Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2020 เวลา 06:08 • การศึกษา
CHAPTER 20
ให้ที่พักพิงผู้กระทำความผิด / ผู้ต้องหา มีความผิดอย่างไร ?
ภาพจาก : http://www.bosch.in.th/safety.html
เมื่อลูกหลาน / เพื่อนสนิท หรือคนรู้จักไปกระทำความผิด เช่น ชิงทรัพย์ หรือทำร้ายผู้อื่น แล้วตำรวจตามจับตัวเพื่อไปดำเนินคดี แม้ว่าเราจะเมตตาเขา ก็ควรจะเมตตา ให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้น นอกจากผู้กระทำผิดแล้วตัวเราที่ให้ที่พึ่งพิงก็จะมีความผิด ตามกฎหมายไปด้วยเช่นกัน
เพราะให้ที่หลบซ่อน เพื่อหลบเลี่ยงการกระบวนการ ยุติธรรมต่างๆ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 189
ได้ระบุไว้ว่าผู้ใดช่วยผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิด ลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องโทษ
โดยให้ที่พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วย ผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพจาก : bangordailynews.com
แล้ว ถ้าเป็น " การช่วยไม่ให้ถูกจับกุม " ?
...เรามาดูข้อกฎหมายกันนะครับ.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ช่วยผู้อื่น
(3) ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดหรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด
(4) อันมิใช่ความผิดลหุโทษ
(5) โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด ๆ เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม
องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) มูลเหตุชักจูงใจ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ
อัตราโทษ
💥 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน " 40,000 บาท " หรือทั้งจำทั้งปรับ.
ต้องมาเทียบดูตามคำบรรยายครับ ( ข้อมูลจาก )
Cr.ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวเกี่ยวกับความผิดตามมาตรานี้ว่า
" การช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้ อาจช่วยได้ 2 ลักษณะ คือ ช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องรับโทษและช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อมิให้ถูกจับกุม
อันเนื่องมาจากความผิดอาญาแผ่นดินที่ไม่ใช่ลหุโทษ เช่น ช่วยบอกข่าวการติดตามของตำรวจ จัดหาเรือให้ เพื่อให้หลบหนี แกล้งบอกให้ตำรวจตำรวจติดตามผู้ร้ายไปผิดทาง
หรือตำรวจเข้าจับการพนัน ก็ร้องบอกว่า " ตำรวจมา " ทำให้บางคนหลบหนีไปได้ มีความผิดตามมาตรานี้
📚( ฎีกาที่ 2448/2521 ) ตำรวจตามผู้ร้ายมาถึงที่บ้าน ก.ให้คนร้ายขึ้นไปแล้วบอกตำรวจว่าคนร้ายไม่ได้เข้ามาในบ้าน ตำรวจพบว่าคนร้ายซ่อนอยู่ในบ้าน ก. มีความผิดฐานซ่อนเร้นผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้
📚 ( ฎีกาที่ 1670/2522 ) แต่ถ้าพาผู้กระทำความผิดนั่งรถกลับบ้าน แต่ขณะพาไม่มีใครจะเข้าจับกุมก็ไม่เป็นการช่วยให้พ้นการจับกุม
📚 ( ฎีกาที่ 2449/2522 ) และต้องเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด ถ้าช่วยตัวเองหรือช่วยผู้กระทำความผิดที่คดีขาดอายุความแล้ว หรือช่วยผู้ที่มีหมายจับให้มาฟังคำพิพากษาซึ่ง " ยกฟ้อง " แล้วไม่มีความผิดตามมาตรานี้
📚( ฎีกาที่ 207/2517 ) หรือถ้าผู้อื่นนั้นถูกจับแล้วช่วยให้หลบหนีก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้เช่นกัน ( ฎีกาที่ 1671/2512 ) ( อาจผิดมาตรา 191 )
** มาตรา 191 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาจากศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง
*** ที่สำคัญ ต้องมีเจตนาช่วยโดยมี " มูลเหตุจูงใจ " เพื่อมิให้ถูกจับกุมหรือเพื่อมิให้ต้องรับโทษถ้าช่วยเหลือเพราะผู้นั้นกำลังจะอดตายหรือกำลังเจ็บป่วย ไม่ผิดตามมาตรานี้ ***
1 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย