2 มิ.ย. 2020 เวลา 05:05 • การศึกษา
พระสูตรเรื่อง : "ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละสายโดยนัย แห่งอริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคตชื่อว่าโสดาบัน" (ญาณวัตถุ ๔๔)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๖๗/๑๑๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ{๑} ๔๔ อย่าง แก่พวกเธอทั้งหลาย.
พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงกระทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ ว่า :-
๑. ญาณวัตถุ แปลว่า สิ่งซึ่งเป็นที่กำหนดพิจารณาของญาณ ญาณกำหนดพิจารณาสิ่งใด สิ่งนั้นเรียกว่าญาณวัตถุ เฉพาะในกรณีนี้ หมายถึงอาการ ๔ อย่างๆ ของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ ซึ่งมีอยู่ ๑๑ อาการ; ดังนั้น จึงเรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง คือ :-
(หมวด ๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชรามรณะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
(หมวด ๒)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในชาติ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ;
(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในภพ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งภพ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งภพ;
(หมวด ๔)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในอุปาทาน; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน;
(หมวด ๕)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในตัณหา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งตัณหา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา;
(หมวด ๖)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในเวทนา; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งเวทนา; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา;
(หมวด ๗)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในผัสสะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
(หมวด ๘)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสฬายตนะ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ;
(หมวด ๙)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในนามรูป; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งนามรูป; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
(หมวด ๑๐)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในวิญญาณ; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
(หมวด ๑๑)
๑. ญาณ คือ ความรู้ ในสังขารทั้งหลาย; ๒. ญาณ คือ ความรู้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร; ๓. ญาณ คือ ความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; ๔. ญาณ คือ ความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร;
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า ชรา. การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือ ชีวิต จากสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : นี้เรียกว่า มรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้; ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชรามรณะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ; ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,ได้แก่สิ่งเหล่านี้
1
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ). ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้น เห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล, อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้. ถึงแม้สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ก็ตาม; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่าง ที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้. ความรู้นี้ของ อริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อัน๎วยญาณ).
ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณเหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า :- “ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง; “ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง; “ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง;“ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง; “ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส” ดังนี้บ้าง; “ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง, ดังนี้ แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ : ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ชาติ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ; ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่าญาณในธรรม (ธัมมญาณ). ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้น เห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล, อริยสาวกนั้น ย่อม นำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชาติ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่านก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชาติ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ, จักรู้อย่างยิ่งซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ ก็ตาม; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่งเหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้. ความรู้นี้
ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อัน๎วยญาณ).
ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณเหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า :-
“ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง; “ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว” ดังนี้บ้าง; “ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส” ดังนี้บ้าง; “ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง, ดังนี้ แล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ...ฯลฯ...
(ข้อความนี้ที่ละไว้ด้วย ...ฯลฯ... ดังข้างบนนี้ มีข้อความเต็มดังในข้ออันว่าด้วย ชรามรณะ และชาติ ข้างต้นทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อหัวข้อธรรม).
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย สามอย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร : ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, ในกาลใด; ในกาลนั้นความรู้นี้ของอริยสาวกนั้นชื่อว่า ญาณในธรรม (ธัมมญาณ). ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้น เห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้ว และเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล, อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งสังขารทั้งหลาย, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ได้รู้อย่างยิ่งแล้วซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่งซึ่งสังขารทั้งหลาย, จักรู้อย่างยิ่งซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร, จักรู้อย่างยิ่งซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารก็ตาม; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้. ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ญาณในการรู้ตาม (อัน๎วยญาณ).
ภิกษุทั้งหลาย ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณและอัน๎วยญาณ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนั้น ว่า :-
“ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง; “ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว” ดังนี้บ้าง; “ผู้ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง; “ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง;
“ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส” ดังนี้บ้าง; “ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง, ดังนี้ แล.
อ้างอิงจาก : พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๒
พุทธวจน คู่มือโสดาบัน
หน้าที่ ๖๓ - ๗๗
พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
เว็บไซต์ข้อมูลเพิ่มเติม : http://watnapp.com
ศึกษาดูพระสูตรเพิ่มเติม : https://etipitaka.com/search/
ฟังเสียงธรรมะพระสูตรเพิ่มเติม : https://m.soundcloud.com/search?q=พุทธวจน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา