16 พ.ค. 2020 เวลา 04:28 • ธุรกิจ
LVD #61 Reskill สิ่งแรกที่ผู้นำต้องทำเพื่อรับมือ New Normal
สวัสดีครับทุกท่าน จนถึงวันนี้เราอยู่กับ Covid-19 มาเป็นแรมเดือนแล้วนะครับ ผมเชื่อว่า หลายท่านเริ่มแน่ใจแล้วว่าเรื่องนี้จะอยู่กับเราอีกนาน ไม่ว่าเราจะอยากหรือไม่อยากครับ ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนสมมติฐานใหม่ เพราะวิธีการปรับตัวในช่วงระยะสั้น และระยะต่อไปต้องไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน แต่ไม่ว่า action เพื่อปรับตัวจะเป็นอะไรก็ตาม ผมมั่นใจว่าทุกอย่างต้องเริ่มจาก 'คน' และนี่คือเรื่องที่เราจะคุยกันวันนี้ กับเรื่อง Reskill เรื่องที่ผมเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องแรกที่ผู้นำควรคิดและทำ หลังการดับไฟวิกฤติครั้งนี้ (ไม่ต้องรอให้ดับเสร็จครับ แค่พอรู้วิธีดับ ก็ต้องคิด step ต่อไปแล้ว) ลองตามมาครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
บทความในวันนี้ ผมอ้างอิงจาก McKinsey บทความชื่อ To emerge stronger from the Covid-19 crisis, companies should start reskilling their workforces now ที่ลงในวันที่7 พฤษภาคมที่ผ่านมา และผมได้ผสมมุมมองของผมเข้าไปด้วย เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันครับ
คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงจาก Covid19
การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบชั่วข้ามคืน ในความคิดผมมันก็เป็นแค่วาทกรรมที่ทำให้ดูน่าตื่นเต้นเท่านั้น จนถึงเวลาที่ผมได้เจอกับมันจริงๆครับ เมื่อเราได้มีประสบการณ์ตรงกับตัวเอง เหตุการณ์นี้สอนให้พวกเรารู้ถึงศักยภาพในการปรับตัวและเอาตัวรอดของมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเรา แต่ประเด็นคือ สิ่งที่เปลี่ยนแล้วนั้น บางอย่างจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป
จากงานวิจัยของ Mckinsey Global ในปี 2017 คาดว่าจะมีแรงงานมากถึง 375 ล้านคน หรือ 14% ของ workforces ทั้งหมดในโลก ที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพหรือเพิ่ม skill ใหม่ เพราะจะถูก disrupt โดย AI แน่นอน นอกจากนี้ จากงานวิจัยล่าสุดของ Mckinsey เองพบว่า 87%ของผู้บริหารยอมรับว่ากำลังประสบปัญหาเรื่อง Skill Gap และกว่าครึ่งยังไม่รู้ว่าจะแก้ยังไง และแน่นอนว่าตัวเลที่ว่านี้ล้วนเป็นตัวเลขก่อนการระบาดของ Covid-19ทั้งสิ้น การระบาดเร่งปฎิกิริยาทำให้เราข้ามเวลาอย่างรวดเร็ว (1ปีของผมตอนนี้อาจเหลือแค่ 3 เดือนเอง) เราจึงต้องเข้าใจแนวโน้มเพื่อรองรับการปรับตัวในอนาคตอันใกล้มากๆ โดย Mckinsey แนะนำ 3 แนวโน้ม skill สำคัญที่เราจะต้องปรับตัวตามให้ได้คืออะไรบ้าง ลองติดตามต่อได้เลยครับ
1. Distance Economy
ผมมี 2 เหตุผลที่ชวนให้เชื่อว่า Distance Economy เป็นเรื่องที่เราต้องคิดจริงๆและไม่ใข่แค่ระยะสั้น
(1) เพราะมันมีหลักฐานชัดเจนแล้ว ว่าเราดำรงชีวิตแบบอยู่ห่างกันได้ เราชอบไม่ชอบไม่รู้แหละครับ แต่มันทำได้ technology ก็รองรับได้ระดับหนึ่ง เรื่องที่เราไม่เชื่อก็เกิดแล้ว เช่น การ WFH จากที่เราได้แต่คิด ตอนนี้มากกว่า 50% ของทีมผมก็ WFH การให้บริการลูกค้าก็เช่นกัน จากเดิมที่ 90% เป็นแบบ face to face ตอนนี้มันกลับข้างเลย
(2) เรายังแหยงอยู่ วันนี้ถ้า WHO ประกาศว่า Covid-19หยุดระบาดแล้ว คุณยังอยากขึ้นรถไฟฟ้าแน่นๆไหมครับ คุณยังกล้าไปเดินงาน fair แบบที่ฝูงชนแน่นๆพาคุณไปใหมครับ ผมว่าคุณมีคำตอบแล้วละครับ
2. Imbalances in talent demand and supply
จากข้อแรกเราคงไม่ต้องตั้งคำถามเรื่อง digital adoption อีกแล้วละครับ จากรายงานล่าสุดพบว่ามากกว่า 40% ของงานในภาคบริการมีความเสี่ยง แต่กลับมีงานมากกว่า 600,000 ตำแหน่งที่เปิดรับใน USA ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนั้นคือ การหาตัว digital talent เพื่อมารองรับการปรับตัวขององค์กรต่อจากนี้
3. Changes in Supply Chains
เราเคยคุยเรื่องนี้กันไปพอสมควรใน LVD#58 (ผมวาง link ให้ด้านล่างครับ) บริษัทที่เป็นผู้ผลิตหรือแม้แต่รัฐบาลแต่ละประเทศ จะเริ่มตั้งคำถามกับโลกาภิวัตน์ ความกังวลเรื่องความเสี่ยงต่อเรื่องที่ควบคุมไม่ได้อย่างโรคระบาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในประเทศมีมากขึ้น และการโยกย้ายแรงงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องจำเป็น คนในประเทศก็ต้อง reskill เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวครับ
LVD#58 คำถามสำคัญแห่งศตวรรษกับโลกหลัง Covid-19
Blockdit
Facebook
อย่างที่เราทราบครับว่า ต้นทุนของการไม่ทำอะไรเลยอาจจะสูงเกินไป ทำให้ผู้นำต้องคิดเรื่อง reskill อย่างจริงจังและต้องทำเลย แล้วเราจะ reskill ยังไง ลองมาคุยกันครับ
6 ขั้นตอนของการ Reskill
1. Rapidly identify the skill your recovery business model depend on
ก่อนจะ reskill ต้องรู้ก่อนว่าจะเปลี่ยนอะไร skill แบบไหนที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ต้องจินตนาการกิจกรรมหรือพฤติกรรมอะไรที่จะเปลี่ยนอีกนาน และจึงระบุ skill มี่ต้องการ เช่นปกติขายหน้าร้าน ตอนนี้ต้องขายแบบ delivery ดังนั้น ควรจะต้องลองศึกษาเรื่อง logistic เพิ่มรึป่าว อาจจะต้องทำเทรนเรื่องการขายหน้าร้าน อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นการบริหารการจัดส่งแทนหรือไม่ เป็นต้น
2. Build employee skill critical to your new business model
จริงๆถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะ reskill เรื่องอะไรดี McKinsey ได้แนะนำว่า มี 4 skills ที่จำเป็นแน่ๆ ไม่ว่าจะใช้กับ role ไหน ลองดูว่ามีอะไรบ้าง
a. Ability to operate fully digital environment ต่อจากนี้ เรื่อง AI และ Machine Learning จะยิ่งสำคัญมากขึ้นและเร็วขึ้น เมื่อจำนวน transaction บนช่องทาง digital มากขึ้นทันที
b. Higher cognitive หรือ Critical Thinking ในภาวะที่อะไรก็เปลี่ยน เราต้องการคนที่มองปัญหาออก มีความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น Critical Thinking จึงสำคัญยิ่งกว่าเดิม
c. Social and Emotional skill การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเริ่มจากคน การสร้าง collaboration เป็นเรื่องที่ผู้นำจำเป็นต้องให้ความสำคัญมาก ทำให้ skill การจัดการคนจึงมีความสำคัญสูง
d. Adaptability and resilience การปรับตัวเป็นเรื่องที่สำคัญแน่ๆต่อจากนี้ การปรับตัวไม่ใช่เริ่มจากมองคนอื่น แต่ต้องเริ่มจาก self awareness หรือต้องเข้าใจตัวเองให้ได้ก่อน จึงจะเข้าใจสถานการณ์และปรับเข้าหาอย่างรู้ข้อจำกัดของตัวเองได้
3. Launch tailored-made journey to close skill gap
เมื่อธุรกิจเข้าใจแล้วว่าจะต้องทำและเรียนรู้อะไรจากสองข้อแรก เราจะทราบว่าอะไรคือ skill gap ของคนของเรา ในบทความแนะนำว่า องค์กรควรมีรูปแบบการ training แบบรายบุคคลเลย เพราะแต่ละ skill ก็มีเส้นทสงการพัฒนาไม่เหมือนกัน และที่สำคัญ มันสามารถทำได้แล้วผ่านช่องทาง digital โดยที่ต้นทุนไม่สูงมากเหมือน face to face แต่ก็ต้องระวังว่าจะทำอย่างไรให้การ training แบบนี้ไม่ขาดความเชื่อมโยงระหว่างคน หรือขาด empathy แบบที่การทำ face to face training ทำได้
4. Start now, test rapidly and iterate
คิดเสร็จหรือจริงๆยังไม่เสร็จก็ต้องเริ่มทำเลยครับ ทำแล้วก็ test และย้ำบ่อยๆ เพราะการเรียนรู้เรื่องใหม่ อาจจะไม่ถูกตั้งแต่แรก การทำและ test จะช่วยให้เรารู้ว่ามันถูกหรือผิดเร็วขึ้น ไม่งั้นกว่าจะเริ่มเรียนการปั้มหัวใจ หัวใจของธุรกิจอาจจะหยุดเต้นก่อนครับ
5. Act as a small company to have large impact
จากผล survey พบว่าบริษัทเล็กมักจะทำการ reskill ได้สำเร็จมากกว่าบริษัทใหญ่ ทั้งๆที่มีทรัพยากรน้อยกว่า เพราะบริษัทเล็กมีข้อได้เปรียบ จากจำนวนคนที่ไม่มาก ขั้นบังคับบัญชาน้อยเท่ากับคล่องตัวปรับตัวง่าย นอกจากนี้การที่มีขั้นตัดสินใจไม่มากก็ทำให้มุมมองของผู้บริหารและพนักงานเห็นภาพเดียวกันง่ายกว่า การจัดลำดับความสำคัญของ skill gap ก็ชัดเจนกว่า ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ เวลาแบบนี้ บริษัทไหนๆก็ต้องปรับตัวให้เร็ว ขั่นตัดสินใจควรน้อยลง ภาพของคนองค์กรก็ชัดขึ้น
6. Protect learning budget (or regret later)
ตรงไปตรงมาครับ เมื่อแก้ปัญหาระยะสั้นได้ เรื่องสำคัญคือมองไปข้างหน้า การจะไปข้างหน้าได้ต้อง invest for future แม้ว่าองค์กรต้องประหยัดงบประมาณ แต่การตัดงบ training ก็เป็นแค่การประหยัดวันนี้แต่ต้องจ่ายอยู่ดีวันหน้า เพราะการเรียนรู้มันเป็นกระบวนการที่ต้องทำตลอด แล้วทำไมไม่ทำตั้งแต่วันนี้ ความรู้คือเกราะป้องกันวิกฤติที่ดีที่สุดครับ
ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนยังไง แต่อย่าลืมว่า มันเริ่มจากความคิดของคนนี่แหละครับ ดังนั้น ผู้นำต้องเตรียมบุคลากรโดยพัฒนาตั้งแต่ mindset จนถึง hard skill ผมคิดว่าเราต้องเชื่อในพบังการปรับตัวของคน จริงๆ 2 เดือนที่ผ่านมาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามนุษย์เราปรับตัวเก่งขนาดไหน และพวกเราทุกคนในฐานะปัจเจก ก็ไม่จำเป็นต้องรอใครมาบอกให้เรา reskill นะครับ เราต้องเรียนรู้เอง เรียนรู้ทุกวัน เพราะการเรียนรู้โดยเฉพาะวันนี้ไม่ใช่แค่หน้าที่ของเด็ก และที่สำคัญการเรียนรู้ไม่ใข่ทางเลือกแต่เป็นความจำเป็นครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา