19 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • ความคิดเห็น
ฤา จีนกำลังเดินตามเหยียบเงาอเมริกา : ตอนจบ การปรับปรุงกำลังรบทางเรือ ทางอากาศ และทางยุทธศาสตร์
*บทความนี้โพสลงในเฟสบุ๊คส่วนตัวของผู้เขียนเองเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2018*
ความเดิมตอนที่แล้วผู้เขียนได้ตั้งคำถามจากเป้าประสงค์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ต้องการให้กองทัพปลดปล่อยฯ สามารถเอาชนะใน
Informatized Local War และสามารถปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของจีนได้ในทุกแห่งหน
อันนำมาสู่การปฏิรูปโครงสร้างกองทัพครั้งประวัติศาสตร์
การปรับปรุงโครงสร้างเหล่านี้สะท้อนภาพของการเดินตามความสำเร็จและหลักนิยมของอเมริกา
ผู้เขียนเองได้วิเคราะห์และอธิบายไปแล้วในภาพของการปรับโครงสร้างส่วนบนและขีดความสามารถของกองทัพบก ในตอนนี้ผู้เขียนจะฉายภาพของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ กองทัพจรวด กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ และกองทัพส่งกำลังบำรุงร่วม ต่อไป
ความมุ่งหมายของจีนที่ผู้เขียนกล่าวย้ำบ่อยครั้ง คือการปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของจีนได้ในทุกมุมโลก ยิ่งในปัจจุบันเราเห็นแล้วว่า จีนมีปัญหาข้อพิพาทในหมู่เกาะต่างๆ ทั้งฝั่งทะเลตะวันออก เกาะเซนกากุ และทะเลจีนใต้
เห็นภาพได้ชัดเจนว่าพื้นที่นอกแผ่นดินใหญ่เหล่านั้นเป็นผลประโยชน์แห่ง
ชาติของจีนอย่างไม่ต้องสงสัย ยังไม่นับกรณีของไต้หวัน และภัยคุกคามจาก พันธมิตรของสหรัฐอเมริกา อย่างญี่ปุ่นและเกาหลี กำลังทางน้ำและอากาศจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของจีนในอนาคตและเป็น Key สำคัญในการปฏิรูปกองทัพในครั้งนี้เช่นกัน
เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะพบว่ากำลังทางน้ำและกำลังทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถประสบความสำเร็จทั้งในสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรัก และอัฟกานิสถาน
เพราะทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถส่งกำลังรบออกไปยังพื้นที่ที่ตนต้องการและครองอากาศได้จนสร้างความได้เปรียบในการปฏิบัติการ ทั้งหมดทั้งมวลจึงชัดเจนในตัวเองว่า แนวทางในการปฏิรูปกำลังทางน้ำและอากาศของจีน คือ Lesson Learn จากสหรัฐอเมริกา
การปฏิรูปกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ประเด็นสำคัญอีกจุดหนึ่งที่เราเห็นคือ การออกจากหลักนิยมเดิมด้วยการลดอำนาจหรือลดขนาดกำลังทางภาคพื้นดินหรือกองทัพบกลง และเพิ่มความสามารถของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ และทำการแยกระบการยิงสนับสนุนระดับยุทธศาสตร์ออกเป็น กองทัพจรวด แล้วเน้นไปที่การสร้างองค์กรในการปฏิบัติการรบร่วมขึ้นมาเพื่อการควบคุมบังคับบัญชานั่นเอง
ปัจจุบันกองทัพเรือของจีนเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
เมื่อวัดด้วยจำนวนเรือ ที่มีมากกว่า 300ลำ การปฏิรูปโครงสร้างกำลังของ
กองทัพเรือ ในด้านขีดความสามารถเพื่อรองรับความสพำคัญที่เพิ่มขึ้นของ
การปฏิบัติการทางทะเล
กองทัพเรือจีนต้องสามารถปฏิบัติการได้ไกลขึ้นจากแผ่นดินใหญ่ ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายมิติบทบาท สามารถดำรงสภาพได้ด้วยการป้องกันตนเอง
ในการปรับปรุงโครงสร้างจึงเน้นไปที่ การแปiสภาพหน่วยกองเรือต่างๆไปสู่การเป็นหน่วยปฏิบัติการตามฐานทัพเรือ มากขึ้นคล้ายกับกองทัพอากาศที่จะได้กล่าวต่อไป จุดสำคัญที่เห็นได้ อย่างแรกคือ การขยายขนาดนาวิกโยธิน
นาวิกโยธิน
ความสำคัญของนาวิกโยธินคือ การเป็นกำลังรบทางบกของกองทัพเรือซึ่ง
ทำให้เกิดขีดความสามารถในการปฏิบัติการในทะเล และชายฝั่งได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องการการส่งกำลังบำรุงมากนัก
ใช้ทะเลเป็นทั้งเส้นทางในการเคลื่อนย้าย ส่งกำลัง และ
ฐานปฏิบัติการสำหรับปฏิบัติภารกิจ
สหรัฐอเมริกาถือว่านาวิกโยธินมีความสำคัญมากในการ
Power Projection และเมื่อรวมกับ กองทัพเรือ จะกลายเป็น
Naval Expenditure Force ที่ออกปฏิบัติภารกิจได้ทั่วโลก จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือและนาวิกโยธิน คือเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติภารกิจทางทะเล
เป็นการขยายระยะและเป็นกองกำลังชุดแรกที่จะส่งกำลังและบุกตะลุยเข้าไปปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ที่ต้องการ
สิ่งที่จีนกำลังปรับปรุงกำลังนาวิกโยธินนั้นเห็นได้เลยว่า จีน มองการส่งกำลังรบไปนอกประเทศและการจัดการปัญหาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาตินั้นสำคัญตามวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวไป
โดยมุ้งเน้นการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกและการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่พิพาท
ทะเลจีนใต้เป็นหลัก เดิมนาวิกโยธินแห่งราชนาวีจีน มีกำลังพลประมาณ
10,000 นาย จัดเป็น 2 กองพลน้อย (Brigrade) โดยมีแผนที่จะเพิ่มเติมกำลังเป็น 30000 นาย 7 กองพลน้อย ในปี 2020
และยังชัดเจนในเป้าหมายที่จะต้องสามารถ เป็นกำลังรบโพ้นทะเล
Expeditionary Force ที่จะปฏิบัติภารกิจโพ้นทะเลบนแผ่นดินรัฐอื่นให้ได้
ซึ่งสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของกองทัพเรือและนาวิกโยธิน
ของตนเอง ทำให้จีนถึงกับต้องเดินตาม
ปัจจุบัน จีนได้จัดตั้งฐานทัพนอกประเทศแห่งแรกแล้ว ณ ประเทศจีบูติ และมีการตั้ง PLANMC พร้อมผู้บัญชาการเป็นของตัวเองแม้จะยังอยู่ภายใต้กองทัพเรือ (เหมือนสหรัฐอเมริกาแต่ของอเมริกาแยกจากกองทัพเรือ) แต่ ย่างก้าวนี้ช่างสำคัญยิ่งนัก
นาวิกโยธินจีน
การปรับปรุงกำลังกองทัพเรือ
ส่วนกำลังรบทางเรือของกองทัพเรือจีน แบ่งออกเป็น เรือดำน้ำ เรือผิวน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบินและ เรือยกพลขึ้นบก ซึ่งการพัฒนาในกองเรือเหล่านี้มุ่งไปที่การพัฒนายุทโธปกรณ์ ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ โดยเฉพาะการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ปัจจุบันทดลองใช้งาน ลำ และกำลังจะพัฒนาเพิ่มเติมอีกในอนาคต ซึ่งในประสบการณ์ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า
เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน
ในการปฏิบัติภารกิจของสหรัฐอเมริกา เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นฐานปฏิบัติการที่เพิ่มระยะในการปฏิบัติการ และทำให้การ Power Projection
ประสบความสำเร็จ
กองทัพอากาศ : “strategic” air force
รายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ key ของการปรับปรุงกองทัพอากาศให้ทันสมัยนั้น คือการมีขีดความสามารถทางยุทธศาสตร์ที่สามารถ
Power Projectionในระยะไกล ทั้งนี้เป็นการไล่ตามเพื่อขยับระยะห่าง
ระหว่างจีนกับสหรัฐให้แคบลงในเรื่องของขีดความสามารถในทุกๆด้าน
และความได้เปรียบทางเทคนิคของสหรัฐที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้ก
ารพัฒนาทั้งเครื่องบิน และอากาศยานไร้นักบินหลากหลายระยะและรูปแบบ
ในเชิงโครงสร้างการจัด กองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ดำเนินการยุบกองพลบิน แล้วนำหน่วยบินต่างๆไปจัดผสมอยู่ในกองพลน้อยบิน และจัดวางกำลังทางอากาศและฐานทัพอากาศใหม่
PLA Rocket Force : Strategic Deterrence Capability
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน แปรสภาพหน่วย 2nd Artillery Corps
มาเป็นกองทัพจรวด โดยเหล่าทัพนี้รับผิดชอบจรวด ขีปนาวุธระดับ
ยุทธศาสตร์ รวมไปถึงอาวุธนิวเคลียร์ ด้วย
ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ได้เร่งให้การพัฒนา PLARF ให้พัฒนาเร็วขึ้น จนสามารถที่จะทะลุขีดจำกัดที่เคยมีไปยังขีดความสามารถในการป้องปรามทางยุทธศาสตร์ Strategic Deterrence Capability
การป้องปรามคืออะไร การป้องปรามคือการที่รัฐใดรัฐนึงจะ “ขู่” หรือบังคับ ให้อีกรัฐนึงทำหรือไม่ทำสิ่งใดๆก็ตาม ทั้งนี้โดยอาจจะให้เห็นว่าอาจเกิดการลงโทษ ถ้าทำหรือไม่ทำในสิ่งเหล่านั้น
ยุคสงครามเย็นที่มีการแข่งขันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ ก็มีแนวนโยบายของการ Nuclear Deterrence คือป้องปรามกันด้วยนิวเคลียร์ ขู่ กันด้วยจะยิงนิวเคลียร์นั่นแหละ แต่จนในที่สุด ผู้เล่นทุกตัวมีนิวเคลียร์กันหมด
ก็เลยเกิดเป็น Argument ขึ้นมาว่า Nuclear Deterrence มันไม่ได้ผลแล้ว แต่ผมเห็นแย้งกับข้อเสนอนี้นะครับ ไว้มีโอกาสจะมาว่ากัน
ในกรณีของกองทัพจรวด โดยผิวเผินอาจจะไม่ใช่การเดินตามสหรัฐอเมริกาซะทีเดียว เพราะเมื่อลงไปดูในรายละเอียดแล้วนั้นจะพบว่า
จีนต้องการพัฒนาขีดความสามารถให้ จรวดของตนสามารถทะลุผ่านเครือข่ายการป้องกันขีปนาวุธให้ได้ ซึ่งเครือข่ายที่ว่าในโลกนี้มีอย่างครอบคลุม
แสนยานุภาพกองทัพจรวด กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
เป็นของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเครือข่ายที่ว่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการป้อง
ปรามของสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
จากการวิเคราะห์จะพบว่าที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา มีเครื่องมือในการป้องปรามทางยุทธศาสตร์อันได้แก่ การ Power Projection ขีดความสามารถที่ล้ำ หน้าของอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น จรวดและขีปนาวุธแบบต่าง และอย่างสุด
ท้ายคือ Anti Ballistic Missile Network สหรัฐใช้ในการป้องปรามเพื่อธำรงซึ่งระเบียบโลกที่ตัวเองสร้างไว้อย่างได้ผล
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก สหรัฐอเมริกาวาางกองกำลังทหารไว้ทั้งใน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงกองบัญชาการภาคพื้นอินโดแปซิฟิกที่ฮาวาย และเครือข่ายระบบป้องกันขีปนาวุธ เช่น THAAD ในเกาหลีใต้ AEGIS-Ashore และ AN/TPY2 ในญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้ เป็นการป้องปรามของสหรัฐต่อทั้งจีนแบละเกาหลีและเป็นการสกัดกั้นจีนด้วยนั่นเอง
ฉะนั้นแล้ว การเพิ่มขีดความสามารถในด้านของขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์
เพื่อการเป็น Strategic Deterrence Capability ของจีนนั้น
นัยยะ หนึ่งคือการเดินตามสิ่งที่อเมริกามีและใช้ในการป้องปรามเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของตนเอง ในเรื่องของขีดความสามารถในขีปนาวุธต่างๆที่ใช้อย่างได้ผล
และอีกนัยยะหนึ่งเป็นความพยายามที่จะตอบโต้หรือหลุดพ้น
จากการป้องปรามของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค และ
การ Containment ต่อจีน
บทความในตอนที่สองนี้ผู้เขียนคงจบไว้เท่านี้ไม่กล่าวต่อในส่วนของ
Stategic Support Force อนึ่งในบทความนี้วิเคราะบน Annual Report ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพียงแหล่งเดียว ยังมิได้นำบทความหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆมาประกอบ จึงควรมิการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดถนัดขึ้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา