22 พ.ค. 2020 เวลา 04:11 • ธุรกิจ
สบาย ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ 3 สิ่ง "เงิน หยวนดิจิตอล โลกการเงิน"
แต่รู้แค่ว่ามี 3 สิ่ง อะไรที่ในอดีตไม่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้
หรือเกิดแล้วมักเจอกับ "ผลกระทบที่คาดไม่ถึง" ในการเงินระหว่างประเทศ
จะ "เล่า" อะไรกับการเงินที่มันยากและเครียด แต่มันสนุกแน่ถ้า "เล่า" ผ่านบทสนทนาระหว่าง เด็ก, นักธุรกิจ และ นักเศรษฐศาสตร์
เด็ก: พี่ๆ รู้จัก "หยวนดิจิตอล" อะไรไหมฮะ ผมเห็นตามข่าว ตามเน็ตมาสักพักแล้ว มันคืออะไรหรอ เขาหมายถึงเงินใน "เกมออนไลน์" ที่ผมเล่นป่ะ
นักธุรกิจ: เกมออนไลน์อะไร นี้เขาใช้กันจริงจังเลยนะรู้ไหม
เด็ก: อะไรครับ จริงจังอะไร
นักธุรกิจ: นี่ "หยวนดิจิตอล" นะ เขาจะใช้แทนเงินสด หรือ "แบงค์" แล้วนะ ที่จีนเขาจ่ายเงินเดือนพนักงานด้วย "หยวนดิจิตอล" ในเมืองๆนึงกันเลย
เด็ก: แล้วมันไงฮะ
นักธุรกิจ: เอ้า มันจะสะดวกขึ้นนะสิ
เด็ก: ก็ดีแล้วนิฮะ แล้วมันต้องออกข่าวกันทำไม
นักธุรกิจ: เอาละ ฟังนะ "น้อง" "หยวนดิจิตอล" นะ เป็นการนำร่องของระบบการเงินโลกที่แทบจะไม่เคยมี หรือเกิดขึ้นมาก่อนเลย
เด็ก: จริงหรอครับ??
นักเศรษฐศาตร์: เอาเถอะๆ "น้อง" มันยังเด็กอยู่ ทำยังไงก็คงไม่เข้าใจหรอก
นักธุรกิจ: เฮ้ออ เด็กสมัยนี้ ใจร้อนกันจริงๆ
เอาละ ผมพอติดตามข่าวเรื่องเงินหยวนดิจิตอลมาบ้างแล้วละ คุณพอจะมีมุมมองอะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้บ้างไหม
นักเศรษฐศาสตร์: ถ้าจะถามมุมมองในอนาคตจะเป็นอย่างไร อันนี้ผมว่าเรารอดูกันสักพัก แต่เรามาคุยเรื่องนี้ก็น่าสนใจดีนะครับ
มันคือ 3 สิ่งที่ "การเงิน" ในอดีตอย่าทำให้มันเกิดขึ้นทั้งหมด เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักพบกับ "ผลกระทบที่คาดไม่ถึง" ตามมา
เด็ก: อะไรของพี่ๆ เนี่ย เดียวก็ "เงิน" เดียวก็ "หยวนดิจิตอล" และนี่มาอีก "ผลกระทบที่คาดไม่ถึง" วุ่นวายจริงๆ ขอดูอะไรง่ายๆ หน่อยสิครับ
source: The Economist explains
นักเศรษฐศาสตร์: ได้สิไอ้ "น้อง" มาเริ่มกันที่ 3 เหลี่ยมด้านบนนี้กันเลย
มันคือระบบการเงินระหว่างประเทศที่เขาว่ากันว่าต้องเลือกด้านใด ด้านนึงของ สามเหลี่ยมนี้เท่านั้น ถ้าขัด มันจะเกิด "ผลกระทบที่ร้ายแรง" ตามมา ซึ่งเคยพบเจอในอดีตเป็นตัวอย่างมาบ้างแล้ว [อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนะครับ-มันคือการอธิบายการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งที่ "ฝืน" ทำด้านที่ 3 ของ สามเหลี่ยมนี้]
[กลุ่มแรก (A)]: ลองสังเกตดูนะครับ ส่วนไอ้ "น้อง" ก็รู้ไว้ซะ
ไม่ว่าเราจะไปประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี หรือประเทศอื่นที่อยู่ในสหภาพยุโรป เราจะใช้เงินยูโร เพียงค่าเดียว
แต่ประเทศทั้งหมดนี้จะ "ต้องยอม" สละสิ่งหนึ่ง นั่นคือ "นโยบายการเงินที่อิสระ (Monetary (Policy) Autonomy)
จะสังเกตเห็นว่าเวลาจะปรับดอกเบี้ยแต่ละที ประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมดจะต้องไปรอฟัง "ธนาคารกลางยุโรป" แต่สิ่งที่ [กลุ่มแรก] มีคือ
"มีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ระหว่างกัน (Exchange Rate Management) และมีการเคลื่อนไหวเงินโดยเสรี (Free Capital Mobility)"
เด็ก: ศัพท์ยากจังงง พี่ๆ จะบอกว่าถ้าผมมีเงิน 1 ยูโร ติดตัว ผมไปประเทศฝรั่งเศล ผมใช้ "เงิน" 1 ยูโร
ผมไป เยอรมัน ผมก็ใช้เงิน 1 ยูโร นี้ซื้อของได้
และพี่จะบอกว่าราคาสิ่งของที่เหมือนกันก็จะได้ราคาพอๆ กัน ผมเข้าใจถูกไหมครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เก่งนิ ประมาณนั้นแหละ "น้อง" งั้นพี่ถาม แล้ว [กลุ่มสอง (B)] ละ
เด็ก: นโยบายเป็นอิสระ "เงิน" ก็อิสระ ตรงข้ามมันก็คืออัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ทีนี้ต้องกลับ มันก็กลายเป็นต้อง ไม่คงที่
นักธุรกิจ: ถูกต้อง ที่เราพูดนะมันคือระบบการเงินที่ประเทศไทยใช้อยู่ และประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ก็อยู่ใน [กลุ่มสอง] นี้ด้วย เราก็เลยมักจะเห็นว่า บางครั้ง เงินบาทอ่อนตัว เงินบาทแข็งตัว เทียบกับสกุลตัวโน้น ตัวนี้ เช่น ดอลลาร์(สหรัฐ) เยน(ญี่ปุ่น) เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์: และ [กลุ่มสาม (C)] กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่มี
นโยบายการเงินเป็นของตัวเอง กำหนดค่าเงินด้วยตนเอง
แต่นั้นก็ต้องมีการควบคุมการไหลของเงิน
ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ "ประเทศจีน"
เด็ก: แล้วมันยังไงฮะ
นักเศรษฐศาสตร์: นึกกลับไปตอนต้น ที่เราพูดถึงตัว "หยวนดิจิตอล" สิ
"หยวนดิจิตอล" เกิดขึ้นโดยธนาคารกลางของจีน แน่นอนจะต้องมีการดำเนินตามแบบ [กลุ่มที่สาม (C)] ที่ "เล่า" กันก่อนหน้า แล้วคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นละ
นักธุรกิจ: โอโห้ ผมเริ่มเห็นภาพอะไรบ้างอย่างเลย ถ้าเป็น "เงิน" ที่อยู่ในรูป "หยวนดิจิตอล" นี้มัน... มันมีโอกาสทำได้หมดเลยนี่นา
นโยบายการเงิน -> ธนาคารกลางเองก็เป็นผู้กำหนด
ค่าเงิน -> ธนาคารกลางก็สามารถกำหนดได้
แถม มันก็อาจจะควบคุมการไหลได้ ผ่านตัว "รหัสอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกตั้งขึ้นในแต่ละตัวของ "หยวนดิจิตอล" และบันทึกอยู่ในศูนย์กลางการเก็บข้อมูล" ไม่ให้เกิดการคัดลอกได้
นี่มันเป็นไปได้หมดเลยนี่นา ผมเข้าใจถูกไหมครับ
นักเศรษฐศาสตร์: อาจจะใช่ครับ มองเผินๆ มันมีความเป็นไปได้สูงทีเดียวอย่างที่คุณว่า สิ่งที่น่ากังวลตรงนี้คือ ถ้ามันถูกใช้ข้ามประเทศละครับ
"หยวนดิจิตอล" ใช้จ่ายในประเทศไทย เป็นไปได้ที่ข้อมูลต่างๆ จะถูกนำกลับไปที่ประเทศจีน ซึ่งแสดงว่าจีนสามารถมอง และควบคุมเงินทั้งโลกได้เลย
อย่างเช่น ประเทศจีนจะรู้ว่าคนจีนชอบซื้อทุเรียนในประเทศไทย เงินไหลไปยังสวนทุเรียนของใคร ดีไม่ดีนักลงทุนจีนก็จะแห่มาขอลงทุน หรือซื้อกิจการสวนทุเรียนในไทย ทีนี้รายได้ที่เข้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร เอาละ ผมว่าถึงตรงนี้เรามาติดตามกันดูครับ ว่า "หยวนดิจิตอล" จะผ่านด้านทั้ง 3 นี้ได้หรือเปล่า
1) คนในประเทศจะยอมไหม
และอีกอย่าง 2) ถ้าเป็นแบบนี้เราจะยอมไหมที่จะหลุดออกจากกลุ่มการเงิน [แบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง]
หรือไม่แล้วตรงกลางละคืออะไร
ที่ท้าทายอีกอย่างนึงก็คือ 3) ปัจจุบันประเทศจีนต้องทำการตรวจสอบที่มาของเงินทุกครั้งก่อนที่มันจะออกนอกประเทศ โดยปกติเขาใช้เวลาตรวจสอบ และตัดสินใจกันอย่างน้อย 3 ถึง 7 วันเลย
ดังนั้นการเกิดขึ้นของตัว "หยวนดิจิตอล" จะเป็นการช่วยปลดล็อคการตรวจสอบที่รวดเร็วขึ้นได้หรือไม่ ถ้าทำได้ "หยวนดิจิตอล" นี้ก็สามารถไหลเป็นอิสระใช้แทนเป็น "เงิน" หรือ "ตัวแทนการแลกเปลี่ยน" ของโลกได้เลย
ซึ่งมันจะขัดกับด้านสุดท้ายที่ ห้ามไม่ให้เงินไหลเป็นอิสระ ที่เรากำลัง "เล่า" กันตอนต้น และหลังจากนั้นมันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่ควบคุมการไหลของ "เงิน" เลย
ที่น่าคิดสุดท้ายคือ ทุกวันนี้ระบบการเงินโลกอาจ "กำลังทำการสร้างหนี้ให้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" อย่างที่ได้เห็นข่าว FED ปั๊ม "เงินดอลลาร์" อุ้มหุ้นกู้ต่างๆ
ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป "ความเป็นอิสระ" คงลดลงอีกมาก
เด็ก: งงตึบ พี่ๆ พูดไรกัน วุ่นวายจัง
นักธุรกิจ: ฮ่าๆ "น้อง" ยังเด็กอยู่คงไม่เข้าใจหรอก
นักเศรษฐศาสตร์: อย่าไปดุ "น้องเขาเลย"
เด็ก: งั้นผมขอ "ตังค์" ซื้อ "บัตรทรู" หน่อยได้ป่ะ
นักเศรษฐศาสตร์: ฮั่นแน่ จะเอาไปใช้ในร้านเกมอีกแล้วละสิ
ไม่แน่นะครับ เด็กสมัยใหม่อาจใช้ หรืออยู่ในระบบเงินพวกนี้อยู่แล้ว แถมอาจจะคุ้นชินกับมัน ก่อนที่เราจะรู้จักมันเสียอีก อย่างเช่น
การเติมเงินเข้าระบบเกมออนไลน์ แลกเปลี่ยนซื้อของกันในเกมออนไลน์ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเงินที่เติมไปอีกทีนึง
หรือที่จริงแล้วผู้ใหญ่เองต่างหากที่ต้องปรับตัวให้ทันตามเด็ก บางทีเด็กๆ เหล่านี้อาจเข้าใจ และกำลังสร้างระบบการเงินในอนาคตอยู่ โดยที่พวกเราไม่รู้ตัวก็ได้
สงสัยอาจต้องขอไปนั่งฟังบทสนทนา และการ "เล่า" ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง "เด็ก" ซะหน่อยแล้ว
References:
- [สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ ฝืน ทำทั้ง 3 ข้อ] https://www.longtunman.com/1156
- [ติดตามตัวอย่างการ "เล่า" FED ปั๊มเงินได้ ในนาทีที่ 14:33] https://www.youtube.com/watch?v=FBn18i-rlzc&t=1680s

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา