23 พ.ค. 2020 เวลา 17:00 • การศึกษา
สวัสดีค่ะ ทุกท่าน
จาก EP2 ที่ผ่านมา ในซีรีย์ “ครูนิเทศ” เราได้เขียนถึงความหมายของการนิเทศทั้งของนักการศึกษาต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งเป็นการให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งผู้เขียนได้ตั้งคำถามเชิญชวนให้ทุกท่านสามารถให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาในแบบวิถีปฏิบัติใหม่ หรือ new normal ของการนิเทศว่าจะเป็นไปทิศทางไหน ก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดกันต่อได้สำหรับ EP3 นี้นะคะ
สำหรับ Ep3 นี้เราจะมาทำความรู้จักกับหลักการของการนิเทศกัน ซึ่งเมื่อกล่าวถึง หลักการนิเทศการศึกษา ในส่วนของนักการศึกษาท่านอื่นๆ ได้ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการนิเทศการศึกษาไว้อย่างหลากหลาย โดยมีหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่ยึดถือในการปฏิบัติ ดังนี้
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/StartupStockPhotos-690514/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=594090">StartupStockPhotos</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=594090">Pixabay</a>
Burton and Bruckner (1955) ได้กำหนดหลักการนิเทศการศึกษาไว้ว่า
1. การนิเทศการศึกษาควรมีความถูกต้องตามหลักวิชา (Theoretically Sound) การนิเทศควรเป็นไปตามค่านิยม วัตถุประสงค์และนโยบาย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการนิเทศในสถานการณ์นั้นโดยเฉพาะ ควรเป็นไปตามความเป็นจริงและตามกฎเกณฑ์ของเรื่องนั้นๆ การนิเทศควรจะวิวัฒนาการทางด้านเครื่องมือและกลวิธี โดยมีจุดมุ่งหมายและนโยบายที่แน่นอน
2. การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific)ในการนิเทศนั้น ควรเป็นไปอย่างมีลำดับ มีระเบียบ และมีวิธีการในการศึกษาปรับปรุง และประเมินผลสิ่งต่างๆ ภายใต้ขอบเขตของงานนั้น ทั้งนี้ย่อมหมายความรวมถึงด้านกระบวนการนิเทศและบรรดาอุปกรณ์ที่ใช้ในการนิเทศด้วย การนิเทศควรได้มาจากการรวบรวมและสรุปผลจากข้อมูลอย่างเป็นปรนัย มีความถูกต้องแน่นอน เป็นที่น่าเชื่อถือได้ และอย่างมีระเบียบมากกว่าการสรุปเอาจากความคิดเห็น
3. การนิเทศการศึกษาควรเป็นประชาธิปไตย (Democratic) การนิเทศจะต้องเคารพในบุคคลและความแตกต่างของแต่ละบุคคล และพยายามส่งเสริมการแสดงออกของแต่ละบุคคลอย่างเต็มที่ ต้องเปิดโอกาสให้มีความร่วมมือ และใช้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด ควรใช้อำนาจให้น้อยที่สุด และอำนาจนั้นจำเป็นจะต้องได้มาจากหมู่คณะเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของหมู่คณะไปสู่เป้าหมาย
4. การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นการสร้างสรรค์ (Creative)ในการนิเทศนั้น ควรแสวงหาความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคลแล้วเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาซึ่งความสามารถนั้นอย่างสูงสุด ควรจะมีส่วนในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดความคล่องตัวในการทำงานให้มากที่สุด
https://pixabay.com
โดย Franseth (1961) ให้ข้อเสนอแนะถึงหลักการนิเทศการศึกษาที่เน้นถึงบทบาทของผู้นำกลุ่ม 4 ประการ ดังนี้
1. การนิเทศจะให้ผลอย่างสูงสุดในการปรับปรุงการเรียนการสอนก็ต่อเมื่อการนิเทศนั้นใด้ให้ความสำคัญแก่วิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ซึ่งได้พิจารณา ตกลงร่วมกัน โดยคณะครูและศึกษานิเทศก์
2. การนิเทศการศึกษา จะมีความหมายสำหรับครูก็ต่อเมื่อการนิเทศนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อผู้รับการนิเทศโดยตรง นั่นคือ จะต้องให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาว่าจะให้ศึกษานิเทศก์ช่วยเหลือในเรื่องใดจึงจะเป็นที่ต้องการของเขา
3. การนิเทศการศึกษาที่ดี จะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ยั่วยุ และสร้างความเข้าใจ อันดีต่อกันในการช่วยเหลือครูและจะต้องทำให้ครูรู้สึกว่าจะช่วยให้เขาพบวิธีที่ดีกว่าในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
4. การนิเทศการศึกษา จะให้ได้ผลควรใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา และช่วยให้ผู้ร่วมงานได้ศึกษาปัญหา ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานเสียก่อน
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/ninocare-3266770/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1655783">Nino Carè</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1655783">Pixabay</a>
Sergiovanni &Starratt (1988) กล่าวถึงหลักการที่ครอบคลุมในการนิเทศการศึกษา ไว้ดังนี้
1. การบริหารโดยปกติแล้วต้องคำนึงถึงการจัดให้มีความสะดวกสบายทางวัตถุต่างๆและรวมไปถึงการดำเนินการโดยทั่วไป แต่สำหรับการนิเทศ โดยปกติแล้วต้องคำนึงถึงการปรับปรุงแนวทางการเรียน ซึ่งการบริหารและการนิเทศโดยหน้าที่แล้ว ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทั้งสองอย่างจะต้องมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดำเนินงานด้านระบบการศึกษา
2. การนิเทศที่ดีนั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานทางปรัชญา วิทยาศาสตร์ และประชาธิปไตย แต่ถ้าในสถานการณ์ใด ที่ไม่สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ก็จะต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการศึกษามาปรับปรุง และการประเมินผลทั้งส่วนที่เป็นกระบวนการและผลที่เกิดขึ้น
3. การนิเทศที่ดี ก็จะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่การเขียนใบสั่งให้ทำ (Prescription)
4. การนิเทศที่ดีนั้นจะต้องมีการวางแผนอย่างมีระเบียบ มีการประสานความร่วมมือ (Co–operation) และจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
5. การนิเทศที่ดีจะต้องถูกตัดสินโดยผลที่เกิดขึ้น
6. การนิเทศที่ดีนั้นจะต้องเป็นวิชาชีพ จะต้องส่งเสริมการหาแนวทางการประเมินบุคลากร วิธีการ และผลจะต้องมุ่งไปสู่มาตรฐานที่ตั้งไว้
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/photos/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1246862">Free-Photos</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1246862">Pixabay</a>
Marks and Stoops (1985) ได้ให้หลักเบื้องต้นของการนิเทศการศึกษา ไว้ดังนี้
1. การนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการศึกษา ซึ่งจะเป็นบริการที่จะทำเป็นทีมและอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน
2. ครูทุกคนที่ต้องการและมุ่งหวังจะได้รับการช่วยเหลือด้านการนิเทศ บริการอันนี้จะต้องอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหาร
3. การนิเทศการศึกษาถูกปรับให้ตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคล ที่เป็นบุคลากรของโรงเรียน
4. การนิเทศช่วยจำแนกและประกาศความต้องการของบุคลากรและต้องให้เกิดผลดี
5. การนิเทศจะช่วยให้เป้าหมายและจุดมุ่งหมายทางการศึกษาแจ่มชัดยิ่งขึ้น
6. การนิเทศการศึกษา จะต้องช่วยปรับปรุงทัศนคติและสัมพันธภาพของมวลสมาชิกของคณะบุคคลในโรงเรียนและช่วยพัฒนาในด้านความรู้สึกต่อชุมชนในด้านดี
7. การนิเทศจะต้องช่วยในการจัดและบริหารกิจกรรมร่วมหลักสูตร ซึ่งจัดสำหรับนักเรียน
8. ความรับผิดชอบในการปรับโครงการของการนิเทศในโรงเรียนนั้นจะต้องเป็นหน้าที่ของครู ซึ่งทำเพื่อชั้นเรียน และเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารในการทำเพื่อโรงเรียน
9. จะต้องมีการจัดให้มีงบประมาณด้านการนิเทศไว้ในงบประมาณประจำปี
10. การวางแผนด้านการนิเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จะต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม
11. จะต้องจัดให้มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหารโครงการนิเทศ
12. การนิเทศการศึกษาควรจะช่วยให้การแปลและนำเอกสารค้นพบทางการวิจัยทางการศึกษาใหม่ๆ มาใช้
13. การวัดประสิทธิผลของโครงการนิเทศควรจะกระทำโดยผู้ที่ร่วมในโครงการและผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/athree23-6195572/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=3700116">athree23</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=3700116">Pixabay</a>
สำหรับการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดของ Brown Moberg (1980) อธิบายว่า การนิเทศงานที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยการนิเทศงาน 3 ลักษณะ คือ การนิเทศแบบเน้นคน การนิเทศแบบเน้นงาน และการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะแตกต่างตามลักษณะ พฤติกรรมผู้นิเทศ คือ
1.การนิเทศแบบเน้นคน โดยผู้นิเทศจะมองบุคคลเป็นเพื่อนมนุษย์ให้ความสำคัญในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ สนใจและเอาใจใส่ต่อผู้ปฏิบัติงาน และให้ความยุติธรรม ซึ่งลักษณะพฤติกรรม ของผู้นิเทศจะเน้นความเข้าใจธรรมชาติของแต่ละบุคคล สนใจการแสดงออกของแต่ละบุคคล ค้นหาความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล ให้คุณค่าในแต่ละบุคคล ให้ความเอาใจใส่ในชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละบุคคล ให้ข้อมูลต่อกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน สนับสนุนให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลหรือชมเชย ให้ความรู้ในเรื่องของเป้าหมายระเบียบกฎต่างๆขององค์กร เปิดโอกาสให้รับผิดชอบและดำเนินงานเต็มที่ และให้การยอมรับการทำงานตามโครงการที่รับผิดชอบ
2. การนิเทศแบบเน้นงาน ผู้นิเทศจะทําความเข้าใจวัตถุประสงค์ของงานให้คําแนะนํา และประสานงานแก่ผู้ปฎิบัติ หาแหล่งประโยชน์ทางด้านวิชาการและ สร้างความพึงพอใจในการทํางาน โดยลักษณะพฤติกรรมของผู้นิเทศจะมุ่งเน้นที่จะให้รายละเอียดในรายบุคคลและรายกลุ่ม ให้ข้อมูลความก้าวหน้าของงานวิธีที่จะทําให้งานสําเร็จ การติดต่อสื่อสารดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ประเมินการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ที่วางไว้ ค้นหาปัญหา เพื่อนํามาแก้ไข ประสานงานกับผู้ปฎิบัติในการให้คําแนะนําเทคนิคต่างๆ การจัดทําโครงงาน และ การแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นในการปฏิบัติ สนับสนุนให้มีการใช้แหล่งประโยชน์ที่มีอยู่ให้แก่ผู้ปฎิบัติที่มีความสามารถ ในการทํางาน ให้ความรู้เฉพาะทางด้วยการอบรม พัฒนา ผู้ปฎิบัติให้มีความรู้ความสามารถ ให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ดี และกล่าวคํายกย่องชมเชยในโอกาสที่เหมาะสม
3. การนิเทศแบบให้มีส่วนร่วม เป็นกระบวนการใช้อํานาจในการตัดสินใจของบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยกระบวนการในการตัดสินใจ มี 3 ลักษณะ คือ 1) ผู้นิเทศตัดสินใจเอง 2)ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมกันตัดสินใจ และ 3) ผู้นิเทศมอบหมายให้ผู้ปฎิบัติตัดสินใจในการนิเทศงาน จึงขึ้นอยู่กับสภาพของงานและผู้รับการนิเทศ ดังนั้น จึงจําเป็นที่ผู้นิเทศจะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ในการนิเทศแต่ละครั้ง
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/stokpic-692575/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=602967">stokpic</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=602967">Pixabay</a>
หลายท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้มีความคิดเห็นถึงหลักการในการนิเทศทางการศึกษาอย่างไรกันบ้างค่ะ
ในความคิดเห็นส่วนตัว เราคิดว่า หลักการนิเทศการศึกษา คือ “แนวปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศ ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือ ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ โดยให้ความสำคัญกับวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ซึ่งได้พิจารณาตกลงร่วมกัน“
“ซึ่งการนิเทศการศึกษานั้น ควรมีความถูกต้องตามหลักวิชา เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นประชาธิปไตย ในทิศทางที่สร้างสรรค์ มีความคิดและเจตนาที่ดีต่อกัน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา“
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/samanitvijit-3266891/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2207391">samanitvijit</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2207391">Pixabay</a>
จากหลักการทางวิชาการและเรามาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในปัจจุบันกันดีกว่า หากการทำงานได้มีการพูดคุยกันถึงจุดมุ่งหมายที่แน่นอน โดยจุดมุ่งหมายนั้นเป้นการพิจารณาตกลงร่วมกัน ในโรงเรียนในกรณี ของผู้บริหารและคณะครู หรือ ในชั้นเรียนกรณีของครูและนักเรียน และในชุมชนกรณี ครูกับผู้ปกครอง ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใดใด
“การพูดคุยกันถึงจุดมุ่งหมายที่แน่นอน โดยจุดมุ่งหมายนั้นต้องเกิดจากการพิจารณาตกลงร่วมกัน สิ่งนี้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญและมองข้ามขั้นตอนนี้ เสียมิได้ เราเชื่อว่าทุกท่านทำ แต่ให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ให้เวลากับการพิจารณาตกลงจุดมุ่งหมายร่วมกันมากน้อยเพียงใด หรือ จุดมุ่งหมายนั้นเกิดขึ้นจากความคิดเห็นของท่าน หรือคนเพียงบางกลุ่ม หรือเกิดจากคำสั่งที่ต้องทำ ตรงนี้ท่านต้องลองทบทวนตนเองดูนะคะ”
เพราะไม่มีใครจะรู้ได้ดีเท่าตัวของท่านเอง ถึงแม้ว่าการที่จะได้มาซึ่ง การพูดคุยกันถึงจุดมุ่งหมายที่แน่นอน โดยจุดมุ่งหมายนั้นต้องเกิดจากการพิจารณาตกลงร่วมกันนั้น มันอาจจะเกิดความเชื่องช้า เสียเวลา เพราะบางคน ไม่ชอบออกความคิดเห็นใดๆ
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/vait_mcright-327613/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=386673">Henning Westerkamp</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=386673">Pixabay</a>
เรามาลองนึกถึงบรรยากาศในการประชุม ก็จะคนหลากหลายแนว บางคนไม่ออกความคิดเห็นใดใด
บรรยากาศในชั้นเรียนก็เช่นกัน จะมีนักเรียนที่ไม่เสนอความคิดเห็นใดใด
และทำนองเดียวกัน การพบปะ ประชุมผู้ปกครอง ก็จะพบว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น
หากมัวรอคำตอบ มันก็จะเกิดความชักช้าไม่ทันการสิ่งใด สิ่งนี้อาจเป็นเสียงที่ต่อต้านที่เกิดขึ้นในห้วงความคิดของท่าน
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/mohamed_hassan-5229782/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=3213924">mohamed Hassan</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=3213924">Pixabay</a>
แต่หากท่านไม่สามารถก้าวข้ามความรู้สึกนี้ไปได้ ท่านก็จะบอกถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการออกไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยปราศจากการพิจารณาร่วมกัน จริงๆพวกเขาแค่ได้ยินสิ่งที่ท่านบอกเพียงเท่านั้น และคงทำตามในสิ่งที่บอกให้ทำ แต่มันน่าจะดีกว่านี้มั้ยถ้าทุกคนมีความรู้สึกร่วมกันว่ากำลังร่วมกันทำในสิ่งที่เรามีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มากกว่าการทำเพราะมีคนมาบอกให้ทำ หรือคนทุกคนทำกันก็เลยทำไปตามเขา อะไรแนวๆนี้
ทุกท่านมองเห็นแนวทางของการนำหลักการของการนิเทศการศึกษาไปใช้ในการทำงานในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไร มีความคิดเห็นอย่างไรแลกเปลี่ยนแนวคิดกันได้นะคะ
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/jarmoluk-143740/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2847508">Michal Jarmoluk</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=2847508">Pixabay</a>
หวังว่าหลักการของการนิเทศการศึกษาจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ไม่มากก็น้อย
สำหรับ Ep ต่อไป จะเป็นเรื่องราวอะไรที่เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา รอติดตามกันนะคะ
อ้างอิง
Brown W.B. and Moberg D.J.. (1980). Organization Theory and Management: Macro Approach.
Franseth, J. (1961). Supervision as leadership. New York: Row Petterson.
Mark, J. R., & Stoop, K. (1985). Handbook of educationalsupervision: Aguide of the practice (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.Robert Goldhammer, Robert H. Anderson and RodertJ.
W.H. Burton and L.J. Bruckner. (1955). Supervision : A Social Process. 3rd. ed., New York : Appleton – Century – Crofts, p.11

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา