2 มิ.ย. 2020 เวลา 14:41 • ปรัชญา
ปรัชญาประโยชน์นิยม (Utilitarianism)
เป็นปรัชญาที่ถือเอาประโยชน์สุขเป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดถูก ชั่วดี กล่าวคือ การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด ถือเป็นการกระทำที่ดี เนื่องจากเป็นจริยศาสตร์ที่เน้นเป้าหมาย (Ends Ethics) จึงพิจารณาความถูกผิดของการกระทำที่ผลของการกระทำ โดยไม่นำตัวการกระทำมาตัดสิน ไม่ว่าการกระทำนั้นจะประกอบด้วยเจตนาดีหรือไม่ก็ตาม
จอห์น สจ๊วต มิล (John Stuart Mill)
สาระสำคัญของประโยชน์นิยมถือ ความสุขจึงเป็นตัวตัดสินว่าการกระทำดี ไม่ดี ควร ไม่ควร ถูกหรือผิด ถ้าการกระทำใดที่กระทำแล้วให้ประโยชน์สุขมากกว่าก็ถือว่าการกระทำนั้นก็ดีกว่า และควรกระทำมากกว่า
ประโยชน์สุขในที่นี้ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่หมายถึงประโยชน์สุขของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตาม "หลักมหสุข" ที่ว่า "ความสุขที่มากที่สุด ของคนจำนวนมากที่สุด" ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นด้วย โดยทุกข์หรือโทษที่เกิดขึ้นต้องไม่มากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
และในบางกรณีที่ต้องเลือกกระทำ เนื่องจากทุกทางเลือกนั้นล้วนแต่ก่อให้เกิดความทุกข์ ก็ให้ถือว่าการกระทำที่ก่อให้เกิดความทุกข์น้อยกว่าเป็นการกระทำที่ให้ความ สุขมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ
เจเรมี เบนธัม (Jereme Benthan)
ประโยชน์นิยมเป็นแนวคิดที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักศึกษา และผู้ที่สนใจเรื่องทางสังคมและการเปลี่ยน แปลงทางสังคม
ประโยชน์นิยมยังเป็นปรัชญาที่รองรับรัฐสวัสดิการในยุคปัจจุบัน ผู้ที่สร้างระบบ คือนักปฏิรูปสังคม เจเรมี เบนธัม (Jereme Benthan) และ จอห์น สจ๊วต มิล (John Stuart Mill)
คร่าวๆนะก่อนครับ โอกาสต่อไปจะขยายความแนวคิดของนักปรัชญาสายนี้เป็นคนๆไป
แหล่งอ้างอิง
1. ศ.ดร. วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป มนุษย์โลก และความหมายของชีวิต.
2. รศ. เนื่องน้อย บุณยเนตร, จริยสาสตร์ตะวันตกฯ.
วิรุฬหก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา