่านหนังสือ เวนิสวาณิช บทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ ที่สันนิษฐานว่าเขียนช่วงปี ค.ศ. 1596-1598 โดยทางล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละคร อาจยังจำตัวร้าย อย่าง ไชล็อก (Shylock) พ่อค้าชาวยิว หน้าเลือด ผู้ปล่อยกู้นอกระบบ
ไชล็อก ยอมปล่อยกู้ให้บัสสานิโย (Bassanio) โดยให้ อันโตนิโย (Antonio) ผู้เป็นเพื่อนเป็นผู้ค้ำประกัน หากบัสสานิโย เบี้ยวไม่จ่าย ทางอันโตนิโย จะต้องเฉือนเนื้อตัวเอง ให้ ไชล็อก
ซึ่งสุดท้าย บัสสานิโยก็ไม่มีปัญญาจ่าย จริงๆ จนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
Cr. Matichon
การปล่อยกู้นอกระบบ โดยคิดดอกเบี้ยแพงหูฉีกนั้น มีกันมานานแล้ว และปัจจุบัน ก็ยังมีอยู่
โดยในหนังสือ The Ascent of Money ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ช่วงปี ค.ศ. 2007 มีครัวเรือนในประเทศอังกฤษ กว่า 165,000 ครัวเรือนกู้เงินนอกระบบ โดยเงินกู้รวมกันมากกว่า 40 ล้านปอนด์ต่อปี แต่โดยเฉลี่ยต้องจ่ายเงินคืนถึง 3 เท่า
ทั้งนี้เราก็ต้องเห็นใจผู้ปล่อยกู้นอกระบบ ด้วย เพราะว่าโอกาสที่ลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้นั้นมีสูงมาก ทำให้ต้องคิดดอกเบี้ยแพงๆ เพื่อชดเชย แต่การจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ ก็ทำให้คนไม่มีปัญญาจ่ายคืนทัน และมีโอกาสเบี้ยวหนี้สูงขึ้น
ดังนั้นการแก้ไขปัญหา นอกจาก การใช้มาเฟียไปตามทวงหนี้แล้ว ก็คือ การปล่อยกู้ โดยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น ขยายจนให้มีอิทธิพลมากขึ้น
ซึ่งทางออกนั้น ก็คือ “ระบบธนาคาร”
กำเนิดของธนาคาร
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 นั้น เดิมทีมีตระกูลที่ปล่อยกู้เงิน ทั้ง Bardi, Peruzzi, และ Acciauoli ซึ่งทั้ง 3 ตระกูลกลับล้มละลายในข่วงปี ค.ศ.1340s เนื่องจากลูกหนี้รายใหญ่ “เบี้ยวหนี้” ซึ่งก็คือ กษัตริย์ Edward ที่สาม แห่งอังกฤษ และกษัติรย์ Roberts แห่ง เนเปิลส์ ตรงกันข้ามกับการเจริญรุ่งเรืองของตระกูล เมดีชี (Medici)
เมดีชี เริ่มจากแผงลอยรับแลกเงินเล็กๆ โดยเป็นเหมือนแกงค์มาเฟีย มากกว่าธนาคาร แต่ช่วงปี ค.ศ. 1397 จิโอวานนี เมดีชี ซึ่งได้สั่งสมประสบการณ์ที่โรม ได้กลับมาที่ฟลอเรนซ์ เพื่อจัดตั้งธนาคารเมดีชี
Cr. Intoflorence
จนถึงปี ค.ศ. 1420 กิจการของตระกูล เมดีชี ขยายสาขาไปทั่วทั้ง เวนิส, โรม, และต่อมาขยายไปที่ เจนีวา, ปิซ่า, ลอนดอน, และอาวีออน นอกจากนี้ยังมีหุ้นในโรงงานผลิตผ้าขนสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของฟลอเรนซ์
เคล็ดลับความสำเร็จที่สำคัญ ก็คือ พยายามขยายกิจการเพื่อกระจายความเสี่ยง การรับแลกเปลี่ยนเงินตรา เพื่อให้มีรายได้จากค่าธรรมเนียม ช่วยลดความเสี่ยงจากการโดนเบี้ยวหนี้ได้เป็นอย่างดี
ประเทศต่างๆ เลียนแบบระบบธนาคารในอิตาลี และเสริมนวัตกรรมเข้าไปด้วย โดยประเทศที่พัฒนาระบบธนาคารได้เป็นอย่างดีได้แด่ ดัตช์ (ฮอลแลนด์), อังกฤษ, และสวีเดน
ระบบบันทึกบัญชีแบบคู่ (Double entry-bookkeeping)ก็ยังเกิดขึ้นในยุคเรเนสซองส์นี้ด้วย และธนาคารก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย
1
การพัฒนาระบบธนาคารในยุโรป ทำให้หลายๆประเทศ ใช้สกุลเงินของตัวเองในการแลกเปลี่ยนซื้อขายผ่านระบบธนาคาร และแล้ว โลกก็เข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม...
ซึ่งก็ไม่ต้องสงสัยว่า สกุลเงินที่ครองโลก ก็หนีไม่พ้นสกุลเงินของประเทศ ที่มีอำนาจทางทหาร (โดยเฉพาะกองทัพเรือ) สูงสุดในยุคนั้น อย่าง ฮอลแลนด์ สเปน และอังกฤษ
1
ติดตามต่อในตอนหน้า EP.4
════════════════
บริการตรวจสอบคุณภาพ สินค้า
นำเข้าจากจีน สนใจติดต่อ
https://bit.ly/3aRxBEW
════════════════
ที่มา:
https://www.sparknotes.com/history/european/renaissance1/section2/
https://historyxsite.wordpress.com/2017/09/24/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81/
https://en.wikipedia.org/wiki/Florin
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A
The Ascent of Money
👫 พิเศษสุด! "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace"
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
https://www.facebook.com/groups/573677150199055/?source_id=416086589242286
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
ZUPPORTS.co
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
http://bit.ly/35Rh2ql
29 บันทึก
89
19
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สกุลเงิน ที่ครองโลก
29
89
19
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย