20 พ.ค. 2020 เวลา 11:26 • การศึกษา
CHAPTER 23
สภาวะการพักการชําระหนี้โดยผลของกฎหมาย (Automatic Stay)
ภาพจาก : google
หลังจากเราได้รู้จักกับคำว่า ล้มละลาย กันไปแล้วใน chapter 13
ในบทนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง หลักการฟื้นฟูกิจการฉบับง่าย ! กันครับ
แล้วก็มาทำความรู้จักกับคำว่า Automatic Stay ซึ่งตอนสมัยเรียนกฎหมายวิชาลักษณะล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ อ.ท่านชอบเน้นคำนี้เสียเหลือเกิน ซึ่งมันจะส่งผลกับลูกหนี้อย่างไร เชิญติดตามครับ ^^
ภาพจาก : ISpace Thailand
- เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสภาพการทําธุรกิจและ สถานะทางการเงินของกิจการเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่ประสบปัญหา
ในการจัดหาแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงิน กิจการจํานวนไม่น้อยอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่อง ทางการเงินและไม่สามารถชําระหนี้ได้ และบางรายอาจถึงขั้นที่อยู่ในสภาพ "หนี้สินล้นพ้นตัว"
แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางการเงินนั้นโดยทั่วไป
ก็ได้แก่ การหาแหล่งเงินสินเชื่อหรือเงินทุนใหม่
เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในกิจการ
ซึ่งเป็นไปได้ยากที่กิจการที่อยู่ในสถานะเช่นนี้จะหาแหล่งสินเชื่อ หรือเงินทุนใหม่ได้ หรือถ้าหาได้ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
และสุดท้ายก็จําเป็นที่จะต้อง เจรจาประนอมหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้
ภาพจาก : www.ddproperty.com
- ในการเจรจาประนอมหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้
ลูกหนี้จะต้องขอเจรจา ทําความตกลงกับเจ้าหนี้แต่ละรายด้วยตนเอง ซึ่งแม้ว่าลูกหนี้จะสามารถทําความตกลงกับเจ้าหนี้
- บางรายได้สําเร็จ ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เบ็ดเสร็จนัก และการที่ลูกหนี้จะขอให้เจ้าหนี้ทุกราย มาเจรจาทําความตกลงร่วมกันก็เป็นไปได้ยากมาก
‼️ เพราะต้องอาศัยความสมัครใจของเจ้าหนี้ทุกๆราย อีกทั้งข้อเสนอในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ก็ต้องได้รับความตกลงยินยอมจากเจ้าหนี้ทุกราย
😷 อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า อุปสรรคและข้อจํากัด ดังกล่าวเกิดจากการที่กระบวนการเจรจา ประนอมหนี้หรือ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไม่มีสภาพบังคับหรือหลักเกณฑ์ที่ให้เจ้าหนี้นั้นต้องปฏิบัติตามกระบวนการทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับความยินยอมของเจ้าหนี้เอง
ภาพจาก : http://www.snmri.go.th/snmri_new/?p=83
📍 กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
"กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้" ภายใต้หมวด3/1แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2541 )
- เป็นกระบวนการทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอุปสรรคและข้อจำกัดในการปรับปรุงโครงสร้างกิจการและหนี้ของลูกหนี้ที่อยู่ในภาวะหนี้สินลันพ้นตัว เพื่อให้ลูกหนี้สามารถแก้ไขปัญหาการชำระหนี้ และดำเนินกิจการต่อไปได้
- ในขณะที่เจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้มากกว่าการไปฟ้องร้องลูกหนี้เป็น
คดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย (ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือการชำระบัญชีเพื่อ ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้) โดยไม่กระทบถึงสิทธิเหนือหลักประกันต่างๆ ที่มีอยู่เดิม
- และหากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผลสำเร็จ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นตัวลูกหนี้เองที่สามารถ แก้ไขปัญหาทางการเงินและดำเนินกิจการต่อไปได้ พนักงานลูกจ้างและคู่ค้าของลูกหนี้ที่ต้องพึ่งพิงกิจการของลูกหนี้ และบรรดาเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้มากกว่ากรณีที่ลูกหนี้ต้องล้มละลาย
- นอกจากนี้ กระบวนการฟื้นฟูกิจการยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ เพราะกระบวนการนี้สามารถช่วยไม่ให้กิจการต่างๆ ที่มีช่องทางฟื้นฟูกิจการต้องล้มละลายไปโดยไม่จำเป็น ซึ่งการล้มละลายของกิจการใดกิจการหนึ่งย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
‼️ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ที่มีการจ้างงานหรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นจำนวนมากมาตรการและขั้นตอนหลักในกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
ภาพจาก : www.lendingtree.com
💥 เริ่มตันที่การสร้างสภาวะการพักการชำระหนี้โดยผลของกฎหมาย (Automatic Stay) กล่าวคือ เมื่อศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่ง และการงดให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆภายใต้เงื่อนไขที่กฏหมายกำหนด
และตัวลูกหนี้เองก็ถูกห้ามมิให้ชำระหนี้หรือก่อหนี้และกระทำการใดๆ
ในทางที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากการดำเนินการที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจตามปกติ
ภาพจาก : www.osos.boi.go.th/TH/
- วัตถุประสงค์และประโยชน์ของสภาวะการพักชำระหนี้
มีอยู่หลายประการ 🙂
(1) การสงวนและรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้เอาไว้ เพื่อให้ลูกหนี้ยังคงสามารถใช้ในการประกอบธุรกิจได้ต่อไป และรวบรวมไปจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการแทนที่จะปล่อยให้เจ้าหนี้ไปฟ้องร้องบังคับคดีกันเอาเองซึ่งอาจจะมีผลกระทบถึงการประกอบธุรกิจของลูกหนี้และก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าหนี้
(2) ให้โอกาสและระยะเวลาช่วงหนึ่งแก่ลูกหนี้ในการพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาของกิจการตลอดจนการเจรจาหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับเพื่อชำระหนี้
(3) การบรรเทาภาวะวิกฤตทางการเงินเป็นการชั่วคราว พื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
(4) ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายภายใต้สภาวะการพักชำระหนี้ตามรายละเอียดดังจะได้กล่าวต่อไป
- เมื่อศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พร้อมทั้งแต่งตั้งบุคคลที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอให้เป็นผู้ทำแผนแล้ว
- ผู้ทำแผนจะเข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สิน
ของลูกหนี้และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ (ยกเว้นสิทธิในการรับเงินปันผล)
- เจ้าหนี้ทุกรายจะต้องนำหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมายื่นขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อรวบรวมและสรุปภาระหนี้สินทั้งหมดที่ลูกหนี้มีอยู่ โดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนอาจขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ที่ตนเห็นว่าไม่ถูกต้องได้
- ในกรณีดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนแล้วมีคำสั่งยกคำขอหรืออนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามจำนวนที่ถูกต้องผู้ทำแผนที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง (ลูกหนี้อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำแผนเองก็ได้) จะต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการให้แล้วเสร็จและยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 3 เดือน
นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับขั้นตอนการยื่นคำขอรับชำระหนี้ข้างต้นผู้ทำแผนจะต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยมีรายการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด
*** สรุป Automatic Stay แม้จะเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้แต่ถ้าลูกหนี้ไม่สุจริตใช้ช่องทางของการพักชำระหนี้มาเป็นเหตุในการประวิงเวลาชำระหนี้ หรือเป็นเครื่องมือในการขัดขวางการบังคับคดีตามคำพิพากษา
เจ้าหนี้ก็มีทางแก้คือ กฎหมายล้มละลายมาตรา 90/12 (4) ที่เจ้าหนี้สามารถขออนุญาตต่อศาลที่รับ คำขอฟื้นฟูกิจการให้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ กล่าวคือ ให้ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้นั่นเอง ทางที่ดีควรใช้สิทธิในทางสุจริตเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายจะดีกว่า... ครับ ***

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา