18 พ.ค. 2020 เวลา 03:31 • การศึกษา
ตอนที่ 3 : Gout กับยา "Allopurinol"
ยังจำกันได้มั๊ยคะว่า ... ยาที่ใช้รักษาโรคเก๊าท์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
“บรรเทาอาการปวด” “ลดการสร้าง” และ “เพิ่มการขับออก”
ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้พูดคุยเรื่องยา Colchicine ที่เป็นยาบรรเทาอาการปวดของโรคเก๊าท์ไปแล้ว ...
สำหรับวันนี้ .. ขออนุญาตให้ข้อมูลยาที่มีผลต่อการลดระดับกรดยูริกในเลือดโดยตรง ... ซึ่ง ก็คือ ยาในกลุ่มที่ 2 “ลดการสร้าง” และ 3 เพิ่มการขับออก” นั่นเอง
แต่ต้องขอบอกก่อนนะคะว่า ... การให้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดจะให้หลังจากที่ข้ออักเสบหายสนิทแล้วเท่านั้น !!!! ทางการแพทย์จะเรียกระยะนั้นว่า "intercritical gout " โดยยาที่ใช้มี อยู่ 2 กลุ่มด้วยกันคือ
1. Xanthine oxidase inhibitor
2. Uricosuric agent
กลุ่มแรกที่เราจะมาเน้นกันในวันนี้ คือยากลุ่ม
Xanthine oxidase inhibitor ซึ่งก็คือ ยา "Allopurinol" นั่นเอง
กลไกของยา Allopurinol ก็ตามชื่อกลุ่มเลยค่ะ มันจะเข้าไปยับยั้ง xanthine oxidase ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการเปลี่ยนจาก purine เป็นกรดยูริก นั่นเอง
https://musculoskeletalkey.com/antihyperuricemic-agents/
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าตัวยา Allopurinol เนี่ย ... มันสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase ได้ยังไง ใช่มั๊ยล่ะคะ ??
เมื่อเราลองไปดูโครงสร้างทางเคมีของตัวยา Allopurinol เราก็จะถึงบางอ้อทันทีเลยค่ะ
จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่า ... ตัวยา Allopurinol จะถูกสร้างขึ้นมาให้มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสาร Hypoxanthine มากๆ ทำให้เอนไซม์ xanthine oxidase เข้าใจผิดและเผลอมาจับกับตัวยา Allopurinol ของเราแทน
นอกจากจะป้องกันไม่ให้สาร Hypoxanthine เปลี่ยนเป็น xanthine แล้ว
ที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือ ... เมื่อตัวยา Allopurinol จับกับ xanthine oxidase แล้วจะเปลี่ยนเป็นสารที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสาร xanthine และเราเลยตั้งชื่อให้มันว่า Alloxanthine และนี่แหละคือ ตัวเด็ดเลย !!!!
ทำไมน่ะหรอคะ ???
เพราะสาร Alloxanthine ของเราจะแย่งจับ xanthine oxidase กับ xanthine ตัวจริง และแย่งจับแบบ "จับแล้วจับเลย จับไม่ยอมปล่อย"
นั่นหมายความว่า .... จะไม่มี xanthine oxidase เหลือไปจับกับ xanthine ตัวจริง สุดท้ายท้ายสุด ก็ไม่เกิดเป็นกรดยูริกนั่นเอง....
หรือถ้ามีหลุดรอดไปบ้าง ก็จะเกิดกรดยูริกในปริมาณที่น้อยมากๆ และร่างกายของเราก็กำจัดออกไปได้เอง
เป็นยังไงล่ะคะ !!! เห็นเป็นยาเม็ดเล็กๆ แต่เจ๋งมากใช่มั๊ยคะ ป้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ
https://slideplayer.com/slide/5895088/
สำหรับขนาดยาที่ให้ในผู้ป่าวย ... อาจเริ่มให้ขนาด 100 mg/day แล้วค่อยๆเพิ่มขนาดช้าๆ โดยปกติจะใช้ที่ 300 mg/day
อย่างไรก็ตาม การใช้ยา Allopurinol ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดร้ายแรงจากยาได้ เช่น Steven-Johnson syndrome (SJS), toxic epidermal necrolysis (TEN) และ drug rash with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) พูดง่ายๆ คือ บางคนกินเข้าไปแล้วมีอาการแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแพ้แบบรุนแรงซะด้วย
และตัวยา Allopurinol ยังสามารถทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆได้อีกด้วย
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1775
ดังนั้น อย่าหงุดหงิด อย่าโมโหเลยนะคะ ถ้าเภสัชจะถามเซ้าซี้ไปบ้าง
กินยา อาหารเสริมไรมั๊ย
เคยแพ้ยาอะไรมั๊ย
มีโรคประจำตัวอื่นๆอะไรบ้าง
เพราะเราถามด้วยความห่วงใย จีงจีง
ปูลู .. หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับใครสักคน ... ไม่มาก ก็น้อย
อย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ให้กำลังใจด้วยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา