25 พ.ค. 2020 เวลา 10:48 • ครอบครัว & เด็ก
ตอนที่ 13 " สร้างมิตรภาพ.... ให้ลูกรักได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน "
🌟เตรียมลูกก่อน เข้าเรียนเตรียมอนุบาล โดยการ Home School ช่วงวิกฤติ Covid19 (ให้มีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจก่อนไปโรงเรียนวันแรก) ได้อย่างไร?
ช่วงนี้เด็กๆทุกคนคงต้องเก็บตัวอยู่บ้าน เพราะการเกิดวิกฤตโรคระบาด Covid19 ซึ่งทุกครอบครัวก็ประสบปัญหานี้เหมือนๆกันทั้งหมด
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง
New normal ซึ่งจะมาเปลี่ยนชีวิตของพวกเราไปตลอดกาล....
แต่ถึงทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน พวกเราคงไม่อาจลืมได้ว่า....
ที่มนุษย์มีวิวัฒนาการและพัฒนามาไกลกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ เอาชนะความไม่แน่นอนของธรรมชาติ
สิ่งที่พวกเราต้องเข้าใจและไม่ควรจะหลงลืมว่า....
เราไม่สามารถเนรมิตรสิ่งต่างๆนี้ ด้วยตัวคนเดียว เพราะ "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม... และมีนิยามของคำว่ามิตรภาพ"
การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)เป็นสิ่งที่จะมาเหมือนกับสายลม และปลิวหายไปในพริบตา ถ้าวันนั้นมาถึง.... วันที่พวกเราเอาชนะธรรมชาติด้วยกันอีกครั้ง ด้วย"วัคซีน Covid19"
👨🏫ผู้รู้แนะนำ :
คำว่า ‘เพื่อนสนิท’ กับ ‘เพื่อนสนิทสมัยเด็ก’ สำหรับคุณต่างกันไหม?
บางคนว่าไม่ต่าง บางคนก็ว่าต่าง
แต่รู้หรือไม่ว่า มิตรภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ชีวิตของคุณอยู่ดีมีสุขได้ด้วย นี่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกล่าวอ้างลอยๆ เพราะมีงานวิจัยจำนวนมากที่ให้คำอธิบายหรือผลสรุปออกมาเป็นทำนองเดียวกัน
อย่างงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ Child Development ฉบับเดือนสิงหาคม 2017 ที่ผ่านมา รายงานว่า เพื่อนสนิทในวัยเด็กส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเราในวัยผู้ใหญ่ได้
จากการติดตามข้อมูลของวัยรุ่นจำนวน 169 คน โดยแบ่งออกมาเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ 15 ปี กลุ่มอายุ 16 ปี และกลุ่มอายุ 25 ปี โดยจากกลุ่มสุดท้ายค้นพบว่า ใครก็ตามที่เพื่อนสนิทสมัยเด็กมีคุณภาพสูง (high quality)
– สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ ‘เพื่อนสนิท’ หมายถึง คนที่มีการติดต่อกันตลอดเวลา
มีการแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกันและกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีความสนใจคล้ายกัน อีกทั้งไม่จำเป็นว่าเพื่อนสนิทจะต้องเป็นคนเดิมทุกปีเสมอไป
– มีแนวโน้มที่จะมีความกังวลต่อการเข้าสังคม (social anxiety) น้อยกว่า มีอาการซึมเศร้าน้อยกว่า และมีความภูมิใจในตัวเองมากกว่ากลุ่มที่อยากเป็นป็อปปูลาร์ในหมู่เพื่อน
ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางตรงข้าม ว่าจะเป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคม เมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่
เรเชล นาร์ (Rachel Narr) หัวหน้างานวิจัยและนักเรียนแพทย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรัฐเวอร์จีเนีย (University of Virginia) แสดงความคิดเห็นว่า
“เราไม่แปลกใจที่เพื่อนสนิทสมัยเด็กมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร แต่เราแปลกใจที่มันส่งผลกระทบต่อกันมา และมีบทบาทสำคัญเมื่อพวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่”
หรืออีกงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบขั้วตรงข้ามของคนที่ ‘พยายาม’ จะมีเพื่อนสนิทเยอะๆ นั้นสามารถส่งผลร้ายต่อใจได้อย่างไร
ทิม แคสเซอร์ (Tim Kasser) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน อธิบายว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์นั้นมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือ
ความมีชื่อเสียง (popularity) กล่าวคือ จะช่วยให้เรามีเพื่อนมากขึ้น ขยายขอบเขตกลุ่มเพื่อนออกไปกว้างขึ้น
กับอีกข้อคือ ความชอบพอกัน (affinity) ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับใครคนหนึ่งได้อย่างสนิทสนมมากยิ่งขึ้น
แม้ทั้งสองจะเป็นสิ่งที่ดี แต่แคสเซอร์ชี้ว่า ใครที่พยายามจะเป็นทั้งที่ชื่นชอบของใครหลายคน มักจะมีความสุขลดลง สุขภาพจิตย่ำแย่ลง และบ่อยครั้งที่จะรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่พยายามจะเป็นใครสักคน เป็น ‘somebody’ และเป็นที่รู้จักของคนทั้งโรงเรียน
🧒การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย
*Parallel Play (2 ปีขึ้นไป)
เด็กวัย 2 ปีขึ้นไปยังไม่เล่นร่วมกับเพื่อนนัก พวกเขายังเล่นในสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นหลัก แต่พวกเขาสามารถเล่นในบริเวณเดียวกับเด็กคนอื่นได้ เช่น เล่นทรายบ่อเดียวกัน แต่เล่นกับอุปกรณ์คนละอย่าง หรือ เล่นในห้องเดียวกัน แต่เล่นของเล่นของใครของมัน ดังนั้นการแบ่งปัน การผลัดกันเล่น การเล่นตามกติกา ยังไม่เกิดขึ้นในวัยนี้
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 2 ปีขึ้นไป คือ การให้เขาได้เล่นในสิ่งที่เขาสนใจ และสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถช่วยปูพื้นฐานการเล่นในวัยนี้ได้ คือ การให้กติกาอย่างง่าย เช่น ไม่ทำให้ตัวเอง หรือ ผู้อื่นเจ็บตัว เล่นแล้วเก็บ ไม่ทำลายข้าวของ เป็นต้น
*Associate Play (3-4 ปี)
เด็กวัย 3-4 ปีเริ่มเรียนรู้ที่จะปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นระหว่างการเล่น แต่จะไม่มีการโต้ตอบมากมาย เพราะเด็กๆ ยังทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจเป็นหลักอยู่ แต่สามารถเล่นร่วมกับผู้อื่นในบางอย่างที่สนใจเหมือนเพื่อน แต่ลักษณะการเล่นไม่ซับซ้อน เช่น เมื่อเห็นไม้ลื่น แล้วอยากเล่นเหมือนกัน พวกเขาจะเริ่มเรียนรู้ที่จะต่อแถวเพื่อขึ้นไปเล่นต่อจากเพื่อน หรือ เมื่อเล่นทรายในบ่อเดียวกัน เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนโดยอาจจะดูว่าเพื่อนสร้างอะไร แล้วอาจจะสร้างตามเป็นต้น แต่ยังไม่ใช่การเล่นที่มีกติกาที่ซับซ้อนหรือมีการตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งปัน หรือ ผลัดกันเล่น
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กวัย 3-4 ปี คือ การสอนเขาเรื่อง ‘การรอคอย’ และ ‘การผลัดกันเล่น’ ลูกเราไม่ต้องได้ทุกอย่างทันทีตลอดเวลา ให้เขารอคอยบ้าง เมื่อลูกต้องรอคนอื่นเล่นให้เขารอ เมื่อคนอื่นมาแย่งของลูก สอนเขาให้พูดแฏิเสธได้ เพื่อให้เขาเรียนรู้การรักษาสิทธิ์ของตนเอง อย่าบังคับให้ลูกต้องสละของชิ้นนั้นให้เพื่อนถ้าเขาไม่ยินยอม และการเคารพกติกาเป็นสิ่งสำคัญของการเล่นกับผู้อื่น กติกาง่ายๆ ใช้ได้เสมอ (ไม่ทำให้ตัวเอง หรือ ผู้อื่นเจ็บตัว เล่นแล้วเก็บ ไม่ทำลายข้าวของ)
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก:
~ Parten MB Social Participation among Preschool Children. Journal of Abnormal and Social Psychology. 1932; 27 (3): 243–269.
~ เพจตามใจนักจิตวิทยา
👪คุณพ่อขอเล่า :
ฟีนิกซ์นั้นโชคดีที่มีคุณแม่ผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี และเปิดใจรับมิตรภาพใหม่ๆอยู่เสมอ
ทำให้ลูกรักรู้จักมีเพื่อนสนิทตั้งแต่ยังพูด อ้อแอ้ไม่เป็นภาษา และพัฒนามิตรภาพกันเรื่อยมา
การที่ลูกจะเติบโตมามีบุคลิกเป็นผู้ชายขี้อาย พูดไม่เก่ง
แบบพ่ออาร์ตเมื่อตอนเป็นเด็ก นี่แทบเป็นไปไม่ได้เลย
ฟีนิกซ์พูดเก่งและอัธยาศัยดีได้แม่เมย์มาเต็มๆ 555 😆
การต้องเข้าโรงเรียน แล้วต้องกลัวว่า ด.ช.ฟีนิกซ์จะไม่มีเพื่อนนี่ เราสามารถตัดประเด็นนี้ไปได้ครับ
แต่ประเด็นที่พ่อกับแม่แอบหวั่นๆใจ ก็คือ กลัวเจ้าลูกชายไปโรงเรียนแล้วจะไม่ยอมกลับบ้าน
ซึ่งผมบอกได้เลยว่า.... เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแน่นอนครับ 555 🤣👪❤❤❤
ช่องทางติดตามดูคลิปวีดีโอเพิ่มเติมทางเพจ FB. " Daddy Survivor "
ขอกำลังใจ ฝากติดตามด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ 😀👪❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา