26 พ.ค. 2020 เวลา 02:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกิดมาเพื่อปีนเขา! 'ชาวเชอร์ปา' สุดยอดไกด์นำทางแห่งเทือกเขาเอเวอร์เรสต์
WIKIPEDIA CC JAMLING TENZING NORGAY
เมื่อเซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลลารี (Sir Edmund Hillary) พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้ในปี ค.ศ. 1953 น้อยคนนักจะรู้จักผู้ที่ร่วมเดินทางไปกับเขา ชายผู้นั้นคือไกด์ชาวเชอร์ปานามว่าเท็นซิง นอร์เกย์ (Tenzing Norgay)
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ชาวเชอร์ปาคือชนเผ่าที่อยู่อาศัยแถบดินแดนหลังคาโลกแถบเนปาลและทิเบต แต่เดิมมีอาชีพทำการเกษตร เลี้ยงจามรี ลาและม้าในพื้นที่สูง เริ่มมาโด่งดังจากการเป็นไกด์เนื่องจากเป็นมนุษย์คู่แรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้สำเร็จ ชาวเชอร์ปาไม่ได้เป็นไกด์แค่เฉพาะเอเวอร์เรสต์แต่พวกเขายังเป็นไกด์ให้กับเขาลูกอื่นๆ ในแถบนี้ด้วย
คำว่าเชอร์ปา (Sherpa) หลายคนมักเข้าใจผิดว่าแปลว่าไกด์หรือผู้นำทาง แท้จริงแล้วคำว่าเชอร์ปาแปลว่า “คนตะวันออก” เพราะพวกเขาอพยพมาจากฝั่งตะวันออกของทิเบตมากว่า 30,000 ปีแล้ว
ELEMENTS.ENVATO
นักปีนเขาต้องประสบกับความเหนื่อยยากมากเท่าไหร่ ไกด์ชาวเชอร์ปาก็ต้องเหนื่อยมากกว่านั้นเพราะพวกเขาต้องทำหน้าที่ไกด์และลูกหาบในเวลาเดียวกัน ต้องวางแผนสำรวจเส้นทางล่วงหน้า ตั้งแคมป์ให้นักเดินทาง แบกสัมภาระจำนวนมากไว้บนหลัง สิ่งเหล่านี้คงจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่ใช่เพราะพวกเขาคือชาวเชอร์ปา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
งานวิจัยพบว่าร่างกายของชาวเชอร์ปาผลิตเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนน้อยลงเมื่ออยู่บนที่สูง แต่ผลิตไนตริกออกไซด์มากขึ้นเป็นสองเท่าทำให้หัวใจและปอดทำงานได้ดีกว่าคนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เกิดจากการปรับตัวของร่างกายที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น นี่เป็นสาเหตุว่าเหตุใดพวกเขาถึงได้แข็งแกร่งถึงเพียงนี้
123RF
อาชีพไกด์นำทางสร้างรายได้ปีละ 7,000-10,000 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือว่าทำรายได้อย่างงดงามเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยทั่วไปของชาวเนปาล ในแต่ละปีพวกเขาจะมีโอกาสรับหน้าที่ไกด์ได้เฉพาะฤดูปีนเขาเท่านั้น
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้าสถิติผู้ที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้มากที่สุดของโลกจะตกเป็นของไกด์ชาวเชอร์ปาอายุ 48 ปีนามว่า คามิ ริตา (Kami Rita) ที่พิชิตยอดเขานี้ไปแล้ว 24 ครั้ง ซึ่งพ่อและพี่ชายของเขาก็เป็นไกด์เช่นกัน
โฆษณา