27 พ.ค. 2020 เวลา 11:33 • สุขภาพ
สวัสดีในวันทำงานที่แสนสุขค่าา... เพื่อนๆ 💗🥰💕
และแล้วก็ได้เวลาของวิชาการ (อันนานๆมีที) กันบ้างดีกว่าค่ะ
เพราะชักสำนึกกับตัวเองได้แล้วว่า น่าจะดีกว่า ถ้าเราใช้พื้นที่ตรงนี้สำหรับสาระกันบ้าง 😄🌷⏰
เพื่อนๆ เคยได้ยินคำว่า การระงับความรู้สึกเฉพาะกลุ่มเส้นประสาท บ้างมั้ยเอ่ยยย... อันนี้ต่างกลุ่มกันกะที่เรียกกันว่า บล็อคหลัง นะเออ
อันบล็อคหลังนั้น จะเล่นชากันครึ่งตัวกันเลยทีเดียวเชียว แต่ที่จะว่ากันวันนี้คือ ใส่ยาชาเฉพาะตรงจุดของกลุ่มเส้นประสาท ที่เลี้ยงในตำแหน่งตรงที่จะผ่าตัดเท่านั้น
เช่น ถ้าผ่าตัดที่มือก็ให้ชาเฉพาะแขนจรดมือ ผ่าที่เท้าก็ให้ชาเฉพาะส่วนที่ผ่าตรงเท้าเท่านั้นยิ่งดี ซึ่งแบบนั้นคือ การระงับความรู้สึกในอุดมคติ รึที่เราเรียกว่า ideal anesthesia
แต่..ทว่า ชีวิตในอุดมคตินั้นทำได้มิง่ายเลยค่ะ กว่าจะทำเช่นนั้นได้ต้องมีกรรมวิธีและเครื่องมืออันมากมาย
เพราะเส้นประสาทที่ว่ามา เค้าชอบแนบอิงแอบกับเส้นเลือดใหญ่ๆ
แหมๆ ยังกะจะแกล้งหมอดมยากันเลยเนอะ ๕๕๕ 😋💗✌
Stanford U. ; CA summer 2019
ในยุคที่ดิชั้นเพิ่งมาทำงานใหม่ๆ การบล็อคกลุ่มเส้นประสาทจะใช้วิธีบ้านๆมากเลยค่ะ
คือเราต้องแม่นใน anatomy สุดๆว่า ตำแหน่งเส้นประสาทจะพาดผ่านระหว่างกล้ามเนื้อมัดใดบ้าง 🌸🧭🌿
เมื่อเราเล็งanatomyคนไข้ จนคิดว่าแม่นยำพอก็ลงเข็มลงไป ถ้าเข็มลงตรงจุดคนไข้จะรู้สึกเหมือนไฟช้อตไปตามปลายประสาท เราก็ถอยเข็มจิ๊ดนึง เพื่อลดการจิ้มยาโดยตรงกับเส้นประสาท
เพราะเป้าหมายเราคือ ใส่ยาชาเข้าไปอยู่ภายในปลอกของกลุ่มเส้นประสาทเพื่อหวังให้ยาชาเข้าล้อมเส้นประสาท ที่เลี้ยงตำแหน่งตรงที่ผ่าตัด 💉💊
เป็นไงคะ อ่านจนปวดประสาทกันไปรึยังเอ่ย ๕๕๕ แต่ปัจจุบันกรรมวิธีบ้านๆงี้มิค่อยเหลือแล้วค่ะ
เพราะยุคใหม่ใช้เครื่องultrasound เพื่อหาเส้นประสาท หวังเพื่อลดการฉีดยาชาโดยตรงโดยเส้นประสาท
และที่สำคัญที่สุด เราไม่ต้องการให้ยาชาหลงเข้าไปในระบบเส้นเลือดเป็นอันขาด
เพราะถ้ายาชาเข้าไปในระบบหลอดเลือดที่ปริมาณมากพอ จะก่อผลต่อให้ระบบหัวใจและเส้นเลือดล้มเหลว และอาจถึงขั้นอาการรุนแรงได้ 🍭☕
หน๑ เคยเจอะกะตัวเองคือ คนไข้ผ่าตัดกระดูกมือและนิ้ว ตอนนั้นยังใช้วิธีบล้อคเส้นประสาทแบบบ้านๆดั่งที่ว่า
พอคนไข้บอกเหมือนไฟช้อตแปร๊บไปที่นิ้วปุ๊บ ดิชั้นก็ทำตามขั้นตอนตามที่เล่ามา
แต่ขณะเดินยาชาอย่างระมัดระวังก็คอยสังเกตอาการไปด้วย เครื่องมือวัดชีพจรและความดันก็วัดอยู่เรื่อยๆ เพื่อระวังภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาชาโดนเส้นเลือด 💕😷💗
อ้อๆ ลืมบอกไปว่าคนไข้ของดิชั้น ชีมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่ะ
สักพักชีบอกว่า " มึนๆแล้วหมอ " ไอ่เราก็.. เฮ้ย มึนหัวเหรออ ?!
มันเป็นอาการแรกๆของ ฉีดยาชาเข้าเส้นเลือดนิหว่า !!!
หันไปบอกทีมให้เตรียมพร้อมทั้งยาและเครื่องมือresuscitate แล้วถามย้ำกะคนไข้อิกที๑ ' มึนหัวมากมั้ย? แล้วเป็นไงมั่งคะ?! '
... ป่าวววหมอ มึนๆที่แขนต่ะหากค่ะ.. ชีตอบงี้ ยัยหมอดมยาก็ชักงง อะไรหว่า?? มึนแขน ?!? มันคืออิรายยย ....? ดิชั้นไม่เก๊ท 🧭🌸
เพื่อนๆพิกัดภูมิภาคอิสานน่าจะเดาออกกันแล้ว ใช่มั้ยคะ?
'มึนแขน'ของคนไข้คนนี้ คือ แขนเริ่มมีอาการชาๆจากยานั่นเอง
แต่ยัยหมอคนฉีดยาไม่เก๊ทคำบอกคนไข้ซะงั้น ดันเข้าใจผิดไปนู่นนน...แน่ะ
แหม .. ก็นะ ใครจะไปรู้ล่ะว่าคำว่า'มึน' จะแปลว่า ชา ดีนะที่ไม่ต๊กกะใจจนเว่อร์วังไปกว่านี้
สรุปว่า ยาชาออกฤทธิ์ดีงามตามใจหวัง การผ่าตัดก็เรียบร้อยดี
เฮ้อออ.... แค่ภาษาผิดชีวิตก็ตื่นเต้ลลล์
๕๕๕ 😅💊🤣
อันนี้เล่าให้ขำๆ แต่ตอนนั้นก็ตกใจจริงๆ เพราะภาวะแทรกซ้อนจากยาและการรักษา มันมักจะมาเป็นแพ้ค ดังคำที่ว่า
" สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นมักมีโทษมหันต์ "
คุณอนันต์ระวังตัวไว้ด้วยนะคะ ส่วนคุณเอนกคุณได้ไปต่อค่ะ เฮ้ย! ไม่ใช่แระ!! มันคนละเรื่องกัน!!! แฮ่ๆ 😅🎈🤣
ปล. ถึงรูปประกอบจะไม่เกี่ยวกับเรื่อง ( ซึ่งเป็นบ่อยสำหรับเพจนี้ ) กิกิ 🤗🎉
แต่หวังใจว่าเพื่อนๆร่วมซอยBD คงจะได้ประโยชน์อันน้อยนิดแสนกะจิ๊ดๆ จากดิชั้นไปบ้างนะคะ
ดูแลตัวเองรักษาสุขภาพ ห่างไกลโรงพยาบาลกันทุกๆท่านนะคะ
c U kaa... 💗😷🍭
โฆษณา