30 เม.ย. 2020 เวลา 13:50 • ประวัติศาสตร์
ว่าด้วยเรื่อง "ธนาคารแห่งแรกของสยาม" แบบกระทัดรัด
กิจการธนาคารในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่ 5 แต่ในช่วงแรกนั้น จะมีเพียงธนาคารของชาวต่างประเทศทั้งหมดที่เข้ามาเริ่มก่อตั้ง เช่น ธนาคารฮ่องกง ธนาคารเซี่ยงไฮ้ ใน พศ.2431 และ ธนาคารอินโดจีน พ.ศ. 2439
ในต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติพระองค์แรก ทรงดำริทดลองตั้งสำนักงานขึ้นดำเนินกิจการแบบธนาคารทุกประการ
แต่ด้วยที่ยังไม่แน่พระทัยว่าจะมีคนนิยม จึงไม่ได้ใช้ชื่อว่าเป็นธนาคาร แต่ใช้ชื่อว่า
"บุคคลัภย์" คนไทยในขณะนั้นยังไม่รู้จักธนาคาร และสับสนคิดว่าบุคคลัภย์คือห้องสมุดประชาชน
บ้านหม้อ
Book Club ได้เปิดกิจการเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม รศ. 123 พศ. 2447 มีสำนักงานอยู่ที่ตึกมุมสี่แยกบ้านหม้อ
1
หลังจากดำเนินกิจการอยู่ปีเศษได้รับการตอนรับดี จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอจัดตั้งธนาคารโดยการขายหุ้น
ปรากฏว่ามีผู้ซื้อหุ้นตามจำนวนที่กำหนดไว้จนหมด จึงได้ดำเนินการขอจดทะเบียนต่อเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
โดยตั้งเป็นธนาคารรูปบริษัทจำกัดให้ชื่อว่า บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2449
ในปี พ.ศ. 2451 บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ได้ย้ายจากบ้านหม้อไปอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์
ซึ่งต่อมาได้ทำการปลี่ยนชื่อเป็น
"ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด"
เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2482
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ตลาดน้อย
ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ขึ้น กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและปริมาณเครดิตของประเทศ
โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพระองค์แรก
ทางด้านทางการไทย ธนาคารออมสิน กำเนิดขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มนำกิจการด้านการออมสินมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2450
โดยในช่วงแรกได้ทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงินขึ้นเรียกว่า "แบงก์ลีฟอเทีย" ณ พระตำหนักสวนจิตรลดาในบริเวณวังปารุสกวัน
วังปารุสกวัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ.2456 ขึ้นและประกาศใช้พระราชบัญญัติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พศ.2456 เป็นต้นมา
ที่ทำการคลังออมสินแห่งแรกได้เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการที่กรมพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข
และมีการเปิดธนาคารให้บริการในพื้นที่ทำการของไปรษณีย์โทรเลขบางแห่ง ส่วนภูมิภาคนอกพระนครได้เปิดทำการขึ้นที่คลังจังหวัดทุกจังหวัด
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ตลาดน้อย
จากนั้นเป็นต้นมากิจการธนาคารไทยก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจนมีอีกหลายธนาคาร
เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา