Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Behavioral design สร้างนิสัยให้ productive
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2020 เวลา 12:19 • ความคิดเห็น
ความลับในการเริ่มต้นงานเขียน
ที่นักเขียนมืออาชีพมาเล่าให้ฟัง ตอนที่ 2
มีคำแนะนำจากยอดนักเขียนอีกหลายคนเลยครับ
ตามไปอ่านกันได้เลย
Rawpixel
6 Bamidele Onibalusi
เจ้าของบล็อก writers in charge
“ผมพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนนั้น เราควรสร้างนิสัยของความสม่ำเสมอ แม้จะช้าไปบ้าง”
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะเขียนหนังสือ ความยาวประมาณ 30,000 คำ มันจะมีประสิทธิผลกว่ามาก ถ้าเราเขียนวันละ 1,000 คำ ทุกวัน เป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน ดีกว่าพยายามไปเขียนวันนึงเยอะๆ แล้วพักหายไปหลายๆวัน
ให้เราตั้งเป้าหมายประจำวัน และดูว่าปริมาณมันไม่ได้มากเกินไป อย่างเช่นวันละ 1,000 คำ เป็นปริมาณที่ไม่มาก และเราสามารถทำได้ แต่เมื่อผ่านไป 1 ปี เราจะพบว่า เราเขียนไปได้ถึง 365,000 คำ ซึ่งนั่นเป็นปริมาณมหาศาล!
ในฐานะนักเขียน พวกเรามักจะจดจ่อกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ในระยะสั้น โดยที่ไม่ได้สนใจว่าการทำวันละน้อยๆ แต่สม่ำเสมอ มีผลมากในระยะยาว การจดจ่อกับการทำให้ได้เยอะๆในวันหนึ่งๆมากเกินไป จะทำให้เรารู้สึกหมด ได้แต่นั่งจ้องกระดาษเปล่าและสุดท้ายทั้งวันก็ไม่ได้เขียน
อย่างไรก็ตาม การตั้งเป้าในการเขียนวันละ 500 - 1,000 คำ เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ สมองของเราสามารถพัฒนามันจนเป็นนิสัยได้ แล้วนั่นจะทำให้คุณสามารถทำได้มากกว่านั้นอีก
...
7 Phil James
ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการ Qwiklit
“ลองถามคำถามตัวเองง่ายๆว่า เราสามารถที่จะทำสิ่งนี้ให้เสร็จได้ภายใน 5 นาทีหรือไม่?
ถ้าได้ ทำเลย ถ้าไม่ได้ ให้เขียนขั้นตอนที่เราต้องทำ และทำได้ภายใน 5 นาที”
หลังจากนั้น คุณจะเลิกกังวลกับภาพใหญ่ และจะสำเร็จได้ด้วยการจัดลำดับรายละเอียดในแต่ละส่วน
แนะนำนักเขียนมือใหม่ว่าควรจะรักการผจญภัยและการทดลอง และอย่าหยุดเขียน แม้ว่าจะเหนื่อยหรือกังวลเกี่ยวกับงาน พยายามฝึกการต้านทานความรู้สึกต้องการหยุด(เขียน)
“ความขี้เกียจนั้นอันตรายกว่าการไม่มีทักษะมาก”
...
8 Shanan Haislip
นักเขียนอาชีพของ the procrastiwriter
“ลองทำอะไรบางอย่างที่เรารู้สึกว่าน่ากลัว เขียนบทความส่งให้ทันเส้นตายพอดี ลงชื่อเข้าร่วมการนำเสนองานเขียนในงานประชุม ผมเติบโตขึ้นด้วยแรงกดดันในการเขียน”
ถ้าผมลองให้อิสระกับตัวเอง ผมอาจจะไม่ได้เขียนอะไรเลย นอกจากรายการ to-do lists
คำแนะนำสำหรับนักเขียนหน้าใหม่คือ เรียนรู้จากนักเขียนที่เป็นต้นแบบของเรา ดูว่าอะไรในงานเขียนของเขา ที่ทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้น ใช้มันเป็นตัวช่วยในการฝึกเขียนของเรา และอย่าหยุดที่จะเรียนรู้กลยุทธ์และแนวทางใหม่ๆจากสุดยอดนักเขียนทั้งหลาย
จดจ่อกับความชัดเจนและความงดงามของภาษาที่ใช้
มีนักเขียนจำนวนมากที่สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่สวยงาม แต่ไม่สามารถเขียนมันออกมาได้ดี ขาดความชัดเจน ยากแก่การจดจำ ให้ฝึกท่วงทำนองการให้คำที่จะทำให้งานเขียนของเราโดดเด่นขึ้นมา
...
9 Owen Thomas
บรรณาธิการของ Readwrite
“ผมชอบที่จะเขียน โดยใช้ single-site browser app (เป็นแอพที่ช่วยให้การใช้งานเว็บดูง่ายขึ้น) สำหรับการสร้างงานเขียน”
วิธีการนี้ทำให้ผมรู้สึกว่ากำลังเขียนอยู่จริงๆ มากกว่าการเปิดหลายๆหน้าจอในเว็บเบราเซอร์ปกติ
วิธีการเรียนรู้ในการเขียนก็คือ อ่านก่อน จากนั้นก็เขียน แล้วก็อ่านสิ่งอื่นๆต่อ และสังเกตวิธีการใช้คำและการวางโครงสร้างประโยค และจดบันทึกไว้ และก็พยายามเขียนต่อ
...
10 Andy Mort
นักเขียนอาชีพและนักดนตรี
“ผมเขียนทุกวันโดยใช้การนับจำนวนคำ”
วันไหนที่ผมเขียนได้ตามเป้า ผมก็ถือว่ามีวันที่ประสบความสำเร็จแล้ว (ซึ่งผมมักทำได้ก่อนมื้ออาหารเช้า) เวลาที่ผมไม่ได้เขียน ผมจะพยายามอ่านให้ได้มากที่สุด
ให้โอกาสตัวเองได้สำรวจไอเดียใหม่ๆและอย่ากลัวที่จะเซอไพรซ์ตัวเอง
พวกเรามักจะบังคับตัวเองให้อยู่ในแนวทางการเขียนแบบเดิมๆ แต่ถ้าเราเน้นการให้ความสำคัญกับปริมาณมากขึ้น เขียนทุกวัน และสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ คุณก็จะได้หนทางและแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้น
นี่คือวิธีการหาแนวทางของตัวคุณเอง
แนวทางคือสิ่งที่เราต้องการค้นหาให้เจอ ไม่ต้องกังวลที่จะยืมแนวคิดจากนักเขียนที่คุณชอบ ลองศึกษางานเขียนของเขา ดูว่าอะไรที่มีความเชื่อมโยงกับแนวทางของเรา และเรียนรู้จากมัน นำมันมาใช้ในงานเขียนของเรา และค่อยๆพัฒนาแนวทางการเขียนของเราไปเรื่อยๆ
...
11 Jennifer Mattern
เจ้าของบล็อก all indie writer
“ฉันลองมาหมดทุกอย่างแล้วที่เขียนไว้ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลการเขียนได้ แต่สิ่งที่พบว่าได้ผลกลับเป็นวิธีการเดิมๆคือ วางแผนการเขียน และกำหนดตารางเวลา”
ให้ตั้งตารางเวลาที่สามารถทำงาน(เขียน)ได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ (สำหรับฉันคือช่วงเช้าตรู่) และฉันก็จะมีกิจวัตรประจำวันซึ่งฉันทำเหมือนๆกันทุกวันและไม่ค่อยทำอะไรนอกเหนือจากนั้น
สิ่งที่นักเขียนหน้าใหม่ควรทำ แต่ไม่ค่อยได้ทำ ก็คือ การวางแผนระยะยาวตั้งแต่เริ่ม นั่นก็คือ เลือกแนวทางเฉพาะ และเรียนรู้เกี่ยวกับตลาดเป้าหมายให้ดี และสร้างเครือข่ายหรือแพลตฟอร์มแบบจริงจังให้เร็ว
นักเขียนที่โฟกัสแค่”ตอนนี้” จะมีความเสี่ยงที่จะล้มหายไปในวันข้างหน้า
จบแล้วครับสำหรับคำแนะนำจากยอดนักเขียนทั้ง 11 คน เชื่อว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆในการนำไปพัฒนางานเขียนนะครับ
ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรก ตามไปที่ลิ้งค์นี้ได้เลย
https://www.blockdit.com/articles/5ece5ceb835c2e0bb98bab6a
Source :
https://www.creative-copywriter.net/blog-productivity/writing-productivity
16 บันทึก
40
23
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความลับที่นักเขียนมืออาชีพอยากบอกคุณ
16
40
23
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย