20 พ.ค. 2020 เวลา 14:02
ปกป้องเครื่องจักรของตนเองด้วย Tentative Standard
การรักษามาตรฐาน หรือ Hozen เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการผลิตที่ใช้เครื่องมือบริหาร TPM
ซึ่งได้จากการดำเนินการ Jishu-Hozen ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การที่พนักงานแต่ละคนได้จัดการดูแลเครื่องจักรของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสอบเติมน้ำมัน เปลี่ยนชิ้นส่วน ซ่อมแซม ตรวจหาสิ่งผิดปกติ ตรวจเช็คอย่างละเอียดอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง”
เริ่มต้น Step 1 ที่คุณได้ทำความสะอาดขั้นพื้นฐานกับเครื่องจักร เพื่อ กำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ตัวเครื่องจักร , ค้นหาสิ่งผิดปกติ เช่น จุดบกพร่องเล็กน้อยแหล่งกำเนิดความสกปรก บริเวณเข้าถึงได้ยาก และแหล่งที่มาของการเกิดของเสีย (Quality defect) จนำถึงการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นและรายการที่เลิกใช้งาน พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องจักรให้ง่าย (Simplify)
ตามด้วย Step 2 ด้วยการกำจัดแหล่งกำเนิดความสกปรกและบริเวณเข้าถึงได้ยาก เพื่อลดเวลาการทำความสะอาดโดยการกำจัดแหล่งกำเนิดฝุ่นผงและสิ่งสกปรก ป้องกันการฟุ้งกระจายและปรับปรุงชิ้นส่วนที่เป็นอุปสรรคในการเข้าไปทำความสะอาด ตรวจเช็ค หล่อลื่น ขันแน่น หรือสัมผัสเครื่องจักร และเพื่อการทำงานยังคงรักษามาตรฐานได้อย่างเป็นระบบจึงจำเป็นต้อง
สุดท้าย Step 3 กำหนดมาตรฐานการทำงาน เพื่อรักษาระดับการทำความสะอาด การหล่อลื่น และขันแน่น โดยการใช้เวลา และกำลังงานให้น้อยที่สุด และปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจเช็ค โดยใช้การควบคุมโดยการมอง (Visual control)
(1) หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และหล่อลื่นเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติ หัวหน้างานควรชี้แนะส่วนที่ขาดอยู่หรือส่วนที่ซ้ำกันอยู่
(2) จุดสำคัญ (Key Point) เป็นการชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง คำแนะนำจากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก
(3) วิธีการ (Method) เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง (Visual control) เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจเช็คได้ถูกต้องและเชื่อถือได้
(4) เครื่องมือ (Tools) เลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาดหล่อลื่น และตรวจสอบ พร้อมติดป้ายชื่อให้ชัดเจน
(5) เวลา (Times) กำหนดเวลาที่จะใช้ในแต่ละงาน และกำหนดเป้าหมายการลดเวลาโดยการปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ ให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและ ลดเวลาการทำงานให้น้อยที่สุด
(6) ช่วงเวลา (Interval) กำหนดความถี่ในการตรวจสอบและวัดความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อยืดช่วงเวลาการตรวจให้ยาวขึ้น งานบางอย่างต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการบำรุงรักษา เช่น การเปลี่ยนถ่ายสารหล่อลื่น เป็นต้น
(7) ผู้รับผิดชอบ (Responsibility) กำหนดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีการหลงลืม และให้ทุกคนมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของเครื่องจักรมากขึ้น
สุดท้ายนี้การทำ Jishu-Hozen ถือว่ามีความสำคัญต่อการลดค่าใชจ่ายในการบำรุงรักษาและการรักษาสภาพการเดินเครื่องที่เหมาะสม ที่เรียกว่า DM : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน)
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
โฆษณา