Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2020 เวลา 12:37 • การศึกษา
CHAPTER 22
ล่อซื้อ หรือ ล่อให้กระทำผิด /// ความเหมือนที่แตกต่าง...
ภาพจาก : google.com
💥 ในการจับกุม บางกรณีปรากฏว่าการกระทำของเจ้าพนักงานไม่ใช่การแสวงหาพยานหลักฐานโดยการล่อซื้อ แต่เป็นการล่อให้บุคคลที่ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดมาแต่แรก ...
คำว่า “ล่อซื้อ” เป็นคําที่ตรงกับคําในภาษาอังกฤษว่า “Sting Operation” ซึ่งใน Black’s Law Dictionary ได้ให้คํานิยามของคําว่า
“Sting Operation” หมายถึง การปฏิบัติการของอําพรางตัวของ เจ้าหน้าที่ตํารวจ (Undercover) โดยเจ้าหน้าที่ตํารวจน้ันแสดงตนเป็นอาชญากรเพื่อดักจับผู้กระทําความผิดกฎหมาย
📍 การล่อซื้อ จึงหมายถึง เทคนิคการสืบสวนประเภทหนึ่งที่มีการอําพรางตัว ไม่ว่าจะ เป็นการอําพรางตัวโดยเจ้าหน้าที่ตํารวจ สายสืบ สายลับ หรือนกต่อ
เพื่อเข้าไปติดต่อกับบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ว่าน่าจะเป็นผู้กระทําความผิด ได้มีโอกาสกระทําความผิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีเจตนากระทําความผิดในฐานความผิดนั้นๆ มาก่อนแล้วได้กระทําความผิดขึ้น
อันจะทําให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าจับกุมนําตัว 👤
บุคคลผู้กระทําความผิดมาดําเนินคดี พิสูจน์ความผิดหรือรวบรวมพยานหลักฐานในการดําเนินคดี
ภาพจาก : อาจารย์ดวงเด่น
📍 ความหมายและลักษณะของการล่อให้กระทำความผิด
การล่อให้กระทําความผิด” (Entrapment) นี้ มีนักวิชาการทั้งของต่างประเทศและของไทย ให้ความหมายไว้ โดยรวมว่า
ลักษณะของการกระทําที่จะเป็นการล่อให้กระทําความผิด คือ การที่เจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานของรัฐมิได้กระทําเพียงการใช้เทคนิคในการ “เปิดโอกาส” ให้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทําความผิดเพื่อให้ เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานได้เท่าน้ัน
❗️แต่เป็นการ “สร้างสถานการณ์” ขึ้น “เพื่อให้ ผู้ใดผู้หนึ่งกระทําความผิด” โดยที่ “ผู้น้ันมิได้ต้ังใจ มุ่งหมาย หรือมีเจตนาที่จะกระทําความผิดนั้นก่อนเลย”
💥 ความแตกต่างของการล่อซื้อและการล่อให้กระทำผิด
การล่อซื้อกับการล่อให้กระทำผิดนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการล่อซื้อนั้นเป็นเรื่องของการแสวงหาพยานหลักฐานจากผู้ต้องหา
ซึ่งมีการกระทำผิดกฏหมายอยู่แล้ว เช่นมียาเสพติดไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้จากการล่อซื้อนั้นสามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้
แต่การล่อให้กระทำความผิดเป็นกรณีของการหลอกล่อ หรือการกระทำใดๆให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้วจับกุมดำเนินคดี การกระทำผิดจึงเป็นผลมาจากการล่อให้กระทำ ตัวผู้กระทำไม่มีเจตนาดั้งเดิมที่จะกระทำอยู่ก่อน และพยานหลักฐานที่ได้มาจากการล่อให้กระทำผิดนี้ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
📚 ยกตัวอย่างเช่น หาก นาย ก. ติดยาบ้า มียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อเสพอย่างเดียวเท่านั้น จำนวน 5 เม็ด เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับชื่อนาย ข. เป็นเพื่อนนาย ก. ไปคะยั้นคะยอ ขอร้องให้นาย ก.แบ่งขายให้นาย ข.บ้าง เพราะนาย ข.อยากยา เช่นนี้เป็นการล่อให้กระทำผิด และพยานหลักฐานที่ได้มาจากการล่อให้กระทำความผิดคือนาย ข.สายลับ หรือพนักงานตำรวจที่ซุ่มดูการล่อซื้อ ถือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาจากการหลอกลวงโดยมิชอบ
- จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิอาญา ม 226 ถึงมีการล่อให้กระทำผิดเช่นนี้และนาย ก. ขายยาบ้า ให้นาย ข.จริง
- ก็ไม่อาจลงโทษนาย ก.ฐานจำหน่ายยาบ้าได้ แต่หากนาย ก.มียาบ้าไว้เป็นปกติอยู่แล้ว การที่พนักงานตำรวจให้นาย ข.ไปล่อซื้อยาบ้าจากนาย ก.ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฏหมาย
✅ พยานหลักฐานนี้จึงสามารถรับฟังได้ ดังนั้นการต่อสู้คดีในลักษณะนี้จะต้องพิสูจน์ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหาย
( เช่นในคดีลิขสิทธิ์ ) เป็นการล่อซื้อหรือการล่อให้กระทำผิด ?
จุดสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการตั้งใจที่จะกระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว หรือไม่ได้ตั้งใจกระทำผิด
แต่กระทำผิดไปเพราะถูกหลอกล่อ ชักจูง โน้มน้าวให้กระทำ โดยพิจารณาจากด้านปัจจัยในตัวของจำเลยเอง เช่น บุคลิกภาพ ประวัติการกระทำผิด สถานที่อยู่ และพฤติการณ์อื่นๆ ในคดี
ส่วนด้านปัจจัยภายนอกคือ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหายว่ากระทำการอย่างไร ถึงขั้นโน้มน้าวชักจูงหรือไม่ หรือจำเลยมุ่งจะกระทำผิดอยู่แล้ว...
( คล้ายกับหลักการ บริหาร วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก ) 🤭
ภาพจาก : มติชนออนไลน์
แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎที่ยอมรับว่า “การล่อซื้อ” เป็นหนึ่งในเทคนิคของการสืบสวนคดีอาญา มาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม
แต่จากแนวคําพิพากษาฎีกานั้นจะเห็นได้ว่าศาลได้ยอมรับเทคนิคการ สืบสวนที่เรียกว่าการล่อซื้อมาเป็นเวลานานแล้ว
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตในเบื้องต้นว่า คําพิพากษาฎีกา เกี่ยวกับการล่อซื้อที่ปรากฏนั้นส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติดกว่าร้อยละ 90
ในขณะที่ในความเป็นจริงน้ันมี คดีที่ใช้เทคนิคล่อซื้อหรืออําพรางตัวนี้อีกหลายประเภทแต่ไม่ขึ้นถึงชั้นฎีกา
ซึ่งคําพิพากษาฎีกาเหล่านั้นได้ วางแนวคิดของกฎหมายเกี่ยวกับการล่อซื้อและการล่อให้กระทําความผิดไว้
- รับฟังมิได้
📚 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2544 นายดาบตํารวจ ว. กับพวกเห็นจําเลยจําหน่าย เมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ เมื่อเข้าไปตรวจค้นบ้านจําเลยก็พบเมทแอมเฟตามีนอีก1 เม็ด
การกระทําของนายดาบตํารวจ ว. กับพวกกระทําต่อเนื่องกันเมื่อพบเห็นจําเลยจําหน่าย และมียาเสพติดให้โทษไว้ใน ครอบครองเพื่อจําหน่าย
อันเป็นความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 จึงมีอํานาจจับจําเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามมาตรา 78(1) เม่ือเป็นการตรวจค้นและจับจําเลยโดย ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบด้วยมาตรา 226
- คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 วินิจฉัยว่า การที่บริษัทไมโครซอฟท์จ้างนักสืบ เอกชนไปล่อซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทําทีไปติดต่อซื้อคอมพิวเตอร์จากจําเลย
โดยมีข้อตกลงว่าจําเลยต้อง แถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายแก่สายลับด้วย หลังจากจําเลยประกอบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีการ ทําซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย
ลงในฮาร์ดดีสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้กับสายลับ ศาลเห็นว่าการกระทําของจําเลยเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของสายลับ มิใช่ทําขึ้นโดยผู้กระทํามีเจตนากระทําผิด อยู่แล้วก่อนการล่อซื้อเท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิด โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหาย โดยนิตินัยจึงไม่มีอํานาจฟ้องคดี
- รับฟังได้
📚 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2518 การที่พนักงานสอบสวนสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ตํารวจนายหน่ึงเข้าไปขอรับบริการอาบอบ นวด จากจําเลย เพื่อพิสูจน์คําร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณี ในสถานที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ตามคําสั่งพนักงานสอบสวน
แล้วจําเลยยอมร่วมประเวณีและรับเงินจากเจ้าหน้าที่ตํารวจผู้นั้น ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
ภาพจาก : google.com
*** ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการ “ล่อซื้อ” โดยการปลอมเป็นลูกค้าเพื่อสั่งซื้อคอมพิวเตอร์และจำเลยได้ลงโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นการละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้วย
พยานหลักฐานที่ได้จากการ “ล่อซื้อ” ดังกล่าว ถือเป็นพยานที่รับฟังได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาวางแนวรับรองการดำเนินการในเรื่องการล่อซื้อไว้แล้วในหลายคดี ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543
แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ความว่า ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย ไม่เคยมีการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวมาก่อน แต่เป็นเพราะการที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยตัดสินใจที่จะทำ และเป็นการกระทำผิดครั้งแรก ซึ่งในกรณีนี้ถูกเรียกว่า “ล่อให้กระทำผิด” ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้กระทำไม่เคยกระทำการในลักษณะดังกล่าวมาก่อน
เช่น เด็กอายุ 15 คนนี้ไม่เคยทำกระทงในลักษณะหรือรูปแบบที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์มาก่อน แต่เป็นเพราะมีผู้มาสั่งจ้างให้ทำ ผู้สั่งจ้างอาจถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดได้
2 บันทึก
8
2
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
2
8
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย