Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2020 เวลา 10:57 • การศึกษา
CHAPTER 19
ประกาศ " ราชกิจจานุเบกษา " ได้ยินบ่อยๆ สำคัญอย่างไรนะ ^^
( ภาพจาก : google )
- ตลอดเวลาที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ถือว่าเป็นประกาศของทางการที่มีบทบาท และอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก บ่อยครั้ง ประกาศสำคัญที่มีผลในทางกฎหมาย
- และเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยก็จะถูกประกาศผ่านเอกสารฉบับนี้ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอดจนข้อกฎหมายสำคัญๆ แต่จริงๆ แล้วรายละเอียดของประกาศทางการยังมีอะไรให้ค้นหาอีกมาก
ภาพจาก : Book of the day
📋 ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ...
- โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ”
( ภาพจาก : google )
- แต่พิมพ์ได้เพียง 1 ปี ก็หยุด ต่อมาในสมัย ร.5 จึงจัดพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง
- ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ได้ทรงนำอารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างมาใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ แต่สิ่งใดที่มีอยู่แล้วและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในสมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปฏิบัติต่อ โดยเฉพาะเรื่องการพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ออกหนังสือนี้ขึ้นอีกครั้งสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ภาพจาก : google )
💥 ราชกิจจานุเบกษาคืออะไร ?
- ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่างๆ ของชาติบ้านเมือง เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
- เพื่อประกาศข่าวสารป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ตามพระราชปรารภ ที่ปรากฏตามประกาศเรื่องออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับแรก เมื่อ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นค่ำ 1 ปีมะเมีย จุลศักราช 1219 หรือ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 ความว่า
“ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้น พระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่า ความนั้นใส่มาในราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะได้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าลือผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เป็นเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้”
พิมพ์ประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใบปลิวในสมัยก่อน
💥 ถือเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด 😳
ซึ่งมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์
💥 ราชกิจจานุเบกษามีกี่ประเภท ?
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องใน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ราชกิจจานุเบกษาแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยประเภท ก และ ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อไปจากเดิม ดังนี้
🎈1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง
ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด
และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษา ของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ
ตัวอย่าง : ประเภท ก ( ภาพจาก : google )
🎈2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ
หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก
ตัวอย่าง : ประเภท ข ( ภาพจาก : google )
🎈3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน
ตัวอย่าง : ประเภท ค ( ภาพจาก : google )
🎈4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค
ตัวอย่าง : ประเภท ง ( ภาพจาก : google )
📚 สาระสำคัญเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา
นับตั้งแต่มีการออกประกาศราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันนั้น เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
การบอกข้อราชการและ ข่าวต่างๆ ประเภทหนึ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ โดยมีลักษณะสำคัญด้านประวัติศาสตร์ไทย
ในแง่ของการ เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งใน และนอกราชสำนัก การเมืองการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ไปจนถึงเรื่องของวิวัฒนการการทางภาษา และการพิมพ์
💥 ยิ่งไปกว่านั้น ราชกิจจานุเบกษายังใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการ ตุลาการ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับหน่วยราชการ เพราะมีการพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานจดหมายเหตุและพงศาวดารของ ประเทศไทยในสมัยก่อนแล้ว ราชกิจจานุเบกษาก็จัดอยู่ในหนังสือประเภท เดียวกัน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า
💥 การนับวันมีผลบังคับใช้ ในราชกิจจานุเบกษา
การกำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา สามารถกำหนดได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศ คือ ผู้มีอำนาจลงนามในประกาศวันไหน ก็มีผลใช้บังคับวันนั้น
2. ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด ก็มีผลใช้บังคับวันนั้น
3. ให้มีผลใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด ก็ให้มีผลบังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน หรือ 120 นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ ให้นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปอีก 90 วัน หรือ 120 วัน
📍ตัวอย่างเช่น 📚
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถ้ากฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 ม.ค. 2551 (ดูจากหัวกระดาษมุมบนขวา) จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 ไปจนครบ 60 วัน ซึ่งจะครบ 60 วัน ในวันที่ 29 ก.พ. 2551 กฎหมายให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 60 วัน ดังนั้น จึงเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2551 เป็นต้นไป (กรณี 90 วัน , 120 วัน หรือ 180 วัน ก็ใช้วิธีการนับเช่นเดียวกัน
กรณีที่กฎหมายให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถ้ากฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 ม.ค. 2551 วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจึงเป็นวันถัดไป คือวันที่ 2 ม.ค. 2551
ซึ่งการกำหนดแบบนี้ก็เพื่อให้หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือผู้ถูกบังคับได้รับรู้รับทราบหรือเตรียมตัวก่อนที่จะใช้กฎหมาย
รูปจาก : ฐานเศรษฐกิจ
ข้อมูลจาก ( Ref. )
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878787
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ราชกิจจานุเบกษา
https://aphirakn.blogspot.com/2016/06/blog-post.html?m=1
/// หากบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สารธารณะ
ช่วยกดไลค์ 🤭 กดแชร์เป็นกำลังใจ 💕
ให้ผู้จัดทำด้วยนะครับ^^ ///
วาดโดย : คุณติสตี่
บันทึก
3
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
3
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย