24 พ.ค. 2020 เวลา 01:56
เรียนรู้จากโควิด19
สถานการณ์โควิด19 นอกจากทำลายเศรษฐกิจและชีวิตแล้ว อีกด้านหนึ่งก็ให้บทเรียน(ความรู้)ที่ไม่สามารถจำลองให้เกิดในห้องทดลองได้ เพราะการทดลองที่สูญเสียชีวิตย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ
แนวทาง ”สุขภาพดีด้วยฟิสิกส์”ก็ได้เรียนรู้จากวิกฤตโควิด19เช่นกัน โดยศึกษาจากเหตุการณ์ที่เกิดจริงและงานวิจัย ดูผลจากตัวเลขที่แสดงให้เห็นจริงๆ มีหลายเรื่องที่แปลกและเหนือการคาดหมาย
แต่ความสำคัญกลับอยู่ที่จะอธิบายและแปลผลให้สมบูรณ์ครบถ้วนได้อย่างไร ต้องปรับใช้ความรู้พื้นฐานใหม่ๆที่หลากหลายร่วมกับค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาช่วยอธิบาย เพื่อสรุปให้ถูกต้อง ครบถ้วนและใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด คงน่าเสียดายมากถ้าวิกฤตการณ์ครั้งนี้ผ่านไปโดยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากมัน
ก่อนอื่น ขอสรุปเหตุการณ์ที่แปลก ในระยะ4เดือนที่เกิดวิกฤตโควิด19 ดังนี้
•ประเทศตะวันตกที่เจริญทั้งวิทยาการและการแพทย์ กลับติดเชื้อมากและมีอัตราตายสูง
•คนสูงอายุที่มีโรคประจำตัวเช่น ความดันสูง มีอัตราการตายสูงมาก
•ประเทศที่อยู่ในโซนเดียวกัน แต่มีอัตราการตายไม่เท่ากัน
•การตายส่วนใหญ่เกิดจากขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถ้ามีพอคงตายน้อยลง
•ไวรัสโจมตีครั้งนี้เป็นครั้งที่3 อาจพูดได้ว่า”ฉลาดขึ้น” ในระยะ10ปีเปลี่ยนจากรุนแรง และตายเยอะใน SARS & MERS มาเป็นเลือกให้คนอ่อนแอตาย แต่ให้คนแข็งแรงแพร่เชื้อ เทียบกับความก้าวหน้าของมนุษย์ ผ่านมาเกือบ200ปียังคงใช้วิธีเดิมรักษาโรคด้วยยา ทำให้เกิดปัญหาคนป่วยสะสม
บทความ “สุขภาพดีด้วยฟิสิกส์ รอและมองหาโอกาสพิสูจน์เรื่องนี้ เพื่อทำให้คนเข้าใจมากขึ้น จึงขอใช้วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาส ลองใช้หลักการทางฟิสิกส์ (หรือระบบพลังงานในร่างกาย) มาอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มานั้น
ร่างกายคนเรา ตามวิชาการแพทย์ คือ ที่รวมของอวัยวะทุกระบบมาทำงานร่วมกัน แต่ถ้าถือตามการรักษาทางเลือกกลับบอกว่า “ร่างกายคือองค์รวม” แต่ไม่เคยมีใครอธิบายคำว่า “องค์รวม” ได้เลย ความลับเรื่องสุขภาพของเราจึงอยู่ระหว่างเขาโคทั้งสองนี้มาตลอด และในที่สุด การแพทย์ก็ชนะ เพราะทำให้เห็นผลได้ชัดเจนกว่า และช่วยชีวิตคนป่วยได้มากกว่า
การที่อธิบายคำว่า”องค์รวม” ไม่ได้ เพราะในทางชีวะวิทยา เราหาสิ่งนี้ไม่เคยเจอ ทำให้การรักษาทางเลือกซึ่งเน้นด้านป้องกัน ต้องด้อยกว่าการรักษาเรื่อยมา แต่ถ้าหากใช้ความรู้ทางฟิสิกส์มาอธิบาย “องค์รวม”นี้คือระบบพลังงานในร่างกาย เป้าหมายสูงสุดของการทำงานทุกอวัยวะก็เพื่อทำให้พลังงานนี้คงอยู่ได้ไปตลอดชีวิต
วิกฤติไวรัสโควิด19นี้ คือสงครามเพื่อแย่งพลังงานของชีวิตนั่นเอง เราลองมาอธิบายเหตุการณ์แปลกๆที่กล่าวมาแล้วด้วยแนวคิดแบบนี้กัน
1 ความเจริญด้านวิทยาการและการแพทย์ทางตะวันตกนั้น ได้มาจากพื้นฐานการรักษาด้วยยา ซึ่งยาไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องในร่างกายเสมอ ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี
ด้านดี ทำให้โรคที่เป็นบรรเทาลงได้ แต่ไม่หายขาดเพราะยังไม่ได้แก้ต้นเหตุ การวัดผลดีเพียงด้านเดียว เช่น ดูความดันที่ลดลง แต่อาจไม่รู้ตัวว่ามีด้านไม่ดีซ่อนตัวอยู่ด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องที่เกิดเป็นจุดอ่อนจนไวรัสใช้โจมตีร่างกายได้ง่าย(รายละเอียดอยู่ในข้อ2)
อัตราตายที่สูงในประเทศตะวันตก ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ไม่เพียงแค่การเข้าไม่ถึงการรักษา (ถูกปฏิเสธกลับไปตายที่บ้าน) ขาด(งบประมาณ)แพทย์ขาดความรู้ด้านป้องกัน ฯลฯ แต่รวมถึงระบบเศรษฐกิจที่ทำให้คนห่วงการหาเงินมากกว่าสุขภาพ กินอาหารขยะ เครียดและทำงานจนไม่มีเวลาพอที่จะออกกำลังกาย อ้วนมากบวกกับรูปร่างที่สูงใหญ่ในคนตะวันตกและคนผิวสี ล้วนทำร้ายสุขภาพแย่ที่อยู่ก่อนแล้ว ให้ถึงจุดจบเร็วขึ้น
1
2 อัตราตายสูงมากในคนสูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว เช่นความดันโลหิตสูง อาการโรครุนแรงขึ้นแบบข้ามคืน แย่ลงและเสียชีวิตในที่สุด ที่น่าวิเคราะห์ คือ ไวรัสรู้ได้อย่างไรว่าคนๆนี้เป็นความดันสูง เรายังต้องใช้เครื่องวัดความดันเลย แสดงว่าในร่างกายต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบางอย่างบอกให้รู้
ในงานวิจัยสมัยใหม่เปลี่ยนจากการเฝ้าดูว่าเกิดสารอะไรขึ้น (Metabolic ) มาเป็นตามดูสารที่เกิดไปสิ้นสุดที่ไหน( Metabolomic ) ทำให้เราเข้าใจขั้นตอนของร่างกายมากขึ้น
1
ในคนป่วยโรคความดันสูง หลอดเลือดจะหดตัวมาก เพื่อบีบเลือดไปส่วนสำคัญเช่นสมองกับหัวใจ แต่ร่างกายต้องการความสม่ำเสมอ ความดันที่สูงฉับพลันอาจเป็นอันตรายได้ จำเป็นต้องค่อยๆปรับ จึงมีการสร้างสาร ACE2 จำนวนมากขึ้นมาเพื่อช่วยปรับลดความดันให้สมดุล
1
แต่การทำงานต้องใช้พลังงาน ACE2 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ใช้เกาะผนังเซลล์ตรงตัวรับ(Receptor) เพื่อเอาพลังงานในเซลล์ออกมาใช้ได้ ขณะเดียวกัน ไวรัสที่ฉลาดขึ้น ก็รู้กลไกนี้จึงสร้างกับดักที่เป็นตุ่มยื่น เรียกว่า Spike protein ไปเกาะติดสาร ACE2 ทำให้แอบเข้าไปใช้พลังงานในเซลล์ได้ด้วย เกิดการขโมยพลังงานไปสร้างไวรัสจำนวนมาก ยิ่งมี ACE2มากๆนอกจากเป็นเครื่องหมายบอกว่าคนๆนี้ป่วย แล้วยังใช้เป็นจุดโจมตีได้ง่าย
3 ประเทศที่อยู่โซนเดียวกันติดเชื้อและตายต่างกันเช่นอิหร่านสูงกว่าอิรัคมาก ( การติดเชื้อสูงกว่า47เท่า อัตราตาย67เท่า ) ข้อมูลที่ได้ ถ้านำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบยังขาดรายละเอียดหลายด้าน เช่นจำนวนการตรวจมากแค่ไหน มีการปกปิดข้อมูลไหม (ประเทศไทยก็โดนถามแบบเดียวกัน)
แต่ในแง่สุขภาพ เราให้ความสำคัญตรงภาพรวมสุดท้าย การป่วยและอัตราตายถ้ามีจำนวนมากๆแล้ว มักปกปิดไม่ได้ อัตราตายที่ผลต่างกันมาก จึงเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง ขอลองใช้หลักการเดิมมาอธิบายไปก่อน จนกว่าจะมีข้อมูลใหม่
ความแตกต่างนี้เกิดจากระบบภูมิต้านทาน เมื่อถูกไวรัสโจมตี ร่างกายมีวิธีสู้โดยการสร้างภูมิต้านทานซึ่งมีได้หลายระบบ แต่อธิบายเฉพาะที่เกี่ยวกับ ACE2 โดยต้องย้อนไปตั้งแต่ต้น
2
ในร่างกายมีระบบพลังงาน 2 วงจร ซ้อนทับกัน ซึ่งคนโบราณเรียกชีวิตว่า “เลือดกับเนื้อ” เนื้อคือกล้ามเนื้อ ภาพใหญ่คือระบบโครงสร้าง(มีกระดูก ข้อ เอ็นและกล้ามเนื้อ) เพิ่งพบว่ามีระบบพลังงานซ่อนอยู่ในไขสันหลังซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระดูกสันหลัง เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย เริ่มมาจากสมองส่งผ่านไขสันหลังไปทั่วร่างกาย (ความจริงนี้เพิ่งพิสูจน์ได้ไม่ถึง 20ปี ) ขอตั้งชื่อว่าพลังงานชั้นใน (เป็นสิ่งเดียวกันกับ ฉี ปราณ vital force )
ส่วนระบบพลังงานอีกวงจร คือเลือด หรือหลอดเลือด นำพลังงานในรูปสารอาหารจากทางเดินอาหาร ให้หัวใจนำส่งไปทุกส่วน นับเป็นพลังงานชั้นนอก พลังงานทั้งสองวงจรกระจายไปทุกๆเซลล์ อันหนึ่งอยู่ในเซลล์ อีกอันอยู่นอกเซลล์ โดยมีช่องทางประสานเชื่อมด้วย ACE2 เพื่อใช้พลังงานชั้นในสร้างภูมิต้านทานเวลาถูกไวรัสโจมตี (เพราะACE2 เป็นช่องทางใช้พลังงานชั้นในได้ จึงมีหน้าที่อื่นได้อีกหลายอย่าง)
แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ เนื่องจาก ACE 2 ถูกไวรัสยึดไปแล้ว ร่างกายจึงหันไปใช้วิธีที่สอง ที่เรียกว่า “จุดไฟเผาบ้าน” (Cytokine storm) ทำให้เกิดอักเสบไปทั่ว พังทั้งไวรัสและปอดที่ติดเชื้อ การรอดมาได้จึงต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจก่อน แล้วร่างกายจึงซ่อมอวัยวะขึ้นมาใหม่ในภายหลัง (กลไกการอักเสบนี้ ปกติเกิดช้าๆไม่รุนแรงในอวัยวะที่ชราภาพ เพื่อกวาดล้างก่อนสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทน) อัตราตายที่สูงแตกต่างกันมากนั้น ยังสรุปไม่ได้ว่ามาจากขั้นตอนใดหรือจากทุกขั้น
อีกทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิต้านทาน วัคซีนที่นิยมใช้ในคนรุ่นยุค60 เช่น บีซีจี สร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติ ( Innate Immunity ) ซึ่งมีคุณสมบัติต่อสู้เชื้อโรคได้หมดไม่จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง และคงมีอยู่ตลอดไป ประเทศใดที่เคยฉีดวัคซีนชนิดนี้ครอบคลุมทั้งประเทศ จะทำให้สู้ไวรัสได้ มีการติดเชื้อและอัตราตายต่ำ ไม่ไปถึงขั้น “จุดไฟเผาบ้าน” ความโชคดีนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย
ACE 2 เป็นเอ็นไซน์ดี ที่ช่วยลดการเกิดโรคได้ในทุกอวัยวะที่พบ เพราะเป็นตัวปรับสมดุลของร่างกาย (ให้สังเกตว่าเวลาพบเอ็นไซน์สำคัญเกือบทุกตัว จะมี1และ2เสมอ เช่น COX, mTOR, ที่ทำหน้าที่ในเรื่องการอักเสบ,การเติบโต เพราะร่างกายทำงานแบบปรับสมดุล ต้องเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา ถ้าเทียบ 1และ2 ก็คือหยินและหยางของจีน) ACE 2 มีพบตามธรรมชาติได้ที่เซลล์บุผิวของหลอดเลือด หัวใจ ไต สมองและลำไส้ ช่วยทำให้อวัยวะเหล่านี้ไม่เกิดโรค ยาที่เรากินมักออกฤทธิ์ที่จุดนี้
การที่ ACE 2 กลายมาเป็นพาหะพาไวรัสเข้าเซลล์นั้น อธิบายได้จากอีกงานวิจัยที่ทำตอนเกิด SARS โดยพบว่าในคนที่ความดันสูงกินยาลดความดันชนิดยับยั้ง ACE จะเกิดขบวนการปรับย้อนขึ้น (Up-regulate ) เพื่อสร้าง ACE2 ใหม่ให้เพิ่มมากขึ้นอีก งานวิจัยนี้พยายามชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติของ ACE 2 ที่สร้างขึ้นใหม่ ต้องขึ้นอยู่กับความเติบโตเต็มที่ของเซลล์ที่สร้างด้วย ทำให้ ACE 2ที่ถูกเร่งสร้างใหม่ ส่วนใหญ่มีจุดอ่อนให้ไวรัสโจมตีได้ แต่การวิจัยต้องหยุดไป เพราะอยู่ๆโรค SARS ก็หายไป
1
4 การตายเกิดจากมีอุปกรณ์การแพทย์ไม่พอ แสดงให้เห็นว่า ความร้ายกาจของไวรัส คือการติดต่อแพร่เชื้อ แต่ไม่รุนแรงถึงตาย เพราะจู่ๆอาการก็ทรุดอย่างรุนแรงจนเกิดการตายขึ้น เป็นผลจากสุขภาพของคนๆนั้นเอง มีปัญหาระยะยาวต้องกินยาตลอด ทำให้ร่างกายถูกปรับมากจนสมดุลเสีย คำว่า“สมดุลเสีย” แปลว่าพร้อมจะระเบิดหรือสร้างวิกฤติขึ้นได้ จากการกระตุ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ปล่อยสารสร้างการอักเสบจำนวนมากออกมาจนปอดพัง(Cytokine storm) ถ้ามีเครื่องมือช่วยให้พ้นตอนวิกฤติไปได้ก็ไม่ตาย แต่ปัญหาจะเกิดเมื่อมีคนป่วยหนักจำนวนมากมาพร้อมๆกันอาจต้องเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นเครื่องช่วยหายใจในอัตราสูงมาก ถึง1เครื่องต่อคนป่วย 3คน
บทเรียนจากข้อ3และ4 แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรังไปนานๆ อาจเกิดสมดุลเสียในร่างกายระยะยาว ถ้าเป็นไปได้การรักษาโรคเรื้อรัง (NCDs)ด้วยยา ควรถึงเวลาเปลี่ยนโดยเพิ่มกิจกรรมออกกำลังกาย คุมอาหาร หรือเพิ่ม นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อลดการใช้ยา
5 ไวรัสโจมตีครั้งนี้เป็นครั้งที่3 จะมีครั้งต่อไปอีกหรือไม่ แล้วมันจะฉลาดขึ้นอีกไหม คำว่า “ฉลาด” หมายความว่า เข้าใจขั้นตอนการทำงานตามธรรมชาติของร่างกาย
การป้องกันสุขภาพให้ได้ผล ต้องเข้าใจขั้นตอนทำงานเกี่ยวกับพลังงานนี้เช่นกัน แล้วไปป้องกันจุดอ่อนของระบบพลังงานทำให้ใช้ยาลดลง เช่น พลังงานชั้นในต้องดูแลที่กระดูกสันหลัง โดยออกกำลังกายในท่ายืดหลังตรงมากขึ้น ฝึกนั่งและนอนในท่าหลังและคอยืดตรง
พลังงานชั้นนอกต้องดูแลระบบหลอดเลือดโดยเลือกชนิดอาหารที่กินและลดปริมาณไขมัน เพิ่มผักผลไม้ (เพราะเชื่อว่าทำให้ร่างกายมีภาวะกรดลดลง เอ็นไซด์ที่ซ่อมหลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น) การป้องกันนอกจากช่วยแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง และชราภาพได้แล้ว ยังลดการฝืนธรรมชาติด้วยการกินยา จนกลาย เป็นจุดอ่อนให้ไวรัสโจมตีได้อีก
บทเรียนจากโควิด19ครั้งนี้ สอนให้เข้าใจระบบพลังงานของร่างกายมากขึ้น สรุปได้ดังนี้ เริ่มตั้งแต่ตอนสร้างตัวอ่อน เกิดสมองและระบบประสาทขึ้นพร้อมๆกับช่องว่างในตัวอ่อนกลายเป็นทางเดินอาหาร ต่อมาในสัปดาห์ที่3 ระบบหัวใจและหลอดเลือดจะสร้างตามระบบประสาท ที่ยืดยาวออกไปตามลำตัว ระบบประสาทจะกระจายเข้าไปในทุกเซลล์เพื่อควบคุมการทำงาน โดยใช้แกนกลางของเส้นประสาทเป็นช่องทางจ่ายพลังงานในรูปไมโตคอนเดรีย ถ้าเซลล์ไม่มีพลังงาน ถึงมียีน มีDNAก็ทำงานไม่ได้ ลักษณะพลังงานที่ได้จากไมโตคอนเดรียนั้น มีรหัสกำหนดไว้ด้วยวิธี Mitochondrial trafficking ทำให้ใช้ได้กับสารพันธุกรรมด้วย (งานวิจัยเกี่ยวกับ Stem cellพบว่าประสิทธิภาพที่สูงพบในstem cellที่มี Mitochondrial fusion )
ส่วนหลอดเลือดและหัวใจประสานกับระบบทางเดินอาหาร นำพลังงานจากอาหารในรูปสารเคมีไปทุกจุดนอกเซลล์ เป็นพลังงานที่ไม่มีรหัสควบคุม ทุกเซลล์ใช้ได้หมด แต่ก็ยังต้องควบคุมด้วยอินสุลิน และออกซิเจน เพื่อไม่ให้พลังงานถูกใช้โดยอิสระหรือมากเกิน จนเป็นอันตรายหรือเกิดโรคร้ายได้ เช่นมะเร็งที่สร้างพลังงานได้เองโดยไม่ต้องมีอินสุลิน(Warburg effect).
ในขณะที่เกิดภาวะวิกฤติ หากต้องนำพลังงานที่มีรหัสจากไมโตคอนเดรียในเซลล์มาใช้ เพื่อสร้างสารหน้าที่พิเศษ เช่น สารสร้างภูมิต้านทาน เอ็นไซน์ปรับสมดุลแคลเซี่ยม สารก่อการอักเสบ ฯลฯ ต้องทำผ่าน ACE2 ซึ่งเป็น Signaling pathway ที่สำคัญ เชื้อไวรัสก็ต้องการพลังงานที่มีรหัสนี้ เพื่อสร้างสารพันธุกรรม RNA ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โรคโควิด19 จึงเป็นสงครามแย่งพลังงานนั่นเอง
 
ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจมี New Normal ทางการแพทย์ก็ต้องมีเช่นกัน โดยเน้นไปที่การป้องกันที่ได้ผลมากกว่าการรักษาที่ยาวนาน ดังนั้น New Normalทางการแพทย์ ที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคต เริ่มต้นที่โรคติดเชื้อจากภายนอก ต้องเน้นการล้างมือ งดการติดต่อทางสังคม ใส่หน้ากาก(บังคับคนป่วย) เพิ่มภูมิต้านทาน(ออกกำลังกายและเพิ่มอาหารที่ดี) และสร้างวัคซีน(ต้องฉลาดกว่าไวรัส1ขั้น)
ส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ยังรักษาไม่หายขาด หรือโรคร้ายแรงที่ยังรักษาไม่ได้ ควรเพิ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่ยา ต้องมองหาวิธีใหม่ๆที่เน้นไปทางแก้ที่ระบบพลังงานของร่างกาย แล้วค่อยๆปรับยาลง ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายระหว่าง ทำงานโดยออกกฎหมายสนับสนุน สร้างนวัตกรรมใหม่ เช่นหมอนที่บังคับกระดูกสันหลังให้ตรงตลอดการนอน (ถ้ากระดูกสันหลังเสื่อมจะรบกวนระบบพลังงานที่อยู่ภายใน)
สุดท้าย ขอชื่นชมผลงานของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะอสม (ก่อตั้งเมื่อ20มีนาคม2520 โดยอาจารย์แพทย์สายอนามัย นพ.อมร นนทสุต ผู้ริเริ่มโครงการ Health For All) ที่ทำทุกอย่างมาถูกทาง แน่วแน่ มั่นคง และทุ่มเท สมควรแก่การคารวะ
โฆษณา