2 ก.พ. เวลา 10:33 • ประวัติศาสตร์

"คางคก" รักษาโรคผิวหนัง

นอกจากความแปลก และรสชาติหวานอร่อยของ "คางคกต้มลูกเดือย" ที่เล่าในตอนที่แล้ว
คางคก ยังช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ด้วย !
อาม่ายืนยันว่าหายจริงๆ นะ น่าเสียดายที่อาม่าเรียกชื่อโรคไม่ถูก แต่อธิบายลักษณะได้ คือ ผิวบางช่วง เช่น ต้นคอ แขน ขา จะเป็นสีขาวๆ (ไม่ใช่ “เกลื้อน” ซึ่งจะเป็นขุย) ผิวยังเรียบปกติ เพียงแต่เป็นสีขาวต่างจากผิวส่วนอื่นเท่านั้น (โรคด่างขาว หรือเปล่า)
นั่นคือ ลักษณะที่อาม่าเห็นมา ส่วนยาและวิธีใช้เจ้าตัวไม่ได้เล่า เป็นเรื่องของหมอจีนผู้รักษา
จากที่ไปถามอากู๋ของคนรุ่นใหม่ (Google) เราพบสรรพคุณของคางคก และลูกเดือย ดังนี้
การนำคางคกมาทำยา
ยาเรื้อนปากปิง เรื้อนเป็นดั่งฝีมะอากนั้นแหละ ตัวผู้กินยาวไป ตัวแม่เป็นวงไป ใส่อะไรก็บ่รู้จะยา ให้เอามะลืมลาย ลืมดำเผาเป็นถ่านแล้วเอาน้ำลายคนเรา น้ำลายส้มตอนเช้ายิ่งดีเป็นน้ำใส่บ่หาย เอากบมาแช่น้ำเอายาใส่ทา ไม่ได้กบเอา คางคก แช่น้ำยาใส่ บ่ได้คางคกเอาอึ่งมาแช่น้ำยาทาเทอะหายฯ
จาก เว็บตำรับยาไทย - ตำรายาเมืองเหนือ
ประโยชน์ของลูกเดือย
ในตำรายาจีนกล่าวว่า ลูกเดือย รสชุ่มจืด เย็น แก้ร้อนใน บำรุงอวัยวะภายในอื่น ๆ อีกเพียบ
แค่ "ลูกเดือยต้มน้ำตาล" ของหวานที่เห็นบ่อย ๆ เนี่ยก็แก้ร้อนในได้นะ
ลูกเดือยยังให้พลังงานแก่ร่างกายสูง จึงมีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง มีวิตามินและแร่ธาตุเยอะแยะ รวมทั้งวิตามินบีหนึ่งสูง จึงช่วยแก้เหน็บชาตามความเชื่อของชาวจีน
ที่สำคัญ มีสรรพคุณในการรักษา "โรคหูด" ที่มักจะเป็นเรื้อรัง
ซึ่งอาจเป็นเพราะสารจากลูกเดือยมีฤทธิ์ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังดีขึ้น หรือจากฤทธิ์ยังยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
อย่าลืมอ่านเรื่องของเล่นแปลกๆจาก "หนังคางคก" เรื่องราวจากความทรงจำ ของ "อาม่า" ชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้เกิดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
กดติดตามไว้ จะได้ไม่พลาดตอนต่อไปของเรานะคะ
เครดิตความรู้เพิ่มเติม
โฆษณา