Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2020 เวลา 09:20 • การศึกษา
แจกคาถาป้องกันภัย (ท่องก่อนจรดปากกาเซ็นต์ชื่อ)
1. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ถ้ายังไม่รู้ว่าต้องเซ็นต์ไปทำไม
- การเซ็นต์ชื่อลงในเอกสารใด ๆ ก็ตาม ผู้เซ็นต์จะต้องรู้ถึงวัตถุประสงค์เสียก่อนว่าเซ็นต์ไปเพื่ออะไร หรือเป็นเรื่องอะไร หรือจะต้องผูกพันอย่างไร เพราะการยอมเซ็นต์ชื่อนั้นเท่ากับว่ายอมผูกพันในเรื่องนั้นแล้ว
2. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ถ้ายังไม่ได้อ่านเนื้อหา
- อย่าเชื่อในสิ่งที่คนอื่นบอก (ถ้าไม่ไว้ใจกันจริง ๆ ) ถ้าเรายังไม่ได้อ่านเอกสารด้วยตัวเอง เพราะบางครั้งคนที่บอกก็ไม่ได้เข้าใจในเนื้อหาทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นหากคนที่บอกมีเจตนาไม่ดีด้วย ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คิดได้ ดังนั้น ท่องไว้..อ่านก่อนเซ็นต์!
3. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ในเรื่องที่ไม่แน่ใจ
- แม้จะรู้แล้วว่าเรื่องที่ต้องเซ็นต์นั้นมีวัตถุประสงค์อะไร และได้อ่านเนื้อหาข้างในจนครบถ้วนแล้ว แต่ถ้ามีจุดไหนที่ยังไม่เข้าใจก็ไม่ควรเซ็นต์
เพราะบางครั้งจุด ๆ เดียวที่ไม่แน่ใจในเอกสารนั้นอาจเป็นสาระสำคัญที่มีผลมากกว่าข้อความอื่น ๆ ทั้งหมดในเอกสารก็ได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาคนที่เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ก่อน
4. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง
- รู้หรือไม่.. แม้แต่การเซ็นต์ชื่อเป็นพยานที่ดูเหมือนไม่มีอะไร ก็อาจทำให้ผู้เซ็นต์ต้องมาให้การในชั้นศาลได้หากถูกอ้างอิงเป็นพยาน ดังนั้น หากไม่ใช่หน้าที่ หรือมีความจำเป็นจริง ๆ แล้วล่ะก็ ก่อนเซ็นต์ชื่อลงไปก็ขอให้คิดดูดี ๆ ก่อน
5. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ในกระดาษเปล่า
- เรื่องนี้อันตรายมาก ๆ เพราะการเซ็นต์ชื่อในกระดาษเปล่านั้น อาจมีผู้ไม่หวังดีเอากระดาษแผ่นนั้นไปเติมข้อความ และทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คิดได้ เช่น เติมข้อความในกระดาษเปล่าที่มีแต่ลายเซ็นต์โดยใส่ข้อความว่ายอมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่มีชื่อในเอกสารนั้น เป็นต้น
6. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. เพราะเกรงใจ
- แม้ความเกรงใจจะเป็นสมบัติของผู้ดี แต่เรื่องเซ็นต์ชื่อนี้อาจต้องขอเป็นข้อยกเว้น และหลายคนก็น่าจะเคยมีประสบการณ์แบบนี้..
“พี่ครับช่วยเซ็นต์ค้ำประกันให้ผมหน่อย รับรองผมจ่ายธนาคารครบทุกงวดแน่นอน”
บางคนเพราะเกรงใจ หรือขี้สงสาร แม้กระทั่งไม่กล้าปฏิเสธ จึงยอมเซ็นต์ชื่อค้ำประกันให้ แต่ขอให้จำไว้ว่าในเวลาที่ลูกหนี้เกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมา คนค้ำประกันนี่แหละที่จะต้องใช้หนี้แทน
ดังนั้น อย่าให้ความเกรงใจเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องยอมเซ็นต์ชื่อ แต่ควรใช้เหตุผลอื่นในการตัดสินใจ เช่น คน ๆ นั้นเป็นคนขยัน มีความรับผิดชอบสูง มีความกตัญญู แบบนี้น่าจะดีกว่า
7. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ตอนดีใจ หรือเสียใจ
8. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ตอนโมโห
9. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ตอนตกใจ
10. ไม่เซ็นต์ชื่อ.. ตอนร้อนใจ
- ข้อ 7 – 10 ขอรวบยอดมาตรงนี้เลยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์..
การจรดปากกาเซ็นต์ชื่อซักครั้งก็ควรทำขณะที่อารมณ์ปกติจะดีที่สุด
อารมณ์ปกติก็คือ ไม่มีสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้มาเกี่ยวข้องเวลาตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้ใช้เหตุผลได้อย่างเต็มที่ และตัดสินใจผิดพลาดน้อยที่สุดนั่นเอง
และนี่ก็คือ คาถาป้องกันภัย (ป้องกันมือลั่น) 10 ข้อที่ควรท่องไว้ จะได้สบายใจทั้งก่อนและหลังเซ็นต์ครับ
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
11 บันทึก
96
37
30
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
11
96
37
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย