23 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ปราชญ์แห่งชา! ทำความรู้จัก 'เซน โนะ ริคิว' ปรมาจารย์ผู้วางรากฐานการชงชาของญี่ปุ่น
123RF
การชงชา ถือเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นที่มีความเรียบง่าย งดงาม และแฝงไปด้วยปรัขญาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง หลายคนอาจไม่รู้ว่า พิธีชงชาในรูปแบบที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นมาจากพ่อค้าชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงด้านการชงชาในศตวรรษที่ 16 ที่มีนามว่า 'เซน โนะ ริคิว'
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
'เซน โนะ ริคิว' เกิดในปี ค.ศ.1522 ที่เมืองซาคาอิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของยุคเซนโกกุ ชีวิตในวัยหนุ่มของริคิวได้ร่ำเรียนศาสตร์แห่งการชงชาจากเหล่าพ่อค้าวาณิชย์ในเมืองซาคาอิตั้งแต่อายุ 19 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทาเคโนะ โจโอ ผู้เป็นปรมาจารย์ชงชาอันเลื่องชื่อในยุคนั้น และเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการชงชาของริคิวเป็นอย่างยิ่ง
123RF
ชื่อเสียงในด้านการชงชาของริคิวเป็นที่โจษจันกันในหมู่พ่อค้าและซามูไรเป็นอย่างมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1579 ริคิวจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นคนชงชาประจำตัวของโอดะ โนบุนากะ ไดเมียวผู้ทรงอำนาจที่สุดของญี่ปุ่นในขณะนั้น หลังจากที่โอดะถูกลอบสังหารที่วัดฮอนโนจิในปี ค.ศ. 1582 เขาก็รับหน้าที่คนชงชาประจำตัวของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างสูง เมื่อฮิเดโยชิเข้าร่วมพิธีชงชาเมื่อใดก็จะมีข้อราชการเข้ามาปรึกษากับริคิวในวงน้ำชาอยู่เสมอ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในคนที่ใกล้ชิดกับฮิเดโยชิมากที่สุดคนหนึ่งเลยทีเดียว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
และในช่วงที่ทำงานรับใช้ฮิเดโยชินี้เอง ริคิวก็ได้ปรับเปลี่ยนแบบแผนการชงชาขึ้นมาใหม่ จากเดิมเป็นพิธีที่แสดงให้เห็นถึงความหรูหราอลังการ ที่แสดงให้เห็นความบันเทิงเริงรมย์ มีการละเล่นต่างๆ มากมาย กลายเป็นพิธีที่มีความเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง ตั้งแต่การจัดแต่งตกแต่งสวนที่ใช้ในพิธีชงชา การตกแต่งห้องชงชา อุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชา ไปจนถึงกรรมวิธีในการชงชา ตั้งแต่การเลือกชนิดของใบชา การเตรียมน้ำและฟืน และขั้นตอนในพิธีชงชาที่มีความสลับซับซ้อน สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นระเบียบแบบแผนในพิธีชงชาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของความเป็นญี่ปุ่นที่รู้จักไปทั่วโลก
WIKIPEDIA PD
ด้วยความสามารถในการชงชาที่หาตัวจับได้ยาก ทำให้ริคิวมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย แต่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ริคิวกับฮิเดโยชิขัดแย้งกันอย่างหนัก ซึ่งริคิวเองก็ได้วิพากษ์วิจารณ์การปกครองบ้านเมืองของฮิเดโยชิอยู่หลายต่อหลายครั้ง ขณะที่ฮิเดโยชิเองก็มองว่าริคิวก้าวก่ายหน้าที่ในฐานะซามูไรของตนมากเกินไป จนกระทั่งฮิเดโยชิมีคำสั่งให้ริคิวปลิดชีพตนเองด้วยการคว้านท้องในปี ค.ศ. 1591 จบชีวิตปรมาจารย์ผู้วางรากฐานแห่งการชงชาด้วยวัย 69 ปี ณ บ้านพักของเขาภายในปราสาทจูระคุเท แห่งเมืองเกียวโต
โฆษณา