27 พ.ค. 2020 เวลา 17:41
🌸 สวัสดีค่ะ ทุกท่าน 🌸 พบกับ Ep4 "จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา"
ครูนิเทศ EP4 จุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษา
ซีรีย์ “ครูนิเทศ” จาก EP1 , EP2 และ EP3 ที่ผ่านมานั้น เราได้เขียนถึงความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติใหม่ ของการ นิเทศการศึกษา ความหมายรวมทั้งหลักการ ของการนิเทศทางการศึกษา โดยเรามุ่งเน้นถึงความสำคัญในการพูดคุยกันถึงจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ซึ่งจุดมุ่งหมายนั้นต้องเกิดจากการพิจารณาตกลงร่วมกัน EP4 นี้ จึงเป็นการที่เรามาสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/StartupStockPhotos-690514/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=593341">StartupStockPhotos</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=593341">Pixabay</a>
สำหรับ Ep4 เราจะมาว่ากันด้วยเรื่อง “จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา” ซึ่งเราได้พบว่ามีนักการศึกษาได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา ดังต่อไปนี้
Brigg and Justman (1995) ได้สรุปถึงความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ 4 ข้อ คือ
1. การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ (Professional Leadership)  ได้แก่ การประชุมต่างๆ , การจัดอบรมแบบ Workshop สัมมนาปัญหาต่างๆ , การไปเยี่ยมชมศูนย์ทดลองต่างๆ , การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ครูได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ ในด้านวิชาการ , ทำการทดลอง หลักสูตร หนังสือเรียน และวิธีสอน , ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดทางการศึกษา
2. การส่งเสริมความเจริญงอกงามของครู (AID Teacher’s Growth) ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ , ส่งเสริมการทดลองกิจกรรมต่างๆ ที่ครูสนใจอยากทำ , เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอาชีพ , ส่งเสริมครูที่มีความสามารถพิเศษในทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ , ส่งเสริมให้ครูได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้หรืองานที่เขาสนใจ , ส่งเสริมให้ครูสนใจกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมอาชีพครูภายในประเทศและของนานาชาติ
3. การปรับปรุงการสอนของครู (Improve of Teaching) ได้แก่ การพิจารณาคัดเลือกครูที่มีความสามารถและประสิทธิภาพเข้าทำการสอน , การจัดงานและมอบหมายงานที่ถูกและตรงกับความสามารถของครู , ให้มีโอกาสได้สังเกตการสอน , เปิดประชุม อบรม เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการสอน ,​ทำการสาธิตการสอนที่ดีให้แก่ครู , ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนครูและการสังเกตการณ์สอนระหว่างโรงเรียนต่างๆ
4. การส่งเสริมแนะนำครูและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (Guiding Staff and Community Relation) ได้แก่ ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง ประชาชนในประชาคมของตน , ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ ของประชาคม , ส่งเสริมให้มีสมาคมครูผู้ปกครองขึ้นในโรงเรียน ,​ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของการศึกษา , ส่งเสริมให้ประชาชนสนใจในกิจการของโรงเรียน , จัดทำโรงเรียนให้เป็นศูนย์ของประชาชน , ส่งเสริมให้ครูรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการนำประชาคม
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/fotoblend-87167/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=4569486">Willfried Wende</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=4569486">Pixabay</a>
Good (1973) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามทางอาชีพ ช่วยพัฒนาความสามารถของครู ช่วยในการเลือกและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา ช่วยเหลือและจัดสรรเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา และช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอน
ในขณะที่ Adam and Dickey (1978) กล่าวถึง ความมุ่งหมายของการนิเทศไว้ว่า
1. เพื่อช่วยให้ครูค้นหาและรู้วิธีทำงานด้วยตนเอง จำแนกและวิเคราะห์ปัญหาของตนเองโดยช่วยให้ครูได้รู้ถึงปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อช่วยให้ครูรู้สึกมั่นคงในอาชีพ ช่วยให้ครูคุ้นเคยกับแหล่งวิทยาการและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน ช่วยเผยแพร่ให้ชุมชนเข้าใจถึงแผนการศึกษาของโรงเรียน และให้การสนับสนุนโรงเรียน และ ช่วยให้ครูเข้าใจถึงปรัชญาและความต้องการของการศึกษา
และนักการศึกษาอีกหลากหลายท่านที่ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษาซึ่งได้ให้ความหมายใกล้เคียงกัน
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/AbsolutVision-6158753/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2692247">Gino Crescoli</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2692247">Pixabay</a>
กล่าวคือ
การนิเทศทางการศึกษานั้น มีมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเพื่อพัฒนาคน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูเกิดความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ ช่วยประสานงานและร่วมมือให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดพัฒนาการตามมุ่งหมายของการศึกษา
ซึ่งต่อให้วันเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน แต่จุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษา ที่กล่าวว่า “ความมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเพื่อพัฒนาคน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูเกิดความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ ช่วยประสานงานและร่วมมือให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน” นั้น ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากจุดเดิม
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/PublicDomainPictures-14/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=71282">PublicDomainPictures</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=71282">Pixabay</a>
หากแต่ทุกท่านที่อ่านมาถึงจุดนี้ ถ้าลองย้อนนึกไปถึง EP3 ที่ได้กล่าวถึงหลักของการนิเทศทางการศึกษานั้น ท่านคงพอจะนึกได้ถึงประเด็นสำคัญของหลักการของการนิเทศทางการศึกษาที่ต้องได้นำมาย้ำกันอีกครั้งถึงหลักการของการนิเทศทางการศึกษา
“หลักของการนิเทศทางการศึกษา คือ แนวปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศ ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือ ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ โดยให้ความสำคัญกับวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ซึ่งได้พิจารณาตกลงร่วมกัน“
เมื่อนำทั้งหลักการของการนิเทศ (EP3) และจุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษา (EP4) มาพิจารณาร่วมกันแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันคือ
“แนวปฏิบัติงานที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเพื่อพัฒนาคน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูเกิดความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ ช่วยประสานงานและร่วมมือให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ซึ่งได้พิจารณาตกลงร่วมกัน”
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/PublicDomainPictures-14/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=316638">PublicDomainPictures</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=316638">Pixabay</a>
ซึ่งหากทุกท่านไม่ว่าจะเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหรือทุกท่านที่มีความเกี่ยวข้องในกระบวนการนิเทศทางการศึกษา ได้ให้ความสำคัญและไม่มองข้ามในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของหลักการและจุดมุ่งหมายของการนิเทศทางการศึกษานี้ เราเชื่อว่ากระบวนการแห่งนี้ต้องได้รับความพึงพอใจจากผู้ที่มีความเกี่ยวข้องเป็นแน่แท้
เพราะเป้าหมาย คือการที่ทำให้เขาได้เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนา เกิดการประสานงาน เกิดความเข้าใจกันดี เกิดการแก้ไขปัญหา เกิดการคิด การทำงานร่วมกัน
แต่ทว่า เมื่อใดที่ผู้ที่เกี่ยวข้องเขาเกิดรู้สึกว่า
เขาไม่ได้รับประโยชน์
เขาไม่ได้รับการพัฒนาใดใด
เขาไม่เต็มใจ หรือกำลังถูกบังคับให้กระทำ
เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในความคิดและความต้องการของตนเอง
เขาไม่มีความสุข
ฯลฯ สำหรับความรู้สึกทำนองเดียวกันนี้
เพราะความรู้สึกเหล่านี้ล้วนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน หากการนิเทศ ถ้าทำแล้วส่งผลให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ ผู้นิเทศควรกลับมาทบทวนตนเอง ทบทวนการกระทำ ทบทวนในวิธีการหรือพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความรู้สึกเช่นนี้
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/Anemone123-2637160/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2736480">Anemone123</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2736480">Pixabay</a>
เพราะเราต้องทบทวนอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งที่ทำต้องเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ หากมีแนวคิดใดใด สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันได้นะคะ เราต้องการความคิดเห็นจากหลายๆภาคส่วน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อนำไปสู่ในสิ่งที่ดีขึ้นค่ะ
สำหรับ EP ต่อไปจะเป็นเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับการนิเทศทางการศึกษา มาติดตามต่อ ในตอนต่อไปและขอฝากกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ
ครูนิเทศ : เปิดห้องเรียนนิเทศทางการศึกษา แล้วเรามาเรียนรู้ไปด้วยกัน
อ้างอิง
Adam, H., & Dickey, F. G. (1978). Basic principle of supervision. New Delhi: Eurasia Publishing House. Agnew, T., Vaught, C., Getz, H.
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw–Hill Book.
Thomas H. Briggs and Justman Joseph. (1995). Improving instruction through Supervision. New York: McMillan.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา