" ชาวอินเดียนแดงเผ่า Choctaw มีคำว่า OKEH ซึ่งมีความหมายว่า It is so มีรายงานว่าในช่วงการต่อสู้ที่ นิวส์ออร์ลีน ช่วงปี 1815 Andrew Jackson (ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของสหรัฐฯ) ได้เรียนรู้ภาษา Choctaw แล้วชอบคำนี้และได้ใช้คำนี้ด้วย วูดโรว์ วิลสัน ( ปธน คนที่ 28) ก็ได้ใช้คำนี้ในการอนุมัติในเอกสารที่เป็นทางการด้วย
ประเทศไลบีเรียมีคำว่า "Oke" ภาษาพม่าก็มีคำว่า "้haokeh" ซึ่งอาจจะเข้ามาในอเมริกาก่อนปี 1840 ที่ในช่วงเวลาใช้กันจนคุ้นเคยกัน หรือ บางทฤษฎีก็ว่า ในยุคหนึ่งพวกวัยรุ่นชอบเล่นตัวย่อกับภาษากัน เช่น ISBD มาจากคำว่า It shall be done , SP เท่ากับ small potatoes ในหนังสือพิมพ์ Boston Morning Post เดือนมีนาคมบอกว่า OK มาจากคำว่า all correct ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นยุคโน้นดึงวิธีกา่รสะกดแบบชนเผ่าอินเดียนกลับมาใช้อีกเป็น ORL KORREKT
ในขณะที่ ปี 1840 Martin van Burren ได้ลงเป็นผู้สมัครประธานาธิบดีของเดโมแครต โดยฉายานามของเขาคือ Old Kinderhook และ พรรคเดโมแครตก็ได้ตั้ง OK Club ขึ้นเมื่อปี 1840 โดยอิงจากชื่อเขานั่นเอง
The Times ปี 1939 บอกว่าคำนี้เป็นคำดั้งเดิมจากพวก Cockney คือ Orl Korrec
แต่ชาวฝรั่งเศสบอกว่าคำนี้มาจากกลาสีเรือนัดหมายกับสาวอเมริกัน โดยบอกว่า "Aux quais" แปลว่าเจอกันที่ท่า (ออกเสียงว่าโอเค) ชาว Finns ก็มีคำว่า oikea ซึ่งแปลว่า correct
The Times ได้เสนอทฤษฎีใหม่อีกว่า คำนี้อันที่จริงน่าจะมาจากที่สภาขุนนางอนุมัติกฎหมายที่จะต้องอนุมัติโดยลอร์ด Onslow และ Killbracken ซึ่งขึ้นต้นด้วย O.K. แต่พวก Latinists บอกว่าครูใช้สืบทอดกันมาหลายชั่วคนแล้วที่ลงบันทึกหรือปั๊มหัวกระดาษข้อมสอบด้วยคำว่า "Omnis Korecta" ซึ่งบางครั้งก็ใช้แค่ตัวย่อเหลือแค่ O.K.
คนสร้างเรือก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท่อนซุงที่จะทำสันท้องเรือ ( เอ๊ะ ,!เรียกกระดูกงูเรือหรือเปล่านะ) ที่ในภาษาอังกฤษคือ Outer Keel ว่า O.K. Number 1 ซึ่งหมายถึง Outer Keel Number 1 นั่นเอง แต่ชาวสก็อตบอกว่ามาจากคำว่า "Och aye" แล้วเพี้ยนมาเป็น OK