Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรุฬหก
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2020 เวลา 11:53 • ปรัชญา
เจตน์จำนงเสรี มีจริงหรือแค่สิ่งลวงตา EP3
Free Will is Exist or is it just an Illusion
Episode 3
เครดิตภาพ : https://twitter.com/Arsyjgot7
ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre)มีแนวคิดเรื่องเจตน์จำนงเสรี ที่แตกต่าจากฮอบส์ โดยซาร์ต จะยกเรื่องสภาพแวดล้อม เช่น ศาสนา สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ออกจากประเด็นนี้ โดยที่เขาเห็นว่าจะเกิดการถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้น แต่ถ้าหาก โฟกัสเจาะเอาที่สภาวะทางใจของเรา
ณ ปัจจุบันขณะ ความรู้สึกชอบไม่ชอบ ลาบหรือพิซซ่า ไม่ใช่Absolute Propertiesของเรา ในความเป็นจริงเราเลือกสิ่งอื่นได้เสมอ ท้ายที่สุดใจของคน มีอำนาจในการเลือก แต่คนเราไม่ได้คิดไม่ได้ถามตัวเองระดับลึกพอ
โดยเราปล่อยให้ความคิดระดับตื้นคอยกระซิบบอกเราว่า เราเลือกหรือไม่เลือกอะไร
ซาร์ตบอกว่า มนุษย์มีแนวโน้มจะอธิบายความคิดของตนโดยอ้างความคิดระดับพื้นผิว เพื่อที่จะแสดงว่า “ที่ข้าพเจ้าต้องทำอย่างนั้นเพราะว่า ข้าพเจ้า ไม่มีทางเลือก” ซึ่งเป็นการDefenceตัวเองอย่างหนึ่ง การปกป้องตัวเองลักษณะนี้เป็นการปฏิเสธเสรีภาพ คนที่มีแนวโน้มจะปฏิเสธเสรีภาพจะเป็นคนที่ลึกๆแล้วไม่มีความสุขในชีวิต
แต่ถ้าใครก็แล้วแต่เป็นคนที่คิดลึกกว่านั้น แล้วไม่ปฏิเสธในการที่ตัวเองสามารถเลือกได้เสมอ ไม่ว่าจะสถาณการณ์ไหน ก็ตาม คนผู้นั้นจะเป็นคนที่สามารถชื่นชมตัวเอง รู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีค่า แล้วเขาจะเป็นคนที่มีความสุขที่สุดซาร์ตยกตัวอย่างง่ายๆ
ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre)
คนที่มีความรับผิดชอบน้อย เราสามารถสังเกตุดูได้ในทุกที่ เช่นเมื่อต้องไปติดต่อเอกสารทางราชการหรือบริษัทเอกชนก็ตาม เรามักจะสงสัยกับระเบียบขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะขั้นตอนการกรองเอกสารและยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ธุรการ ซาร์ตบอกว่า มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เจ้าหน้าที่ธุรการถ้าหากเป็นเจ้าพนักงานในระดับต่ำเท่าไหร่ เขายิ่งจะต้องปกป้องตัวเขาเองเพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นคง คนที่เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการในระดับเบื้องต้นที่ใดก็แล้วแต่
คนเหล่านี้จะเป็นคนที่มีลักษณะเข้มงวดในเรื่องรูปแบบมาก เพราะถือว่าถ้ารับแบบมาแล้วเจ้านายท้วงติงว่า รูปแบบนี้ไม่ถูกต้อง มันอาจเกิดอันตรายกับเขาก็ได้
เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ธุรการที่ใดก็แล้วแต่มักจะเช็คข้อความที่กรอกในเอกสารนั้นถูกหรือไม่ถูกตามแบบฟรอม์ เช่นถ้าเป็นข้อความภาษาอังกฤษ ระบุว่าต้องกรอกด้วยCapital letter(อักษรตัวพิมพ์ใหญ่) ถ้ากรอกตัวพิมพ์เล็กปนเข้าไป เจ้าหน้าที่อาจจะสั่งให้แก้ไขเพราะไม่ถูกต้องตามระเบียบ เช่นถ้ากรอกชื่อเรา มีตัวพิมพ์ใหญ่ปนพิมพ์เล็กบ้าง ซึ่งเราอาจจะท้วงไปว่า ยังไงก็ความหมายเดียวกัน เป็นชื่อที่ใช้เรียกเราอยู่แล้ว โดยปรัชญาภาษาก็ Refer ว่าเป็นเรา ซึ่งเราก็อาจจะพูดได้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูง แต่พูดกับเจ้าหน้าที่ระดับล่างไม่ได้
เพราะเจ้าหน้าที่ระดับล่าง เขาไม่พร้อมจะใช้เสรีภาพในการตีความ
ดังนั้นคนยิ่งปฏิเสธในการใช้เสรีภาพตีความในการยืดหยุ่น ก็คือคนที่มีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด
ถ้ามีการไปสัมภาษณ์ถามความเห็นนายกรัฐมนตรี เรื่องปัญหาต่างๆเช่นเรื่องเศรษฐกิจ ถ้าหากเป็นผู้นำที่ไม่รับผิดชอบ และไม่ใช้เสรีภาพก็คงจะตอบทำนองว่า “ผมยังไม่ได้รับรายงานครับ”
ผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์ นักข่าวสัมภาษณ์ถามอีก ว่าได้รับรายงานหรือยัง ก็จะอาจได้รับคำตอบว่า “ผมได้รับรายงานแล้ว แต่ต้องขอพิจารณาก่อน”
แต่แล้วผ่านไปอีก เจ็ดวัน นักข่าวถามอีกว่าพิจารณาหรือยัง ก็จะได้รับคำตอบว่า“ผมไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จครับ
ต้องรอส่งให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาก่อน” ผ่านไปอีกสามเดือน ก็ยังวนเวียนอยู่ในคณะกรรมการต่อไป
ลักษณะนี้คือผู้นำที่ไม่รับผิดชอบ เพราะเกรงที่จะใช้เสรีภาพว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้นำมีอำนาจสูงสุด ดังนั้นข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะไปเช็คดู ถ้าเรื่องไหนที่จำเป็นเร่งด่วน ข้าพเจ้าก็จะสั่งการ ประเภทที่ต้องรอรับรายงานก่อน
หรือส่งคณะกรรมการก่อน ต้องประชุมปรึกษากันก่อน พวกนี้คือ พวกปลอดภัยไว้ก่อน นายกแบบนี้คือนายกธุรการ ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในแง่ที่เป็น Executive power
แต่ถ้าเป็นผู้นำที่พิจารณาและกล้าสั่งการด้วยวินิจฉัยของตนเองอย่างรอบคอบ นี่คือนายกที่รับผิดชอบ ซาร์ตบอกว่าในระยะยาวคนที่มีลักษณะแบบหลัง จะเป็นคนที่มีความภูมิใจในตัวเอง และเป็นที่ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตอาจต้องระหกระเหินขึ้นๆลงๆเพราะว่าเป็นคนที่ไม่เซฟตัวเอง สิ่งใดอะไรที่ใช้ดุลพินิจได้เขาจะใช้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจก็เหมือนศาล
ผู้พิพากษาคนใดที่ใช้ดุลพินิจ มีแนวโน้มว่าผู้พิพากษาคนนั้นมีโอกาสที่จะถูกสอบสวนฯ แต่ถ้าพิพากษาตามยี่ต๊อก ตามกฏเกณฑ์มาตราจะไม่มีใครมาสอบฯ เพราะว่าเหมือนเจ้าหน้าที่ธุรการ ทำทุกอย่างเป๊ะๆ แต่ในมุมมองของซาร์ตบอกว่า เป็นผู้พิพากษาแล้วไม่ใช้ ดุลพินิจเลย ก็ไม่ต่างอะไรกับหุ่นยนต์ เป็นคนที่ไม่ใช้Free Willของตัวเองเลย
มีFree Willแต่ไม่ใช้ ก็เท่ากับลดราคาลดคุณค่าของตัวเองเป็นเครื่องจักรกล ซาร์ตจึงให้ตั้งคำถามให้เราถามตัวเราเองว่าเราเลือกได้เสมอมั้ย
เขาตั้งสมมุติฐานว่า ถ้ามีคนเอาปืนมาจี้หัวเรา แล้วบอกให้ส่งของมีค่าให้เขา เช่นสมมุติว่าปล้นพระ ให้ส่งเงินในย่ามนั้นให้โจร แล้วพระท่านก็ส่งเงินให้ โดยที่ก็รู้ว่าเงินในย่ามเป็นเงินของญาติโยมที่ท่านต้องเอาเข้าธนาคารจากการบริจาคสร้างโบสถ์วัด แล้วก็อธิบายให้ญาติโยมและตำรวจฟังว่า การที่ต้องยื่นเงินในย่ามให้โจรไปเพราะถูกโจรจี้หัว ถ้าไม่ส่งให้ก็จะโดนยิงตาย
เครดิตภาพ: https://pantip.com
ซาร์ตบอกว่า แม้แต่ในกรณีนี้ หากวิเคราะห์ดีๆ พระในเคสนี้ก็ยังปฏิเสธในการใช้เสรีภาพ ซาร์ตบอกว่ายังมีแนวทางให้เลือกอยู่ คือไม่ยอมส่งเงินนั่น แล้วก็ตาย ซาร์ตบอกว่าน้อยคนที่จะเลือกใช้เสรีภาพ อย่างจริงๆ ซึ่งมีคนไม่กี่คนในโลกและเป็นคนในระดับสูงจริงๆ
ถ้าในมุมนี้ พระอรหันต์อาจเป็นคนที่ใช้เสรีภาพมากที่สุดแบบซาร์ต
ยกตัวอย่างในธรรมบทที่กล่าวถึงพระอรหันต์ที่ได้รับนิมนต์ไปฉัน ในบ้านของช่างทอง
เรื่องนกกะเรียนโฉบเอาทับทิมของพระราชาไป
พระอรหันต์ท่านนั้นเห็นว่านกเอาทับทิมไป ท่านมีทางเลือกสองทางคือ
๑) บอกความจริงกับนายช่างว่านกกลืนทับทิมไป แต่ถ้าท่านใช้เสรีภาพในทางนี้บอกความจริง นกกะเรียนจะต้องตาย
๒) แต่ถ้าท่านเลือกที่ไม่พูดก็สุ่มเสี่ยงที่นายช่างจะเข้าใจว่าท่านเป็นคนเอาไป ทั้งนี้ตัวพระอรหันต์รูปนี้ท่านเสี่ยง แล้วท่านเป็นคนที่ได้รับผล แสดงถึงว่าพระอรหันต์เป็นบุคคลที่มีความรับผดชอบสูง สูงมากในขนาดที่ไม่ห่วงสวัสดิภาพของตัวเอง คือใช้เสรีภาพในการปกป้องคนอื่น แล้วไม่ปกป้องตัวเอง
ดังนั้นในทรรศนะของซาร์ต เป็นไปได้ที่จะมองว่า ถ้าหาตัวอย่างไม่ได้ ว่าคนที่จะใช้เสรีภาพสูงสุดในอุดมคตินั้นจะหาได้ที่ไหน
ทุกคนในโลกเวลาถูกโจรจี้เราก็ยอมทั้งนั้น เราก็จะสามารถยกตัวอย่างพระอรหันต์ได้ว่า คนแบบนี้มีอยู่จริงปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา
เครดิตภาพ: https://pantip.com
เมื่อเทียบแนวคิดเรื่องเจตจำนงเสรี free will ในทาง สังคมวิทยา อาชญาวิทยา ในวงการการศึกษา
แนวคิดของโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) มีอิทธิพลที่สุดในเวลานี้
พวกที่ชอบรณรงค์ให้ยกเลิกการประหารชีวิต กลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิด Free Will แบบฮอบส์
มีทนายความที่มีชื่อเสียงในอเมริกาคนหนึ่ง ได้รณรงค์และนำเสนอเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต นักโทษคดีฆาตกรรม ใดยให้เหตุผลว่า การที่คนเป็นฆาตกรนั้นไม่มีใครเลือกสมัครใจที่จะเป็น ที่ต้องเป็นฆาตกรนั้นเพราะถูกสร้างมาให้เป็นจากสภาพแวดล้อม ความกดดันจากสังคมที่อยู่
ซึ่งสามารถโน้มน้าวคณะลูกขุนให้มีท่าทีว่าจะคล้อยตาม ว่าลูกความของเขานั้นไม่ได้เป็นคนเลวและน่าเห็นใจ โดยเป็นคนที่ถูกสภาพแวดล้อม ถูกพ่อแม่ที่ขี้เมาทำร้ายตั้งแต่เด็ก แล้วเกิดในสภาพแวดล้อมที่เพื่อนฝูงมีแต่คนแย่ๆ
ถูกผลักจากสังคมเป็นทอดๆ เป็นเหตุปัจจัย หล่อหลอมให้เด็กคนนี้ ทำผิดพลาดจนเป็นฆาตกรฆ่าคนตาย
จึงสมควรต้องเห็นใจมากกว่าการซ้ำเติม
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
เพราะไม่ได้เป็นคนชั่วโดยสันดาน เขาถูกผลักจากสังคมให้มาเป็นคนที่มีบุคลิกแบบนี้
ด้วยวาทะศิลป์ คำพูดดี บรรดาลูกขุนก็มีความรู้สึกว่าเป็นข้อเท็จจริงอย่างที่เขาพูด จึงลงโทษไม่มาก
แต่ซาร์ตนั้น มีแนวคิดตรงกันข้าม
โทษประหารชีวิตในทรรศนะของซาร์ตมีได้ ควรมีและอธิบายได้ เพราะท้ายที่สุด การอ้างที่จะบอกและว่า ไม่มีใครเลือกที่จะชั่ว ซาร์ตบอกว่า ไม่จริง มนุษย์มีเจตจำนงเสรี ถึงที่สุดที่จะเลือกได้ว่า เป็นคนแบบไหน ดังนั้นการที่ ฆ่าคนตาย มันเป็นความจริงว่า
เขาอาจจะถูกผลักมาโดยสังคม แต่ท้ายที่สุดผู้ที่จะตัดสินมันคือเขาเอง พ่อแม่ที่ทำร้ายเขามา หรือสังคมที่แวดล้อมก็เป็นเพียงเหตุปัจจัยภายนอก
เครดิตภาพ: https://th.theasianparent.com
จึงได้มีตัวอย่างผู้พิพากษาบางคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น คนฟัง ทนายความอ้างเหตุผลทำนองว่า สภาพแวดล้อมนั้นปั้นให้ลูกความของเขาเป็นฆาตกร
การถูกปั้นมาแบบนี้ลูกความของเขาจึงน่าสงสาร ผู้พิพากษาคุยกับทนายนอกรอบและยกตัวอย่างตนเองว่าตัวผู้พิพากษานั้นก็มาจากสลัม มาจากสภาพแวดล้อมที่ทนายอ้างนี่แหละ แต่ก็สามารถยกระดับตัวเองเป็นผู้พิพากษาได้
“ทุกอย่างมันอยู่ที่เรา ดังนั้นหากคุณอย่ามาอ้างว่า สลัมปั้นแต่งให้ลูกความของคุณเป็นฆาตกร ถ้าคุณอ้างอย่างนั้น ผมก็ต้องเป็นฆาตกรแล้ว ไม่ได้มาเป็นผู้พิพากษาหรอก”
ซาร์ต จึงกล่าวถึงมนุษย์ว่ามีเสรีภาพอยู่โดยปกติอยู่แล้ว ขึ้นอยู่ที่มนุษย์เองจะใช้เสรีภาพหรือเปล่า
เสรีภาพ คือคำที่มีความหมายกว้างแต่สามารถกล่าวรวมลงในความหมาย ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แนวคิดสองลักษณะ ได้แก่ทางศาสนาและปรัชญา นอกจากนี้แนวคิด “อัตถิภาวนิยม (Existentialism)” ของฌอง-ปอล ซาร์ต มีแนวคิดที่บอกว่ามนุษย์ความสามารถที่จะเลือกทำสิ่งใด ก็ได้ตามเจตจำนงของตนเอง
ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถสร้างชีวิตของตนให้เป็นไปตามความต้องการ ซาร์ต ได้แสดงแนวคิดที่เกี่ยวกับมนุษย์ว่า “มนุษย์ถูกสาปให้มีเสรีภาพ” (Man is condemned to be free.)
เครดิตภาพ: ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre)
เพราะมนุษย์ไม่อาจปฏิเสธเสรีภาพของตนเองได้ และมนุษย์ไม่สามารถยุติการเลือกได้ตราบเท่าที่ ยังมีลมหายใจอยู่ ด้วยเหตุนี้เสรีภาพจึงต้องอยู่ควบคู่กับการเป็นมนุษย์เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ และแสดงถึง (Being) คือความเป็นมนุษย์ แต่เสรีภาพในที่นี้ มิใช่เสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ตามที่ใจปรารถนา แม้ว่ามนุษย์ สามารถที่จะเลือกหรือตัดสินใจอะไรก็ได้ แต่มนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อการเลือกและการตัดสินใจนั้น กล่าวคือ มนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อการใช้เสรีภาพของตนเลือก
การกระทำที่ไม่กระทบกระเทือนเสรีภาพของคนอื่น และยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ควรเลือกการกระทำที่ส่งเสริมเสรีภาพของตนเองและของผู้อื่นด้วย ณอง ปอล ซาร์ต แบ่งความเป็นมนุษย์ออกเป็น ๒ ประเภท
๑) ภาวะในตัวเอง (Being-in-itself) ซาร์ตหมายถึง วัตถุทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่มีความสำนึกใด ๆ คือเป็นสิ่งมีอยู่แต่ไม่รู้ว่ามีคุณค่าอะไรหรือมีประโยชน์อย่างไร วัตถุทั้งหลายทั้งปวงเป็นอย่างที่มันเป็น เช่นนั้น ไม่มีความสามารถที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งอื่นได้ ภาวะในตัวเองเป็นสิ่งสมบูรณ์ ในตัวมันเอง คือเป็นอย่างที่เป็นอยู่อย่างนั้น ลักษณะสำคัญของภาวะในตัวเองคือความไร้สำนึก
๒) ภาวะสำหรับตัวเอง (Being-for-itself) ซาร์ตหมายถึง สิ่งที่มีอยู่ ที่มีความสำนึก จึงไม่ใช่ มีอยู่แบบธรรมดา แต่สามารถกำหนดคุณค่าให้แก่ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเองและสิ่งนี้คือมนุษย์นั่นเอง มนุษย์ในที่นี้ก็จำกัดอีกว่าเป็นความสำนึกเท่านั้น หรือภาวะสำหรับ ตัวเองนั้น คือ “จิต” ของมนุษย์นั่นเอง” จึงเรียกการมีอยู่ของมนุษย์ว่าอัตถิภาวะ (Existence)
เพื่อแสดง ให้เห็นว่าเป็นสิ่ง มีอยู่ที่แตกต่างจากสิ่งอื่นๆ โดยที่มนุษย์ประสบความสำเร็จได้ด้วยสัญชาตญาณที่มีการพัฒนา และจากพื้นฐานเจตน์จำนง
จากการ กล่าวถึงข้อพิสูจน์นี้ เจตจำนงที่จะมีอำนาจจึงเป็นศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวของมนุษย์ และมนุษย์เอง ก็สามารถค้นหาตัวตนได้ด้วยเจตจำนงที่จะมีอำนาจ โดยผ่านการทดสอบแล้วแปรสภาพจนกระทั่งเข้าใจในตนเอง ความหมายของแนวคิดด้านปัจเจกนิยมอีกแนวคิดคือ อำนาจที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ภายในตัวเอง และเป็นอำนาจเชิงสร้างสรรค์สำหรับตนเอง อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันขั้นมูลฐานของชีวิตที่มนุษย์สามารถ ควบคุมด้วยการใช้เหตุผลคิดตรึกตรองจนเกิดความเชื่อมั่น แล้วลงมือกระทำให้บรรลุจุดหมายตามที่ตั้งใจไว้
ดังนั้นการดำเนินชีวิตด้วยเจตน์จำนงที่จะมีอำนาจ จึงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และเป็นปัจเจกบุคคล
จากข้อมูลและแนวคิดเปรียบเทียบระหว่าง โทมัส ออบส์ และ ฉอง ปอน ซาร์ต ก็ยัง ก้ำกึ่งกินกันไม่ลง เพียงแต่ว่าในวงการกฎหมาย สังคมวิทยา อาชญาวิทยา ในวงการความยุติธรรม แนวคิดแบบฮอบส์ ที่บอกว่ามนุษย์ไม่ได้เลือกอะไร เราถูกปั้นแต่งมา มีอิทธิพลมาก
แต่ในขณะเดียวกันก็มีแนวคิดแบบซาร์ต สรุปแล้วพุทธศาสนาเป็นแบบ ซาร์ต หรือเป็นแบบ ฮอบส์ หรือว่าจะมีแนวโน้มเป็นไปได้ทั้งสองทฤษฏี แต่ก็มีทฤษฏีหนี่งที่อยู่ระหว่างกลางของสองแนวคิดนี้คือพวก Competibleitiem ซึ่งก็มีคนให้ความเห็นว่า พุทธศาสนาจะมีลักษณะแบบนี้ คือดูเป็นเรื่องๆไป
ถ้าเป็นคนที่ได้รับการฝึกฝนมาน้อย แนวโน้มชองเพื่อนฝูงที่จะดึงไปในทางชั่วหรือดี นั้นมีสูง คือถ้าเป็นคนที่ฝึกตนน้อย ถ้าบังเอิญแวดล้อมด้วยเพื่อนที่ไปวัดก็คงไปวัดกับเขาด้วยก็ดี แต่ถ้าบังเอิญไปอยู่กับเพื่อนที่ใม่ไปวัดแต่ไปกินเหล้าเมายาก็มีแนวโน้มง่าย แต่บางคนนั้นเกิดมามีการฝึกตน เป็นคนค่อนข้างจะแข็ง แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ เพื่อนชักนำให้ไปกินเหล้าเมายา คนๆนี้ก็มีความยับยั้งชั่งใจ ดังผู้พิพากษาในตัวอย่าง
เครดิตภาพ: https://www.chonburipost.com
ซึ่งพุทธศาสนาจะอธิบายเรื่องนี้ว่า คนเราเกิดมากรรมเก่าเราไม่เท่ากัน กรรมเก่าอยู่ในที่ ที่จะถูกคนชักจูงง่าย ชักจูงอย่างง่ายๆ เป็นเพราะว่าในอดีตชาติ เขาคนนั้นถูกอบรมในแง่ของการเป็นตัวของตัวเองน้อย แต่ถ้าหากบังเอิญได้เพื่อนดีก็ดีไป แต่ถ้าได้เพื่อนชั่วก็แย่ เป็นไปได้ง่ายทั้งดีและชั่ว บางคนยาก ชวนไปวัดก็ยังยาก ต้องดูก่อนว่าเป็นวัดแบบไหน
ในทางอภิธรรมเมื่อเวลาเราพูดถึงเจตสิก มีเจตสิกที่เป็นอสังขาริก คือจิตนั้นเข้มแข็งด้วยตัวมันเอง ส่วนสสังขาริก คือจิตที่ไม่แข็งจะถูกข้างนอกชักจูง จิตที่เป็นสองลักษณะแบบนี้ มันเกี่ยวข้องกับการปลูกฝังอบรมมาต่างกัน คราวนี้ถ้าใครเกิดมาแล้วเป็นคนจิตอ่อน ก็ต้องถูกกระตุ้นถูกชักนำด้วยครอบครัว เพื่อนฝูง สังคมอย่างสูงฯลฯ ถึงจะทำให้เขาเป็นคนดีได้ แต่ถ้าเขาคนนั้นโชคร้าย อยู่ในสังคม อยู่ในครอบครัวที่ไม่ดี อยู่ในศาสนาที่รุนแรง คนคนนั้นก็มีแนวพฤติกรรมที่ Negatives
เครดิตภาพ: https://www.amarinbabyandkids.com
แต่ถ้าเป็นคนที่มีจิต หรือเจตสิกที่เข้มแข็งด้วยตัวของเขาเอง คนจำพวกนี้จะเป็นคนที่คล้ายๆกับที่ซาร์ตบอก คือถ้าเป็นนายกก็จะเป็นนายกที่รับผิดชอบ ไม่ใช่เป็นนายกแบบธุรการ
ยังไม่จบนะครับ โปรดติดตามตอนต่อไป
Episode 4
แหล่งอ้างอิง
1.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
2.จำนง ทองประเสริฐ. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
3. วศิน อินทสระ. พุทธปรัชญาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
4. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). มงคลยอดชีวิต (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๕.
5. สมภาร พรมทา. มนุษย์กับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สยาม, ๒๕๓๘.
6. สุวรรณา สถาอานันท์. ปรัชญาพุทธทาสกับมหายานธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, (๒๕๓๖).
-วิรุฬหก-
12 บันทึก
33
16
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เจตน์จำนงเสรี มีจริงหรือแค่สิ่งลวงตา Free Will is Exist or is it just an Illusion
12
33
16
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย