Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Behavioral design สร้างนิสัยให้ productive
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2020 เวลา 12:28 • ความคิดเห็น
ความลับในการเริ่มต้นงานเขียน
ที่นักเขียนมืออาชีพมาเล่าให้ฟัง
นี่คือคำแนะนำจากนักเขียนมืออาชีพ
ในการเพิ่ม productivity ในการเขียนให้ดีขึ้น
ซึ่งมีหลายข้อที่น่าสนใจในการไปปรับใช้มาก
Rawpixel
มีใครบ้าง ตามไปดูกัน
1 Mary Jaksch
chief editor ของ write to done
“เพื่อให้งานเขียนมีประสิทธิผลมากขึ้น คุณต้องเรียนรู้การเขียนให้เร็ว”
เวลาที่เราเริ่มเขียนดราฟท์แรกนั้น เราจะต้องทำทั้งเขียนและแก้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งมันก็เหมือนการที่ขับรถแล้วเหยียบทั้งคันเร่งและเบรค
ข้อแนะนำก็คือ ให้พกสมุดโน้ตเล่มนึงไว้กับตัวตลอดเวลา คิดอะไรได้ก็เขียนลงไป เก็บรายละเอียดต่างๆรอบตัวระหว่างวัน และเอามันมาใช้ในการฝึกเขียนทุกวัน อาจจะใช้สมุดเป็นเล่มๆก็ได้หรือแบบดิจิตอลก็ได้
แนวทางที่ดีมากในการเขียนให้ได้เรื่อยๆก็คือ เปิดสมุดขึ้นมาหน้านึง แล้วเขียนไปเรื่อยๆ อย่าหยุดเป็นเวลา 5 นาที เขียนอะไรก็ได้แค่อย่าหยุดเขียน!
...
2 Kristen Lamb
ผู้แต่งหนังสือขายดีอย่าง we are not alone : the writer’s guide to social media
“วิธีการเพิ่มประสิทธิผลในการเขียนก็คือ ตั้งเป้าหมายขึ้นมา และบอกเป้าหมายนั้นกับคนอื่น”
เมื่อเราเริ่มต้นเขียนให้เรากำหนดเส้นตายในงานเขียนขึ้นมา และบอกกับเพื่อน ครอบครัว หรือโพสท์บอกในโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เรามีสิ่งกระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจในการเขียน
สิ่งที่แนะนำให้นักเขียนทำเป็นประจำก็คือ อ่าน อ่าน และก็อ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บล็อก ทั้งแนวฟิกชั่นหรือไม่ใช่ฟิกชั่น บทความต่างๆ รวมทั้งการดูหนัง ดูซีรี่ย์ ก็ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้
เราจะเขียนได้มากน้อยขึ้นกับการเติมความรู้ของเราด้วย หลังจากนั้นก็คือ เขียนให้ได้มากที่สุด เราต้องเรียนรู้จากการกระทำ (ซึ่งในที่นี้ก็คือเขียน) นอกจากเขียน เราก็ต้องแบ่งเวลาให้กับการอ่านและการค้นคว้าด้วย
อย่าลืมว่า เราไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขงานที่ยังไม่ได้เขียน และงานเขียนที่เขียนได้สมบูรณ์แบบแต่เขียนไม่เสร็จ ก็ไม่มีทางที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้
แน่นอนว่า หนังสือที่เขียนเสร็จ ย่อมขายได้มากกว่าหนังสือที่ยังเขียนไม่เสร็จ
...
3 Jo Linsdell
นักเขียนระดับรางวัลและเจ้าของบล็อก writers and authors
“ยิ่งฉันมีความตื่นเต้นกับงานเขียนนั้นเท่าไร ฉันยิ่งเขียนได้มากขึ้นเท่านั้น”
ดังนั้นทริคในการเพิ่มประสิทธิผลในการเขียนก็คือ เราต้องรู้สึกตื่นเต้น และรู้ว่าทำไมเราถึงต้องเขียนมัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่ดีมาก
ข้อแนะนำก็คือ เริ่มเขียนมันลงไป โดยที่ไม่ต้องสนใจว่ามันจะต้องสมบูรณ์แบบ คุณสามารถไปพัฒนาจุดนั้นได้ในภายหลัง
...
4 Jessica Millis
นักเขียนอาชีพจากบล็อก essaymama
“ฉันเชื่อว่าความลับของประสิทธิผลเกิดจากสองสิ่งสำคัญ คือ วินัย และ แรงจูงใจ” ไลฟ์สไตล์ของเราก็มีผลกับงานเขียน ถ้าคุณมีตารางชีวิตที่วุ่นวาย มันก็ยากที่จะเขียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
ดังนั้นให้กำหนดเวลาขึ้นมา ว่าเวลาไหนคือเวลาเขียน เวลาไหนพัก และหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่างๆ เพื่อให้สามารถมีสมาธิกับงานเขียนได้
และนอกจากนั้นเราควรจะมีเป้าหมายที่ถูกต้องเพื่อสร้างแรงจูงใจ เช่น เราต้องเขียนให้ได้วันละ 1,000 คำ หรือ เราต้องตีพิมพ์งานนี้ในเดือนหน้า อย่าตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนเช่น ต้องการสร้างชื่อเสียงหรือเพิ่มความนิยม ให้ตั้งในเชิงปฏิบัติที่วัดผลได้
สุดท้ายแนะนำนักเขียนหน้าใหม่ว่า ทุกคนต้องทำงานหนักเพื่อความฝันของตัวเอง และไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่ทำงานหนัก เราควรจะพึงพอใจในสิ่งที่เราได้รับ แต่ก็ควรจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นหาคนที่สามารถช่วยเหลือได้ ลองเข้าเวิร์คชอปเพิ่มเติม หรือหาโอกาสในการตีพิมพ์หนังสือ รวมถึงโอกาสในการเพิ่มประสบการณ์อื่นๆ
...
5 Therese Walsh
ผู้ร่วมก่อตั้ง writer unboxed
สังคมออนไลน์สำหรับนักเขียน
“ฉันสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการเขียนได้มาก เพียงแค่ปิดโซเชียลมีเดีย และในบางครั้งก็ปิดอินเตอร์เนทไปเลย!” จากนั้นก็จะใส่หูฟังที่ตัดเสียงรบกวน และเปิดฟังสิ่งที่ช่วยเพิ่มสมาธิได้ และเริ่มงานเขียน
ข้อแนะนำนักเขียนหน้าใหม่ก็คือ จงตั้งใจฟังคำวิจารณ์ในงานเขียนของตัวเอง และต้องรู้ว่าการเขียน เป็นอาชีพที่ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน พิจารณาถึงแนวทางในการเขียนที่ดีกว่าเดิม และทบทวนแก้ไขเมื่อเราเจอสิ่งที่ใช่สำหรับงานนั้น
ยังมีข้อแนะนำจากนักเขียนมืออาชีพอีกหลายคนเลยครับ ไว้จะมาเล่าต่อในตอนหน้า
ใครที่ชอบกดติดตามไว้ได้ครับ :)
Source :
https://www.creative-copywriter.net/blog-productivity/writing-productivity
20 บันทึก
45
49
19
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความลับที่นักเขียนมืออาชีพอยากบอกคุณ
20
45
49
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย