Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจาะเวลาหาอดีต
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2020 เวลา 12:42
ตอนที่ 1 พระเยาว์
เมื่อนานมาแล้ว มีเจ้าชายหนุ่มพระองค์หนึ่งจากสยาม ทรงนำทหารในบังคับบัญชาบุกขึ้นบกทำการรบที่เกาะครีต (Crete) ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 17 ปี
ทรงดำรงพระชนม์ชีพท่ามกลางศพ ในสภาพอากาศที่เหน็บหนาว อดพระกายาหารป็นเวลาที่ยาวนาน ทรงจับหอยทากเสวยกับหัวหอม เพื่อประทังพระชมม์ชีพในครั้งนั้น
นี่คือเรื่องราวของเจ้าชายแห่งสยามผู้หนึ่ง ผู้ยอมจากบ้านจากเมืองไปตั้งแต่พระชันษาเพียง 13 ปี เพื่อยกระดับประเทศให้ทันสมัยและเพื่อป้องกันราชอาณาจักรจากมหาอำนาจในการล่าอาณานิคมทางทะเล จนมาถึงการยกระดับราชนาวีไทยสู่สากล
3
วีรกรรมดั่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นของพระองค์ใดไม่ได้ นอกจาก พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ที่หลายท่านไม่ทราบ
จนเป็นที่มาของสาเหตุ ทำไมคนทั่วไปจึงยกให้ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เปรียบพระองค์ดั่งสิ่งศักสิทธิ์ ดั่งองค์พระบิดา องค์พ่อ องค์เสด็จเตี่ย หรือดั่งเทพเจ้า บทความนี้มีคำตอบไว้ให้ครับ
3
จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 สร้างความข่มขื่นให้แก่สยามและล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ขณะเดียวกับที่ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ยังทรงพระเยาว์ ดำรงพระอิสริยยศ พระองค์เจ้าอาภากรฯ
วิกฤติการณ์ ร.ศ.112 : https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_871
เรือรบฝรั่งเศสละเมิดสนธิสัญญาล่วงล้ำเข้ามาในน่านนำ้สยาม เกิดการปะทะกับป้อมปืนสยามที่ปากน้ำ จากเหตุการณ์นี้ทำให้สยามต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และต้องชดใช้เงินให้แก่ฝรั่งเศสถึง 3 ล้านฟรังก์
เงินถุงแดงของ ร.3 ที่นำมาใช้ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 : http://tnews.teenee.com/etc/138941.html
เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นความเจ็บแค้นที่ฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกและความทรงจำของชาวสยามทุกคน โดยเฉพาะพระองค์เจ้าอาภากรฯ เจ้าชายน้อยที่มีพระชันษา 13 ปี
ทรงเห็นความทุกข์ของพระราชบิดาอย่างแสนสาหัส รวมทั้งความคับแค้นพระทัยที่สยามไม่สามารถต่อสู้กับชาติมหาอำนาจได้จนถูกคุกคามทั้งกำลังและเล่ห์กลต่างๆ
พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงรับรู้ได้ว่าประการหนึ่งที่แพ้ต่อกองทัพเรือฝรั่งเศส คือ การขาดแคลนบุคลากรทางกองทัพเรือ รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย และอ่อนด้อยในยุทธวิธีการรบ
จนเกิดเป็นพระปณิธานที่แน่วแน่แรงกล้า ในการที่จะทำให้กองทัพเรือสยาม มีแสนยานุภาพ เกรียงไกร สามารถต่อสู้กับข้าศึกศัตรูได้ชัยชนะอย่างภาคภูมิ
1
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงส่งพระองค์เจ้าอาภากรณ์ฯ ในพระชันษาเพียง 13 ปี ไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นอังกฤษเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางกองทัพเรือดีที่สุดในขณะนั้น
ภาพเก่านักเรียนนายเรืออังกฤษ sea cadet (UK)
แต่การศึกษาตามปณิธานของเจ้าชายน้อย ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นนัก เนื่องจากทางรัฐบาลอังกฤษกำหนดผู้ที่จะเข้าศึกษาโรงเรียนนายเรือของทางรัฐบาลอังกฤษ จะต้องเป็นชาวอังกฤษเท่านั้น ชาวต่างชาติไม่สามารถเข้าเรียนได้เหตุเพราะเพื่อความมั่นคงของประเทศ
แต่อย่างไรแล้วเจ้าชายน้อยมิได้ทรงย่อท้อ ทรงหาสถานศึกษาอื่นที่มีความเชี่ยวชาญไม่แพ้โรงเรียนนายเรือของรัฐบาลอังกฤษ จึงทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารเรือที่โรงเรียน The Leines โดยเป็นโรงเรียนการทหารเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองกรีนิช (Greenwich)
รายงานของพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ พระอภิบาล บันทึกพัฒนาการทางวิชาการของพระองค์เจ้าอาภากรฯ ว่ามีพัฒนาทางภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้งวิชาการทางทหารเรือพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการกีฬา เช่น ฟุตบอล สามารถพัฒนาได้ในระดับชั้นยอดของโรงเรียนก็ว่าได้
เมื่อจบการศึกษาโรงเรียน The Leines ซึ่งสามารถเทียบเท่าในระดับนักเรียนนายเรืออังกฤษที่สำเร็จการฝึกและการศึกษาเบื้องต้น
1
พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเข้ารับการฝึกต่อเป็นนักเรียน ทำการนายเรือ (Midshipman) ในเรือรบอังกฤษชื่อเรือหลวงรีเวนจ์ที่ประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตามคำยินยอมของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชันษาเพียง 16 ปี
การฝึกฝนบนเรือต้องตรากตรำและลำบากมาก ทั้งต้องฝึกเผชิญเหตุการณ์จริง รวมทั้งการใช้ชีวิตอยู่บนเรืออย่างยาวนานจนทางพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ พระอภิบาล ติดต่อกับเจ้าชายได้เป็นการยากมาก
ต่อมาเหตุการณ์ที่ทำให้เจ้าชายน้อยทรงมีประสบการณ์ที่แตกต่างกับเจ้าชายองค์อื่นได้เกิดขึ้น เมื่อมีเหตุจลาจลเรียกร้องเอกราชของประเทศที่อยู่ในปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน
มหาอำนาจในยุโรปรวมทั้งอังกฤษพากันเข้าแทรกแซง ทหารอังกฤษประจำเกาะครีตถูกโจมตีจากพวกก่อจลาจล รัฐบาลอังกฤษจึงส่งกองเรือรบซึ่งมีเรือหลวงรีเวนจ์เข้าควบคุมสถานการณ์
1
เจ้าชายจากสยาม พระชันษาเพียง 17 ปี นำทหารในบังคับบัญชา บุกขึ้นบกบนเกาะครีต และการรบก็ดำเนินยาวนานถึงสามเดือน นับเป็นเจ้าชายองค์เดียวที่ได้รบจริงบนสงครามระดับสากล
พระองค์เจ้าอาภากรฯ ทรงเล่าประสบการณ์การรบครั้งนั้นว่า
"...ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย หนาวก็หนาว ในสนามรบต้องนอนกับศพที่ตายใหม่ๆ และบางคราว ซ้ำยังอดอาหาร ต้องจับหอยทากมาทอดเสวยกับหัวหอม ศพที่ถูกยิงที่ท้องนับว่าเหม็นร้ายกาจมาก ถึงจะเป็นศพตายใหม่ๆ ก็ตาม...”
แต่การรบครั้งนั้น มิได้ทำให้เจ้าชายทรงย่อท้อ กลับทำให้ยิ่งทวีความมุ่งมั่นที่จะนำพาสยามให้เจริญ
ติดตามตอนต่อไป.......
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
ขออภัยหากมีข้อมูลผิดพลาด
อ้างอิง:
หนังสือ: เจ้าฟ้า เจ้าชาย ในพระพุทธเจ้าหลวง โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย
หนังสือ: เสด็จเตี่ยออกศึก โดย พลเรือตรี กรีฑา พรรธนะแพทย์
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95
https://www.facebook.com/1783386451750811/photos/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95-crete%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AF-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-reve/2275137629242355/
https://books.google.co.th/books?id=WwdgDwAAQBAJ&pg=PA50&lpg=PA50&dq=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95&source=bl&ots=6e1t8tz1jo&sig=ACfU3U2ZeEvqHxHSFkPHGUtGcy0v_CxsCg&hl=th&sa=X&ved=2ahUKEwj-8KTzmMLpAhWikOYKHRRABvoQ6AEwAnoECAoQAQ#v=onepage&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95&f=false
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_871
https://books.google.co.th/books?id=WQdgDwAAQBAJ&pg=PT102&lpg=PT102&dq=the+leines+in+greenwich&source=bl&ots=yddwAf4rPW&sig=ACfU3U36CZbl_wl1B4BsxbERUusSIc0DtQ&hl=en&sa=X&ved=2ahUKEwivu72zosLpAhW8H7cAHVPTBZcQ6AEwAHoECAcQAQ#v=onepage&q=the%20leines%20in%20greenwich&f=false
27 บันทึก
212
52
38
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ ยุครัตนโกสินทร์
27
212
52
38
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย