29 พ.ค. 2020 เวลา 11:39 • สุขภาพ
🌊🏖 โลกใต้ทะเลของหนอนน้อยซ์ตอนนี้ ขอเป็นตอนพิเศษนะคะ เพราะจะเล่าเรื่องความปลอดภัยของก๊าซที่ใช้ในร่างกายของคนเรา
💗😷💕
เพราะอากาศที่หายใจเข้าไปทุกวันๆ พอเอาเข้าจริง ก็ก่อภาวะฟองอากาศภายในเส้นเลือด เช่นกรณีของนักดำน้ำและเกิดอันตรายได้ง่ายๆซะงั้น ว้าๆ 😷💟🙂
ความเดิมตอนที่แล้ว ว่าด้วยอากาศที่ใช้หายใจซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถแปลงเป็นตัวร้ายกลายเป็นฟองอากาศขนาดจิ๋วไหลเวียนในระบบหลอดเลือด จนส่งผลอุดตันต่ออวัยวะ และก่อโรคร้ายแรงให้ร่างกายของนักดำน้ำได้
🌊🦈 🐳
ดั่งสุภาษิตที่ว่าไว้ อากาศที่มีคุณอนันต์อาจสร้างโทษมหันต์ได้ ถ้าเราใช้ไม่ถูกที่และฟองอากาศอยู่ผิดทาง
และก๊าซทางการแพทย์ก็ใช้หลักการเดียวกัน เพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาและผ่าตัดผู้ป่วย
วันนี้จะขอยกตัวอย่าง แค่ก๊าซชนิดเดียวก่อนค่ะ เพราะใช้แพร่หลายกันมากสำหรับการผ่าตัดในยุค MIS ( Minimal Invasive Surgery ) รึให้แปลอีกสักทีคือ การผ่าตัดแบบแผลขนาดเล็ก ง่ายๆก็คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องผ่านผนังหน้าท้องนั่นล่ะค่ะ
และถ้าใครอ่านบทความโลกใต้ทะเลตอนที่ผ่านมา คงจะมั่นใจว่าก๊าซที่จะใช้ในงานนี้มิมีทางจะเป็น ก๊าซชนิดไนโตรเจน รึง่ายๆคืออากาศ แน่นอนๆ
เพราะก่อภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยชนิด air emboli ได้โดยง่าย งั้นให้ลองเดากันดีกว่า ว่าก๊าซทางการแพทย์ยอดฮิตสำหรับผ่าตัด
คือ ก๊าซอะไรเอ่ยยย..?
ติ๊กต่อกๆๆ ⏰🧭⏲
pix.cr. ; pinterest
กริ๊งงงงงงงง.......หมดเวลาแล้วคร้าาฟฟฟ อิอิ ใครตอบอ๊อกซิเจนกันบ้างเอ่ยยย..
มั่นใจกันล่ะสิว่าถูกชัวร์ๆ ๕๕๕
แต่ทว่า... ผิดค่ะ !!!! 😷⚒🤣
ถึงอ๊อกซิเจนจะดูดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อฟองอากาศ แต่ใช้ในงานผ่าตัดไม่ได้เด็ดขาดค่ะ
เพราะมันเป็นก๊าซชนิดติดไฟ นั่นแน่ๆ งงลาซี่ว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน???
ก็เกี่ยวตรงที่ การผ่าตัดต้องมีการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าเพื่อหยุดเลือด แล้วจี้ไฟฟ้าพวกนี้ก่อเกิดความร้อนและประกายไฟได้ค่ะ เรามิต้องการให้ไฟลุกในร่างกายคนไข้นี่คะ เลยต้องขอบอกผ่าน แฮ่ๆ 🤩💘😷
งั้นเฉลยเลยแล้วกันค่ะ คือ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่ร่างกายเราผลิตแล้วใช้หายใจออกกันไงค้าาา.. งงมั้ยๆ?!? ว่าทำไมต้องเป็นก๊าซตัวนี้ ก็เพราะเทียบความปลอดภัยในการผ่าตัด จากทุกๆชนิดก๊าซที่ใช้ได้ในร่างกายคนเรา 🤗💉🥰
ต้องคาร์บอนไดอ๊อกไซด์นี้ล่ะ ที่ปลอดภัยสุดๆ เพราะละลายในกระแสเลือดได้ง่าย ไม่มีภาวะ air emboli , ไม่ติดไฟ 💟🧯
สรุปคือ มีภาวะแทรกซ้อนน้อยสุดเมื่อเทียบกับก๊าซตัวอื่นๆ
2
แล้วทำไมการผ่าตัดส่องกล้องต้องใช้ก๊าซใส่เข้าในช่องท้องด้วยล่ะ?!? คำตอบก็คือ...
เพื่อสร้างspaceในการมองเห็นและเข้าถึงอวัยวะภายในช่องท้องได้ง่ายๆน่ะค่ะ กรรมวิธีคืออัดลมรึก๊าซที่ว่าผ่านเข้าไปก่อน
🔪✂️💉
แล้วค่อยจิ้มกล่องและเครื่องมือผ่าตัดผ่านตามลงไปได้อย่างง่ายดาย ม่ายงั้นทั้งลำส้งลำไส้เครื่องนงเครื่องใน คงได้ติดหนุบหนับเกี่ยวพันกะเครื่องมือของศัลยแพทย์เค้าแน่ๆ อิอิ
ที่อ่านไปหวังว่าคงไม่หวาดเสียวกันนะคะ เพราะการผ่าตัดอยู่กะมนุษย์โลกมาหลายร้อยปีแล้ว ถ้าจะนับการผ่าศพเพื่อการศึกษา และเพื่อการวาดรูปของศิลปินยุคต้นเข้าไปด้วย
😷💕😅
และยุคนี้เป็นยุคที่มาแรงมากๆ ของการส่องกล้องเข้าไปผ่าตัดนุ่นนี่ประดามีของร่างกายเรา ผ่าเสร็จพักแป๊บนึง ออกจากรพ.ก็มีแผลเพียงน้อยนิดกะจิดริด น่าอวดเพื่อนๆจะตายไป แล้วจะอวดไปเพื่อ... ?! ๕๕๕ 🥰💉🤩
แล้วค่อยหาความรู้ย่อยง่ายๆ มาเสริฟอีกนะค้าาา
สุขสันต์กันทุกๆท่านค่ะ
c U kaaa..
🥰🌸🤩
โฆษณา