25 พ.ค. 2020 เวลา 12:17 • ไลฟ์สไตล์
“ความดันโลหิตต่ำ เพราะขาดน้ำ”
🩸 วันนี้นี้ฉันไปบริจาคโลหิตมา
ก่อนการบริจาคโลหิตทุกครั้ง จะมีการตรวจ
ความพร้อมของผู้บริจาคก่อนเสมอ
และผลการตรวจโลหิตของฉัน คือ ความเข้มข้นของโลหิต (HB) ปกติ แต่ความดันโลหิตต่ำเกินไป
ทำให้ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
ความเข้มข้นโลหิต (HB) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
แต่ความดันโลหิตต่ำ เป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ๆ ค่ะ
เพราะฉันไม่เคยมีปัญหาเรื่องความดันโลหิตต่ำมาก่อน
แต่คำถามเดียวจากคุณหมอ กลับทำให้ผลลัพท์
ในครั้งนี้เปลี่ยนไป
“วันนี้ดื่มน้ำบ้างหรือยังคะ?”
“ดื่มมาแก้วนึง ตอนทานข้าวเช้าค่ะ”
“ถ้าอย่างนั้น ลองดื่มน้ำ 4 แก้ว (แก้วกาแฟกระดาษ)
เสร็จแล้วลองมาตรวจวัดความดันอีกครั้งนะคะ”
พอดื่มน้ำเสร็จ แล้ววัดความดันโลหิตอีกครั้ง
ปรากฏว่าความดันเพิ่มสูงขึ้น และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ทำให้สามารถบริจาคโลหิตได้
“เมื่อร่างกายขาดน้ำ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้”
คือคำพูดที่คุณหมอบอกกับฉัน
💧เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ฉันยิ่งตระหนักถึงความสำคัญของการดื่มน้ำ ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลย
ความดันต่ำ เป็นภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ มักทำให้มีอาการป่วย เช่น เวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัด คลื่นไส้ สับสน ใจสั่น ผิวซีด ผิวหนังเย็นหรือชื้นผิดปกติ เสียการทรงตัว ร่างกายอ่อนแอ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นลม หรืออาจเกิดอาการช็อกได้หากภาวะความดันต่ำมีความรุนแรงมาก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือก่อให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพร่างกาย
ระดับความดันโลหิตจะแตกต่างกันไปตามอิริยาบถ
ของร่างกาย จังหวะการหายใจ สภาพร่างกาย
ระดับความเครียด อาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภค
และช่วงเวลาในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติความดันโลหิต
มักลดต่ำลงในเวลากลางคืนและเพิ่มขึ้นเมื่อตื่นนอน
สาเหตุที่อาจทำให้ความดันต่ำ ได้แก่ กรรมพันธุ์
อายุที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเบต้า-บล็อกเกอร์ ยาแอลฟา-บล็อกเกอร์ ยาลดความดันโลหิต และยาขับปัสสาวะ รวมไปถึงโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต เช่น การตั้งครรภ์
ภาวะขาดน้ำ การป่วยติดเชื้อรุนแรง อาการแพ้รุนแรง โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน
ซึ่งในกรณีของฉัน เกิดจากภาวะขาดน้ำ
เมื่อดื่มน้ำเข้าไปมาก จึงดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประมาทเรื่องการดื่มน้ำไม่ได้เลยค่ะ
(ก่อนหน้านี้ 2 วันเพิ่งตรวจสุขภาพมาอย่างอื่นปกติดีค่ะ)
💧ทางการแพทย์แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว
หรือสามารถคำนวณอย่างละเอียดได้โดย
ปริมาณน้ำที่ควรดื่มใน 1 วัน (มิลลิลิตร)
= น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x 33
1
เช่น น้ำหนักตัว 60 กก. x 33 = 1,980 มิลลิลิตร
หรือเกือบ 2 ลิตรนั่นเอง
เรื่องการดื่มน้ำ เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ใครมีปัญหาสุขภาพ ลองปรับเรื่อง “การดื่มน้ำ”
เพิ่มอีกเรื่องหนึ่งด้วยอาจช่วยได้ไม่มากก็น้อยนะคะ
😊😊😊
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ❤️💚
#กระเรียนน้อย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา