1 มิ.ย. 2020 เวลา 11:31 • ประวัติศาสตร์
Bretton Woods System ระบบการเงินโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ย้อนกลับไปเมื่อใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสงครามจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพัธมิตร และโลกต้องการระบบการเงินใหม่มาแทนที่ระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) ที่ใช้กันในเวลานั้น ในระบบเดิมรัฐบาลของแต่ละประเทศจะรับประกันการนำสกุลเงินของตนมาแลกเป็นทองคำกลับไปซึ่งมีข้อจำกัดหลายอย่าง
จึงมีการจัดประชุมกันที่โรงแรมเมาต์วอชิงตันในเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์สหรัฐอเมริกาในปี 1944 โดยมีตัวแทนจาก 44 ประเทศเข้าร่วมประชุม ต่อมาเราจึงเรียกระบบการเงินใหม่ของโลกนี้ว่า Bretton Woods System
ในขณะนั้นสหรัฐถือครองทองคำอยู่ประมาณ 70% ของปริมาณทองคำโลก จึงถูกกำหนดให้เป็นสกุลเงินกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะผูกค่าตายตัวกับราคาทองที่ระดับ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินประเทศอื่นๆ ก็จะถูกกำหนดค่าตายตัวกับเงินดอลลาร์สหรัฐอีกที และให้ผู้ถือดอลล่าร์สหรัฐสามารถนำไปแลกเป็นทองคำจากสหรัฐได้ในภายหลัง
เพื่อลดความยุ่งยาก ข้อจำกัด ในการซื้อขายระหว่างประเทศ
หากสกุลเงินใครล้นตลาด อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ธนาคารกลางประเทศนั้นจะเข้าไปซื้อสกุลเงินตัวเองเพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน
1
และได้ก่อตั้งสถานบันการเงินระหว่างประเทศ IMF เพื่อให้ชาติสมาชิกกู้เงินมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจแทนการลดค่าเงิน หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา และ World Bank เพื่อช่วยผลักดันการเติบโตของเหล่าประเทศกำลังพัฒนา
Bretton Woods System ได้มีส่วนสำคัญในการขยายความเติบโตของเศรษฐกิจโลก ปลดล็อกเศรษฐกิจที่เคยผูกไว้กับปริมาณทองคำ
ระบบนี้สิ้นสุดลงในปี 1971 เมื่อ ปธน.นิกสัน ประกาศยุติการนำดอลล่าร์สหรัฐมาแลกคืนเป็นทองคำ เนื่องจากมีทองคำสำรองอยู่เพียง 30% ของปริมาณดอลล่าร์สหรัฐที่ถือครองโดยนานาชาติ เพราะพิมพ์เงินออกมาเกินกว่าปริมาณทองคำสำรองที่มีอยู่มากเกินไป
ทำให้ดอลล่าร์สหรัฐกลายมาเป็น fiat currency และเป็นประเทศที่สามารถพิมพ์เงินออกมาได้โดยไม่ต้องใช้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเป็นสินทรัพย์หนุนหลัง แล้วไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้ออีกด้วย
(ตรงนี้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ เข้าใจผิดกันเยอะมาก)
ส่วนสกุลเงินอื่นๆที่เคยกำหนดค่าตายตัวกับดอลล่าร์ ส่วนใหญ่เข้าสู่การใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวไปในที่สุด
โฆษณา