17 พ.ค. 2020 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
สกุลเงินที่ครองโลก (4)
เมื่อ ทิวลิป โดน โควิด เล่นงาน
5
เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดโคราช เพียง 2 เท่า แต่มีมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร สูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท
เมื่อเทียบกับไทยแล้ว เนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสูงกว่าไทยถึง 4 เท่าตัว
สินค้าเกษตรส่งออก เบอร์หนึ่ง ของเนเธอร์แลนด์ก็คือ ดอกไม้ประดับ มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านบาท
และดอกไม้ เบอร์หนึ่ง ของเนเธอร์แลนด์ ก็คือ ทิวลิป ที่ถูกโควิดเล่นงานอย่างหนัก
ทิวลิปนั้น สำคัญอย่างไร และได้รับผลกระทบหนักแค่ไหน
หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
════════════════
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
════════════════
1) ย้อนอดีตกันไปสัก 400 กว่าปีที่แล้ว ในช่วงปี ค.ศ. 1585-1604 ช่วงที่อังกฤษและสเปนกำลังรบกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่มีฝีมือและเหล่าพ่อค้า จากเมืองท่าที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Bruges, Ghent, และ Antwerp ขึ้นเหนือไปที่เมือง Amsterdam ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปัจจุบัน
1
2) ชาวดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เดิมตกอยู่ภายใต้การควบคุมของโปรตุเกสและสเปน แต่พอ 2 ประเทศนั้น มีปัญหาทั้งสงครามภายนอก และการเมืองภายใน ก็ทำให้ชาวตัตช์ ต้องหาทางพึ่งตัวเอง โดยลอกเลียนแบบความสำเร็จของทั้งโปรตุเกส และสเปน ในการเป็นนักล่าอาณานิคมที่ร่ำรวยจากการ ส่งออก นำเข้าสินค้า
1
จึง ได้มีการตั้งบริษัท เพื่อไปเอาพริกไทย จากอินโดนีเซีย มาขายในยุโรป ในปี ค.ศ. 1594 จากการทำการค้าขาย พบว่าได้กำไรสูงมาก เกิน 400%
3) ด้วยข้อจำกัดของการเดินเรือไปทำการค้าขาย ที่ครั้งหนึ่งใช้เวลานานอย่างน้อยๆ 4 ปี และหากส่งเรือไป 10 ลำก็อาจเหลือรอดกลับมาเพียง 9 ลำ คือ เป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงมากๆ
ในปี ค.ศ. 1602 ก็เลยเกิดการรวมกลุ่มกันของนักเดินเรือ พร้อมด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล เรียกชื่อกลุ่มนี้ว่า Dutch East India Company หรือ “VOC” (Vereenigde Oost-Indische Compagnie ในภาษาดัตช์)
VOC
และใช้กลไกของตลาดเงินในยุคปัจจุบัน คือ การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ จูงใจให้ชาวเมืองที่อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการค้าขายครั้งนี้
ตลาดหุ้นแห่งแรกของโลก จึงเกิดขึ้นที่ อัมสเตอร์ดัม
6
4) VOC ขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.1611 ชาวดัตช์ ผูกขาดการค้าพริกไทยที่อินโดนีเซียได้สำเร็จ และนำผ้าทอจากอินเดียไปแลกกับเครื่องเงินจากญี่ปุ่น นำเข้าผ้าไหมจากจีนไปขายต่อ
ชาวดัตช์ ไปค้าขายที่ใด ก็พากองกำลังทหารไปครบมือ ทำให้แผ่อิทธิพลไปทั่ว และยังค้นพบประเทศใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นนิวซีแลนด์ ไต้หวัน และออสเตรเลีย
จนทำให้ชาวดัตช์สามารถประกาศเอกราชจาก สเปน ได้ในปี ค.ศ.1648
5) สกุลเงิน Gulden ของชาวดัตช์ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสกุลเงิน Florin หรือ Fiorino แห่ง Florence) กลายเป็นสกุลเงินที่มีการใช้แลกเปลี่ยนสินค้า จากอิทธิพลการค้าของ VOC
Cr.Wiki
6) แต่สิ่งที่ทำให้ Dutch East India Company กลายเป็นบริษัทที่ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ไม่ใช่เครื่องเทศ แต่มันคือ “ดอกทิวลิป”
Tulip farm Cr. NYtimes
7) ชาวดัตช์ รู้จักดอกทิวลิป ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1554 โดยเป็นดอกไม้แปลก จากอาณาจักรออตโตมัน (ตุรกี) และต่อมาได้มีการทดลองปลูกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีระดับภูมิประเทศ ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แล้วพบว่าดอกทิวลิป ดันปลูกขึ้น
1
ด้วยความสวยงาม และความฉูดฉาดของสีสัน ทำให้ดอกทิวลิปกลายเป็นสินค้า “แฟชั่น” เป็นที่นิยมของชนชั้นสูงในยุโรป เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความร่ำรวย ดอกทิวลิปกลายเป็นสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของ VOC
8) ด้วยความร่ำรวยจากการค้าขาย เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์รุ่งเรือง ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ สถาปัตยกรรม และทิวลิป ถูกซื้อขายแลกเปลี่ยนกันจนมีราคาสูงขึ้น
และดอกไม้อย่างทิวลิป ที่ปกติมีสีเดียวทั้งดอก ก็ดันเกิดการกลายพันธุ์ กลายเป็นมีหลายสีในดอกเดียวคล้ายเปลวเพลิง หรือเรียกกันว่า “Broken Tulips” หรือทิวลิปแตกสี
1
Broken Tulip Cr. Perennial Meadows
ซึ่งภายหลังพบว่า เกิดจาก การที่ดอกทิวลิป ติดเชื้อไวรัส! ไวรัสทิวลิปนะไม่ใช่ ไวรัสโคโรน่า
ทำให้ดอกทิวลิปแตกสี เป็นสินค้าที่ผู้คนต่างปรารถนา ที่จะครอบครอง นำมาสู่เรื่องราวการปั่นราคาดอกทิวลิป ที่ทุกคนทราบกันดีก็คือ ฟองสบู่ดอกทิวลิป หรือ “Tulipmania” ในช่วงปี ค.ศ. 1636-1637
Tulip price index
9) ถึงแม้ฟองสบู่ดอกทิวลิปจะแตก แต่โดยเศรษฐกิจโดยภาพรวม ก็ไม่ได้กระทบอะไรมาก ชาวดัตช์ยังมีของให้ค้าขายอีกเยอะ
ความเสื่อมถอยจริงๆ เกิดขึ้นหลังจาก อังกฤษ และสเปน ที่หยุดรบกัน แล้วหันไปล่าอาณานิคม ประเทศอื่นๆแทน ทำให้คู่แข่งแข็งแกร่งขึ้นมาเรื่อยๆ ประกอบการการคอรัปชั่นภายในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ทำให้ชาวดัตช์ เสียแชมป์ไปในที่สุด
1
10) ดอกทิวลิป จริงๆแล้วยังมีประโยชน์ เคยช่วยชีวิตผู้คนชาวดัตช์ ให้รอดตายด้วย โดยในช่วง ค.ศ. 1944 ช่วงที่นาซีเยอรมัน ทำศึกชนะฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาร์เนม (Arnheim) ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ถูกตัดขาดจากพลังงานอย่างถ่านหิน และอาหาร
1
ในช่วงฤดูหนาวนั้นเกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง คร่าชีวิตผู้คนกว่า 22,000 ราย แต่ส่วนหนึ่งที่ชาวดัตช์รอดมาได้ก็เพราะการเอาหน่อทิวลิปที่เก็บเอาไว้ มาทำเป็นอาหาร ประทังชีวิตไปแทน
11) ดอกทิวลิปโดยปกติ จะบานช่วงเดือน เมษายน หรือ พฤษภาคมของทุกปี ในปีนี้ ดอกทิวลิปก็บานเช่นเคย แต่ด้วยภาวะโควิด-19 ความต้องการซื้อเป็นศูนย์ ทำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือก นอกจากทำลายดอกไม้ทิ้งไป
1
เดือน มีนาคมที่ผ่านมา ดอกทิวลิปถูกทำลายไปมากกว่า 400 ล้านดอก
ไวรัส โจมตีดอกทิวลิปอีกครั้ง...แต่ครั้งนี้ คือ ไวรัสโคโรน่า
Cr. NYtimes
12) เหตุการณ์นี้คงต้องเรียกว่า “Abnormal” มากกว่า “New Normal” คือ ความต้องการดอกทิวลิปที่ลดลง ยังไงก็คงจะกลับมา เหมือนครั้งหนึ่งที่ ฟองสบู่ดอกทิวลิปแตก แต่ทิวลิป ก็ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของชาวดัตช์
เกษตรกรชาวดัตช์ รายหนี่งกล่าวว่า “ผมยังเชื่อว่าผู้คนยังต้องการดอกไม้ เพื่อที่จะเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อที่จะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน และเพื่อบอกเล่าเรื่องราว” เขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอดจากศึกครั้งนี้ไปให้ได้
เพราะการปลูกทิวลิป มันเป็นมากกว่า “การเงิน” แต่มันเป็นความหลงใหล หรือ “Passion”
See you next year
เราพูดถึง New Normal หรือสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม
แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ เหตุการณ์ไหนที่เป็น New Normal จริงๆ
หรือ เหตุการณ์ไหน ที่เป็นแค่เรื่อง "Abnormal" ซึ่งหลังพ้นวิกฤต ก็จะกลับมาเหมือนเดิม
1
เรื่องราวของดอกทิวลิป ก็น่าจะเป็นหนึ่งในเรื่อง Abnormal
ที่สุดท้ายแล้ว....
“มันก็จะผ่านไป”
"This too shall pass"
ต่อตอนหน้ากับ เหรียญ 8 เรียลส์
Cr. Wiki
════════════════
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
════════════════
👫 พิเศษสุด! "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า Marketplace"
สำหรับเพื่อนๆ นำเข้า ส่งออก เชิญค้าขายกันได้เลย
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา