Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2020 เวลา 03:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เผยปริศนา 5 ข้อของดาวพุธ ที่นักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้
ดาวพุธนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลของเรา และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ดูเหมือนว่าดวพุธนั้นยังมีองค์ประกอบที่น่าสนใจหลายอย่าง และนี่คือความลึกลับของดาวพุธที่นักวิทยาศาสตร์อยากรู้มากที่สุด
1
WIKIPEDIA PD
1. ดาวพุธเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1
ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเราเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยดาวพุธจะใช้เวลาในการโคจรเป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน มีข้อมูลจากยาน MESSENGER ขององค์การ NASA ที่ได้โคจรรอบดาวพุธเพื่อทำการสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2011 – 2015 ได้เผยให้เห็นว่าบนดาวพุธมีแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ระเหยอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด ในขณะที่แร่ทอเรียมสามารถคงทนต่ออุณหภูมิที่สูงมากได้ Johannes Benkhoff กล่าวว่า บนดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มักมีทอเรียมมากกว่าโพแทสเซียม โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดาวอังคารมาอ้างอิง เพียงแต่บนดาวพุธนั้นพิเศษตรงที่มีโพแทสเซียมมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้ จนทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจว่าจุดกำเนิดของดาวพุธนั้น อาจก่อตัวไกลจากดวงอาทิตย์ในระยะที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งของดาวอังคารในปัจจุบัน โดยอาจถูกชนจากวัตถุขนาดใหญ่เมื่อนานมาแล้วจนโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ก็เป็นได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
2. บนดาวพุธมีน้ำหรือเปล่า?
บนดาวพุธนั้นสามารถวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 450 องศาเซลเซียส ในตอนแรกก็คงไม่มีใครคาดหวังว่าจะพบน้ำบนดาวเคราะห์ดวงนี้ แต่จากการสำรวจของยาน MESSENGER ที่ได้สำรวจหลุมอุกกาบาตบนดาวพุธรอบขั้วโลกเหนือและใต้ ก็พบกับแสงสะท้อนที่เชื่อว่าอาจเป็นน้ำแข็ง Johannes Benkhoff กล่าวว่า อาจมีน้ำแข็งซ่อนอยู่ในหลุมอุกกาบาตเหล่านั้น เนื่องจากดาวพุธนั้นหมุนรอบตัวเองแบบตั้งฉาก ไม่ได้หมุนเอียงเหมือนโลกของเรา ถ้าหากมีน้ำแข็งบนดาวพุธจริง เป็นไปได้ว่าน้ำแข็งพวกนี้อาจมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนดาวพุธมาก่อนหน้า
1
WIKIPEDIA PD
3. ดาวดวงนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า?
บนพื้นผิวของดาวพุธนั้นเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง ไม่มีอะไรน่าสนใจ จนกล่าวได้ว่าในระบบสุริยะของเรา ดาวพุธมักถูกมองข้ามจากการสำรวจเสมอ จนกระทั่งยาน MESSENGER ได้เดินทางโคจรรอบดาวพุธเพื่อตรวจสอบพื้นผิวของดาวเคราะห์อย่างละเอียด ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องกลับมาสนใจดาวเคราะห์ดวงนี้อีกครั้ง เนื่องจากมีการตรวจสอบแล้วพบร่องรอยของการระเหยออกมาจากหลุมอุกกาบาตขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เองก็ตอบไม่ได้ว่ากระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีความเป็นไปได้ว่า บางทีดาวพุธอาจยังเป็นดาวเคราะห์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่เหมือนกับดวงจันทร์ของเราที่ตายไปแล้วก็เป็นได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
4. ทำไมดาวพุธถึงมืดนัก?
ด้วยพื้นผิวที่เต็มไปด้วยฝุ่นและปล่องภูเขาไฟ ทำให้ดูผิวเผินแล้วดาวพุธคล้ายคลึงกับดวงจันทร์ของโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ก็พบกับคำถามว่าทำไมดาวพุธถึงได้มืดนัก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ดาวพุธนั้นส่องแสงสว่างเพียงสองในสามของดวงจันทร์เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่า อาจเป็นไปได้ว่าดาวพุธนั้นมีส่วนประกอบหลักคือแร่กราไฟต์ที่มีสีดำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธาตุคาร์บอน บวกกับความร้อนบนพื้นผิว จึงอาจทำให้ดาวพุธดูมืดกว่าปกติก็เป็นได้
WIKIPEDIA CC A LOOSE NECKTIE
5. สนามแม่เหล็กบนดาวพุธมีที่มาจากไหน?
มีดาวเคราะห์เพียงไม่กี่ดวงในระบบสุริยะของเราที่มีสนามแม่เหล็ก หนึ่งในนั้นก็คือดาวพุธและโลก ดาวอังคารเคยมีสนามแม่เหล็กเมื่ออดีตอันไกลโพ้นแต่ได้สูญเสียมันไปแล้วในปัจจุบัน สำหรับดาวพุธนั้นแม้มีขนาดเล็ก แต่ก็สามารถตรวจจับสนามแม่เหล็ก ที่เข้มข้นน้อยกว่าพลังแม่เหล็กของโลกเราหนึ่งร้อยเท่า จนเป็นคำถามให้นักวิทยาศาสตร์มาขบคิดกันว่าเพราะอะไรที่ดาวพุธถึงยังสามารถรักษาสนามแม่เหล็กให้อยู่รอดได้
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1
โดยสนามแม่เหล็กของโลกเราเกิดจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ส่วนดาวพุธนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจจะมีการหลอมเหลวภายในแกนของดาวพุธเพื่อก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก แต่ด้วยการที่ดาวพุธต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ และโต้ตอบกับแรงโน้มถ่วงของตัวมันเอง จงทำให้เชื่อว่าอัตราการหลอมเหลวภายในแกนภายในของดาวพุธต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย
1
4 บันทึก
43
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อวกาศ วิทยาศาสตร์ การค้นพบ
4
43
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย