Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฉุดคิด
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2020 เวลา 11:39 • การศึกษา
อนาคต เกิดขึ้นจากปัจจุบัน
แต่การที่จะทำปัจจุบันให้ดี ต้องรู้จัก เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตด้วยเช่นกัน
ที่มาของการศึกษาเป็นอย่างไร วันนี้จะเล่าให้ฟัง
ก่อนที่เราจะไปพบกับการศึกษาในอนาคต เรามาเรียนรู้กันหน่อย ดีกว่า ว่าในอดีตแล้วการศึกษาเป็นอย่างไร
การศึกษาคือ สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์
แท้จริงแล้วเรามีการศึกษาและเรียนรู้ ที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์แล้ว ตั้งแต่ในตอนที่เรายังไม่มีภาษาใช้ แต่ก็สามารถถ่ายทอดวิธีเอาตัวรอดจากนักล่าอย่าง ไดโนเสาร์ และ วิธีล่าสัตว์ เพื่อหาอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการศึกษา และก็เรียนรู้ทั้งสิ้น
แต่ในเมื่อตอนนั้นยังไม่มี ภาษาสำหรับสื่อสารอย่างเป็นทางการ การไม่เข้าใจกันจึงมีมากกว่า การศึกษา ได้กำเนิดอย่างแท้จริงก็เมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมานี่เอง
นับตั้งแต่มนุษย์มีภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ก็เริ่มมีการ สอนและถ่ายทอดความรู้สู่กันและกันมากยิ่งขึ้น แต่นั่นยังไม่ถึงจุดที่ทำให้ความรู้สามารถเผยแพร่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งวันหนึ่ง เราได้บัญญัติ ภาษาเขียนขึ้นมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ของการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
การที่มนุษย์มีภาษาเขียนขึ้นมานั้น ทำให้สามารถถ่ายทอด องค์ความรู้ที่มีผ่านตัวอักษรที่เกิดขึ้น เราจะเห็นได้ว่าก่อนที่กระดาษจะถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ มนุษย์ ใช้วิธีขีดเขียน รวมถึงสลัก เรื่องราว ข้อความต่าง ๆ ลงในผนัง หรือแผ่นหิน อย่างที่เราเคยเห็น กันมาแล้ว
พอเราสามารถที่จะพูดได้ เขียนได้ ต่อมาเราจึงพัฒนาให้การเขียนสามารถส่งต่อและถ่ายทอดไปได้ง่ายดายมากขึ้น นั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของกระดาษ
อย่างที่รู้กันว่า การเขียนบนหิน หรือสลักลงไปนั้น มันไม่ได้สะดวกในการถ่ายทอดขนาดนั้น บางทีก็เลือนลางไปตามสภาพของธรรมชาติ แต่เมื่อบันทึกลงกระดาษ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายง่ายดายยิ่งขึ้น สามารถส่งต่อความรู้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่าหนังสือนั่นเอง!!
ในยุคกรีกโบราณ น่าจะเป็นช่วงแรก ๆ ที่มนุษย์นั้นผลิตกระดาษขึ้นมาใช้ อย่างเช่นที่ เพลย์โต และ อริสโตเติ้ล ได้ เขียนหนังสือต่าง ๆ ขึ้นมา เป็นความรู้ทั้งในด้านปรัชญา การเมือง ฯลฯ จนกลายเป็น นักปราชญ์ ที่โด่งดังนั่นเอง
เพลโตและอริสโตเติ้ล
และสิ่งต่อมาที่ถือกำเนิดตามมานั่นก็คือ โรงเรียน
สมัยก่อน คงจะไม่ใช่คำนี้อย่างแน่นอน คงจะเป็นเพียง สถานที่ สถานที่หนึ่ง ที่มีการรวบรวมองค์ความรู้ และนำความรู้นั้นมาถ่ายทอดให้กับบุคคล จนเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เราจึงบัญญัติ คำว่า "โรงเรียน" และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ต้นกำเนิดของโรงเรียนไม่มีใครรู้ว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคใด
สำหรับในยุโรป เราจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ ยุคกรีกโบราณ ที่มีการจัดตั้งกลุ่มและทำการเรียนการสอนกันอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่อง ปรัชญา การเมือง การทหาร
สำหรับในเอเซีย ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน อย่างจีน ก็มีการจัดตั้งสถานที่สำหรับทำการเรียนการสอนเองเช่นกัน อย่างในวังหลวง ที่ฮ่องเต้จะต้องเรียนเรื่องต่าง ๆ มากมาย เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ
แต่ต้องทำความเข้าในก่อนว่า คนในยุคก่อนนั้น มีเพียงไม่กี่คนที่จะเข้าถึงความรู้ (แบบพรีเมี่ยม)
คนธรรมดา อย่างเช่น ชาวบ้าน ชาวนา พวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงความรู้นั้น ๆ ได้แต่ประกอบอาชีพของตนตามที่ ครอบครัวได้ทำไว้ (เราจะสังเกตเห็นได้ว่า คนในยุคก่อน จะประกอบอาชีพเดียวกันมาโดยตลอด เพราะเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่มีจากรุ่นสู่รุ่น นั่นเอง)
ส่วนความรู้และระดับพรีเมี่ยมนั้น ก็เข้าถึงเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งส่วนมาก จะเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะ หรือมีฐานันดรที่ดี หญิงเช่นกษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ ที่เมื่อเกิดมาแล้วจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการในการบริหารงานการรบ รายการต่อสู้ ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆเหล่านี้ ไม่มีทางที่จะไปถึงชาวบ้านตาดำๆ เด็ดขาด
ลองนึกถึงจังจีนสมัยก่อนนะครับว่า ส่วนมากแล้วเนี่ยก็จะทำอาชีพในแบบที่ครอบครัวตนเคยทำถ้าเกิดว่าใครอยากทำอาชีพที่แตกต่างก็ต้องดั้นด้นเดินทางไปหาอาจารย์คนนั้นเพื่อที่จะขอเข้าสำนักหรือเข้าเรียนในวิชานั้นๆ
ระบบนี้ครับถูกถ่ายทอดมาเป็นระยะเวลานานฝังรากลึกลงไปเหมือนเป็นขนบธรรมเนียมและประเพณี ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ตะวันออกหรือตะวันตกหรือยุโรป ล้วนแล้วแต่ มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
และโรงเรียนที่สำคัญในยุคนั้นมากๆ นั่นก็คือ โรงเรียนสำหรับการฝึกทหาร
และข้อที่สำคัญมากๆเลยก็คือ คนที่มีความรู้มากกว่ามักจะข่ม ข่มขี่ข่มเหง คนที่มีความรู้น้อยกว่าเสมอ โดยเฉพาะ ความรู้ทางด้านการทหาร
ซึ่งนั่นก็นำมาซึ่งบ่อเกิดของสงครามล่าอาณานิคม ที่คนก่อสงคราม เพื่อชิง ทรัพยากร และแผ่นดิน เพียงเพราะความรู้สึกว่าตนเองอยู่เหนือกว่า อีกฝ่าย
เรื่องของสงครามกินระยะเวลายาวนานหลายศตวรรษ และระบบการศึกษาที่ถ่ายทอดกันแค่เฉพาะกลุ่มเฉพาะคน ก็ถูกถ่ายทอดมายาวนานตามด้วยเช่นกัน เรียกว่าฝังรากลึกลง ไปไหน วัฒนธรรม วิถีชีวิต การใช้ชีวิต ของคนเหล่านั้น อย่างแยกไม่ออก
ในยุคของการเผยแพร่ศาสนาระบบโรงเรียนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะในศาสนาคริสต์ ได้มีการนำระบบโรงเรียนมาใช้เพื่อเป็นการสร้าง บุคลากรที่จะเผยแพร่ศาสนา มีการทำการเรียนการสอนที่โบสถ์ และสถานที่สำคัญทางศาสนา อย่างกว้างขวาง ข้อดีก็คือ การเรียนรู้นั้นถูกถ่ายทอดและส่งต่อในวงที่กว้างมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
จนมาถึงช่วงที่เป็นยุคมืดของการศึกษาช่วงหนึ่งก็ว่าได้
นั่นก็คือช่วงที่เกษตรกรรมเฟื่องฟูการใช้แรงงานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่งคนหลายต่อหลายคนเริ่มตกเป็นทาส เพราะความต้องการคนงาน มาใช้งาน สูงมากถึงมากที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กตัวเล็ก ๆ
และในยุคที่ต้องการแรงงานมากกว่าความรู้นั้นน ก็ยิ่งทำให้ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ไม่มีใครสนับสนุนให้เกิดระบบโรงเรียน เพราะคนใช้แรงงาน ยิ่งรู้น้อยเท่าไหร่ยิ่งดี จะได้ควบคุมได้ง่าย เด็กในยุคนั้นแทบจะไม่มีสิทธิได้รับการศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่ทำหน้าที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
เรื่องราวนี้กินระยะเวลายาวนานจนถึงศตวรรษที่ 19 ยุคที่จะก้าวสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี 1916 และสงครามโลกครั้งที่ 2 1936 เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก เศรษฐกิจเริ่มฝืดเคือง ระบบอุตสาหกรรมเริ่มขาดคนงาน รวมไปถึงมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้เครื่องจักรทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และตอนนั้น คนกลับมามีบทบาท ในการทำหน้าที่ปฏิบัติงานมากขึ้น เพราะเราต้องการคนที่มีความรู้ มาควบคุมเครื่องจักร
ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในช่วงสุดท้ายของโลกใบนี้
หากถามว่าใครเป็นคนนำระบบโรงเรียน ที่เป็นประถมมัธยมและมหาวิทยาลัยมาใช้เป็นคนแรก
ผมเองก็คงไม่สามารถหาคำตอบได้เช่นกัน
แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศอเมริกา มีบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการปฏิรูปการศึกษา คนคนนั้นมีชื่อว่า Horace Mann รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของรัฐแมสซาชูเซตส์
Horace Mann
สิ่งที่เขาที่ทำนั้นก็คือการสร้าง มาตรฐานให้กับระบบการศึกษา
nต้องเข้าใจก่อนว่า ถึงแม้ว่าการศึกษาจะมีมานานมากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่เคยมีการสร้างมาตรฐาน ที่วัดได้ให้เกิดขึ้นมาก่อน เพราะต่างคนต่างสอน ความรู้เป็นของใครคนหนึ่ง องค์กรใดองกรค์หนึ่ง และส่วนมากไม่ได้มีมาตรฐานที่เหมือน ๆ กัน
เขาสร้างโรงเรียนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หลาย ๆ โรงเรียนให้เกิดขึ้นในรัฐ
แบบที่เราเรียกกันว่า ไปเรียนที่ไหนก็จะได้คุณภาพเหมือนกันนั่นแหละ
และได้สร้างแนวคิดที่ว่า ประชาชนทั่วไปต้องเข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี
ผลปรากฎว่า สิ่งที่เขาทำ กลายมาเป็นรากฐานที่มั่นคง ให้กับอเมริกา และเกิดเป็นระบบการศึกษาที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
(สันนิษฐานว่า การแบ่งเกรดนักเรียนเป็นชั้นประถม มัธยม ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้นี่เอง)
ตั้งแต่นั้นมา ระบบนี้ก็ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก และถูกนำไปใช้เป็นที่แพร่หลาย จนถึงในปัจจุบัน
มีข้อสังเกตข้อหนึ่งที่ผมเล็งเห็นนั่นก็คือว่า ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องการคนเข้ามาในระบบมากขึ้น และต้องการคนที่มีความรู้ แต่เขาไม่สามารถหาคนแบบนั้นได้มากมายนัก
ต่อมาไม่นาน ระบบของโรงเรียนที่มีมาตรฐานก็เกิดขึ้นมา ซึ่งสุดท้ายท้ายสุดคนที่เรียนจบก็จะกลับไปทำงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นอยู่ดี
ซึ่งมันก็ไม่ต่างอะไร กับการที่วิ่งวนอยู่ในวัฏจักร ที่ใครก็ไม่รู้เป็นคนกำหนดและสร้างมันขึ้นมา ตีกรอบล้อมกรอบการเรียนรู้ ให้เท่าที่จำเป็น ให้เท่าที่จะต้องใช้ เพียงเพราะต้องการ คนมาใช้ในอุตสาหกรรม
เป็นกรอบใบใหญ่ที่ถูกกำหนดมาเนิ่นนาน จริง ๆ แล้วระบบของคำว่าโรงเรียนนั้นก็ดีมาก ๆ เลย เพราะมันทำให้มีมาตรฐานของคนและการศึกษาใน ณ ตอนนั้น และสร้างคนที่ อุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นต้องการ
แต่ระบบนี้ก็เกิดขึ้นมา ร้อยกว่าปี ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปมากมายตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ตัวระบบ นั้นยังไม่เคยเปลี่ยน
และความเหลื่อมล้ำบนโลกใบนี้ การศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ก็อาจจะมองที่ว่าถ้าคนมีความรู้เยอะขึ้นความเหลื่อมล้ำอาจจะน้อยลง
สาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก มาจากคำว่า "ไม่รู้" เพียงคำเดียว
คนที่จน ไม่ใช่เพราะหาเงินไม่เก่ง แต่เขาแค่ไม่รู้วิธีหาเงินที่ดีเท่านั้นเอง
บางคนเป็นเกษตรกร มาตั้งแต่รุ่น ทวดของทวด ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเกษตรกร นั่นไม่ใช่เพราะเขาไม่เก่งด้านอื่น แต่เพราะเขาแค่ไม่ได้มีความรู้ในด้านอื่นที่ดีกว่าการทำเกษตรเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อมองย้อนมาดูว่า ถ้าเราสามารถเพิ่มความรู้ให้กับคนทั่ว ๆไปได้ ก็จะสามารถลดปัญหาต่าง ๆ ให้น้อยลง และตามมาด้วยความเหลื่อมล้ำที่น้อยลง
เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย โรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 ซึ่งก็อย่างที่บอกไปครับว่ามันเป็นการสอนเฉพาะกลุ่มคนเท่านั้น
ประเทศไทยพึ่งมีการ ศึกษาภาคบังคับ ใช้ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 (ข้อมูลส่วนนี้ถ้ามีเก่ากว่านี้ผมขออภัยหามาได้เท่านี้)
ซึ่งนั่นก็ดูไม่แปลกอะไร กับตัวเลขดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำของคนรวยและคนจนในประเทศไทย ที่เราเห็นว่ามันห่างมากเหลือเกิน ระยะเวลา 20 กว่าปี กับการศึกษาภาคบังคับ ยังไม่ได้ทำให้คนในประเทศส่วนมาก มีความรู้อย่างทั่วถึง แต่ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ
นี่ก็น่าจะเป็นปัญหาข้อใหญ่ 1 ข้อ ที่ต้องคิดหาคำตอบและแก้โจทย์กันต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้ประชากรในประเทศไทย เข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างทั่วถึง
สิ่งที่สำคัญนั่นก็คือ ระบบของการศึกษา ที่ผ่านมาแล้วกว่า 100 ปี สมควรแล้วที่จะเปลี่ยนแปลงได้บ้างแล้วรึยัง??
ในตอนหน้า เรามาดูกันหน่อยครับว่า การศึกษาแบบที่ควรจะเป็นในอนาคต มันควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร??
Ref
https://en.wikipedia.org/wiki/School
https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_education
https://www.psychologytoday.com/us/blog/freedom-learn/200808/brief-history-education
7 บันทึก
30
13
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
การศึกษาในอนาคต
7
30
13
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย