18 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอย 'สัญญาปางหลวง'ชนวนเหตุแห่งสงครามระหว่างเมียนมาและชนกลุ่มน้อยที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ตัดสินใจมอบอิสรภาพให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกที่เคยเป็นอาณานิคม โดยหนึ่งในนั้นก็มีประเทศเมียนมา ที่ได้มีการทำข้อตกลงสัญญาหลวงระหว่างตัวแทนของเมียนมาและชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ในรัฐฉานขึ้นมา
WIKIPEDIA PD
โดยก่อนหน้านั้น นายคลีเมนต์ แอตลี นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้เชิญนายพลอองซานไปเจรจาเพื่อหาทางมอบเอกราชคืนให้เมียนมาและจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายนของปีนั้น นายพลอองซานได้ตอบตกลงและเชิญผู้แทนจากชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศอย่าง ไทใหญ่ คะฉิ่น ชิน เข้าประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยชนกลุ่มน้อยจะต้องอยู่ร่วมกับเมียนมาเป็นเวลา 10 ปี กอ่นที่จะแยกตัวไปเป็นรัฐอิสระ
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ภายหลังนายพลอองซานชนะการเลือกตั้ง และได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ นายพลอองซานได้ทำตามที่สัญญากับชนกลุ่มน้อยด้วยการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยืนยันถึงคำมั่นสัญญาว่าจะมอบเอกราชให้ชนเผ่าต่าง ๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้
1
WIKIPEDIA PD
ทว่าจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 1947 ขณะที่กำลังมีการประชุมกันของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชั่วคราวของเมียนมา ได้มีกลุ่มติดอาวุธบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาและกราดยิงใส่บุคคลสำคัญในที่ประชุมจนมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 8 คน โดยหนึ่งในนั้นมีนายพลอองซานรวมอยู่ด้วย ภายหลังทางการอังกฤษและเมียนมาได้ติดตามตัวผู้ก่อเหตุ พบว่าเป็นนายอูซอ อดีตนายกรัฐมนตรีของเมียนมาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของ 30 สหายกู้ชาติ ที่เคยต่อสู้ร่วมกันนายพลอองซานเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
กล่าวกันว่าอูซอเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ทะเยอทะยาน เขาไม่ต้องการให้นายพลอองซานที่เป็นเด็กรุ่นหลังโดดเด่นเกินไป เขาจึงวางแผนลอบสังหารนายพลอองซานเสีย ด้วยความหวังว่าเขาจะก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่แทนนายพลอองซาน แต่ภายหลังเขาได้ถูกตัดสินประหารชีวิต พร้อมกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา เมื่อชนกลุ่มน้อยเริ่มทวงถามสัญญาที่นายพลอองซานเคยให้ไว้ อูนุ นายกรัฐมนตรีของคนแรกของประเทศเมียนมา (ในฐานะที่เป็นรัฐเอกราช) ที่ก้าวขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งแทนนายพลอองซานที่ถูกลอบสังหาร ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่าชนกลุ่มน้อยจะต้องเข้าร่วมกับประเทศเมียนมาก่อนเป็นเวลา 10 ปี ถึงจะถอนตัวได้ และต้องมีการโหวตในสภาได้เสียงข้างมากจำนวน 2 ในสามเสียก่อน
1
WIKIPEDIA PD
รัฐไทใหญ่ได้ทำตามที่ตกลงกันไว้ ก่อนใช้สิทธิถอนตัวตามรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนมกราคม 1958 ก่อนที่ฝ่ายเมียนมาจะผิดสัญญาด้วยการส่งกองทัพเข้ามาแทรกซึมเพื่อก่อกวน จนทำให้ฝ่ายไทใหญ่มีความพยายามเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนให้มีความทัดเทียมกับชาวเมียนมาและเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ ก่อนที่นายพลเนวินจะก่อรัฐประหารในปี 1962 พร้อมกับประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ และทำการปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่คิดต่อต้านอย่างรุนแรง และกลายเป็นสงครามระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมากับชนกลุ่มน้อยไทใหญ่และกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมายที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้จนถึงวันนี้
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นับเป็นเวลากว่า 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่สัญญาปางหลวงได้อุบัติขึ้น ด้วยความหวังว่าจะเกิดเสรีภาพและสันติสุขในพุกามประเทศ แต่ทว่ามันกลับไม่เป็นเช่นนั้น ชนกลุ่มน้อยในเมียนมายังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชที่ตนเองสูญเสียไปกลับคืนมาต่อไป
1
WIKIPEDIA PD
โฆษณา