21 พ.ค. 2020 เวลา 07:54 • การศึกษา
CHPTER 24
AI with The Future of Lawyers : เป็นปัญหาใหญ่หรือไม่ ?
ภาพจาก : shutterstock
- เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน ปัญญาประดิษฐ์จำพวกหุ่นยนต์จึงได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้น จนสามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ในหลายตำแหน่งงาน
- จากการเปิดเผยข้อมูลของสำนักข่าวและนักวิเคราะห์ทั่วโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานด้านต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งอาจถูกแทนที่ด้วย "หุ่นยนต์หรือ AI" ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเปอร์เซนต์ความเป็นไปได้ที่อาชีพต่างๆ จะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ
ภาพจาก https://www.admissionpremium.com/it/news/3229
ภาพจาก : ballvpn.com
ในศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วเเละต่อเนื่อง ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ที่เเล้วสิ่งที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา 🇱🇷
เมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมา
ภาพจาก : google.com
- โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ซึ่งปกติระบบการสื่อสารจะถูกทำลายหรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังสามารถทำงานได้ โดยใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ( ในรูปแบบแรก )
- จนนำมาสู่วันนี้ โดยนวัตกรรม AI กำลังจะถูกนำมาใช้ตัดสินความยุติธรรมด้วยหลักกฎหมายเเทนการใช้มนุษย์ เเละ ระบบศาลเดิม ๆ ในการตัดสินเเล้ว โดยเรื่องนี้ถือว่าน่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้คนมาอย่างช้านาน
- คอยควบคุมให้สังคมมีระบบระเบียบรวมถึงตัดสินผู้กระทำผิดอีกด้วย บทความนี้จะมาเเนะนำให้เห็นถึงอนาคตของนักกฎหมายที่จะเจอ Big Data, Online Courts, and Legal Tech เข้ามาเปลี่ยนเเปลง
ภาพจาก : shutterstock
💥 ปัญหาใหญ่ที่นักกฎหมายต้องเจออย่างเเรกคือ Demand ของการที่ลูกค้าจะใช้บริการทางกฎหมายที่มีเเนวโน้มในการจ้างงานที่ราคาถูก
มีความสะดวกรวดเร็ว เเละ สามารถทำงานได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (online) เเละในยุคนี้งานด้านกฎหมายบางอย่าง AI ก็สามารถทำเเทนคนได้เเล้วโดยเฉพาะงานเกี่ยวกับข้อพิพาทที่มักมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานมีประสิทธิภาพกว่ามนุษย์หลายเท่ามาก รวมทั้งมันยังคาดการณ์ผลลัพธ์ของข้อพิพาทได้อีกด้วย
💥 อย่างที่สองคือการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เเม้เรื่องนี้จะดูเหมือนว่าทุกคนสามารถได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมายเเละมีสิทธิเสรีภาพในบทบาทหน้าที่ของตน
เเต่ในความเป็นจริงเเล้วมีคนเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้าถึงกระบวนการนี้ได้จริง เพราะมันต้องใช้ทั้งความรู้ เวลา เเละ เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้
ภาพจาก : www.tech4law.co.za
ภาพจาก : https://investcee.hu/legal-big-data-practical-
- เทคโนโลยีทางกฎหมาย เป็นการใช้ AI ในการคิดคำนวณ เเละ ทำงานที่มีความซ้ำซ้อน ซึ่งมนุษย์อาจทำผิดพลาดได้
- นอกจากนี้ยังมีการนำ Big Data เข้ามามีส่วนช่วยในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ (อย่างเช่นข้อมูลพฤติกรรมส่วนบุคคล, demographics ของบุคคลากรในเมือง, การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วจากทุกหนทุกเเห่ง) ด้วยสิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้เกิด Online Courts ขึ้นมา โดยเเบ่งได้เป็น 2 Generation ด้วยกัน
1. รุ่นแรกเป็นความคิดที่ว่าคนที่ใช้ระบบศาลโดยส่งหลักฐานและข้อโต้แย้งไปยังผู้พิพากษาผ่านระบบออนไลน์ เเละสถานที่ตัดสินไม่จำเป็นว่าต้องไปห้องพิจารณาคดี สามารถตัดสินบนโลกออนไลน์ได้ เพราะคดีเองก็มีหลากหลายรูปแบบเเล้วเช่นกัน
2.การคาดการณ์ผลลัพธ์หรือคำตัดสินของศาลเพื่อช่วยลดขั้นตอนของทนายความ เเละ เพิ่มความเร็วของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ Data analytics and Prediction จาก Big Data
ภาพจาก : https://www.doncaprio.com/the-pros-
*** นักกฎหมายนั้นอาจถูก AI เข้ามาทำงานเเทนที่ได้เเต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะระบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นยังสามารถทำได้เเค่คดีความทั่วไปที่ไม่ซับซ้อนมากนัก มันยังมีอุปสรรคอีกมากมายที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถตัดสินเเทนมนุษย์ได้ เเต่ก็เป็นข้อเตือนใจให้คนที่ประกอบอาชีพด้านนี้ต้องพัฒนาตัวเองให้มากยิ่งขึ้นอย่างเเน่นอน ***
‼️ เพิ่มเติม สำหรับในไทยศาลแพ่ง ก็มีการปรับตัวแล้วครับ ( E-Court )
ปัจจุบันศาลแพ่งได้เปิดให้บริการระบบ Mini e-Court เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าการยื่นคำฟ้องทางออนไลน์จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพราะปัจจุบันทุกภาคส่วน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของบริษัทฯ ได้พิสูจน์ให้เห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์แล้วในการพัฒนา ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ตามมาตราฐานสากล มีความปลอดภัยสูง
และมุ่งมั่นช่วยเหลือทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลส่วนความร่วมมือในอนาคตกับศาลแพ่ง จะพัฒนาระบบเพื่อขยายการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”
ข้อมูลจาก : ThaiQuote

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา