Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรุฬหก
•
ติดตาม
3 มิ.ย. 2020 เวลา 06:03 • ปรัชญา
เจเรมี เบนแธม" (Jeremy Bentham)
Part 1
ถ้าพูดถึงนักปรัชญาตะวันตก ในสายอรรถประโยชน์
หรือเรียกอีกชื่อว่า ประโยชน์นิยม(Utilitarianism)
ชื่อนักปรัชญาที่คนในวงการนึกออกคงหนีไม่พ้น 3 ท่านนี้เป็นแน่
เดวิด ฮูม (David Hume)
เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)
จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill)
เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) เป็นนักปรัชญาคนสำคัญนิยมคนหนึ่ง ในลัทธิประโยชน์นิยม(Utilitarianism)
เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)
โดยอธิบายเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคลนั้น
เป็นอุดมคติเพราะสามารถนำไปสู่ความสุขสูงสุดของมนุษย์
เสรีภาพจึงเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความสุข
แทนที่แนวคิดเสรีภาพ ว่าเป็นจุดหมายปลายทางหรือเป็นอุดมคติในตัวของมันเองอย่างที่จอห์น ล็อค(John Locke) เสนอไว้
จอห์น ล็อค(John Locke)
แนวความคิดประโยชน์นิยมนี้ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างโดยเจเรมี เบนแทม มีส่วนสำคัญ การเกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิคที่เน้นเรื่องประโยชน์หน่วยสุดท้ายซึ่งให้ความสำคัญกับมูลค่าสินค้า (หรือประโยชน์จากการบริโภคสินค้า ซึ่งให้น้ำหนักกับการบริโภคและผู้บริโภค) มากกว่ามูลค่าของการผลิต (ซึ่งให้น้ำหนักกับการผลิต รวมทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิต)
เบนแธม มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1748-1832 เขาเป็นทั้งนักปรัชญา นักกฎหมาย และนักปฏิรูปสังคม ผู้มีแนวคิดก้าวหน้าล้ำสมัยไปกว่ายุคของตน
ทั้งเรื่องเศรษฐศาสตร์เสรี สิทธิสตรี
การแบ่งแยกรัฐออกจากศาสนา
และเรื่องการไม่แบ่งแยกคนรักร่วมเพศ
หนังสือที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Fragment on Government และ An Introduction to the Pinciples of Morals and Legislation
ในหนังสือเล่มหลังนี้ เขากล่าวว่า
2
“ธรรมชาติได้ทำให้มนุษยชาติอยู่ภายใต้การควบคุมของนายเหนือหัวสองคน
2
"คือความเจ็บปวดและความพอใจ"
นายสองคนนี้เท่านั้นที่จะกำหนดว่าเราควรทำอะไร
เช่นเดียวกับที่กำหนดว่าเราจะทำอะไร”
2
สำหรับเบนแทม มนุษย์ใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความพึงพอใจและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ
1
สองสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคมในทรรศนะของเขา ในลักษณะเดียวกับที่อดัม สมิทเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ส่วนตัวคือสิ่งขับเคลื่อนสังคม
เบนแทม เรียกหลักจริยธรรมของเขาว่าหลักแห่งประโยชน์ (Principle of Utility) ซึ่งประเมินการกระทำใดๆ ด้วยผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
นั่นคือ ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขที่สูงขึ้นหรือลดลง โดยสามารถปรับใช้ได้ทั้งกับปัจเจกชนและสังคม
ในกรณีของสังคม ทำให้เกิดวลีที่โด่งดังว่า
การกระทำที่ดีที่สุดคือ การกระทำที่ก่อให้เกิด “ความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด (the greatest happiness of the great number)”
1
ทั้งนี้เขาให้น้ำหนักกับสังคมมากกว่าปัจเจกชน เมื่อมีความขัดแย้งของหลักจริยธรรมระหว่างปัจเจกและสังคม ต้องถือหลักจริยธรรมของสังคมก่อน
เบนแธมเสียชีวิตลงในวัย 84 ปี
ถ้าเป็นเราเคยนั่งคิดนอนคิดกันบ้างมั้ยว่า
อยากให้คนที่อยู่รุ่นหลังจดจำเราอย่างไร
เมื่อเราได้จากโลกนี้ไปแล้ว
อันที่จริงมันก็เป็นสิ่งที่คนทั่ว ๆ คงไปไม่ค่อยอยากจะคิดถึงกันเท่าไรนัก
ส่วนคนที่คิดเอาไว้บ้าง
ส่วนใหญ่ก็ขอแค่ไม่ให้ต้องเป็นที่จดจำในเรื่องแย่ๆ พูดถึงกันดีๆบ้างก็พอใช่มะ ลองไปดูคำสรรเสริญผู้วายชนม์ทุกๆงานศพ แม้ว่าบางทีผู้ตายอาจเคยทำเรื่องแย่ๆมาทั้งชีวิต แต่ไม่เคยมีคนอ่านประวัติในงานพูดถึงด้านไม่ดีของคนนั้นเลย เช่น เช่นนาย ก.ขณะมีชีวิตอยู่มันชั่วจริงๆ ไม่เคยได้ยิน
แต่อย่างน้อยก็ยังมีบุรุษผู้หนึ่งที่คิดมาอย่างถ้วนถี่ วางแผนไว้อย่างรอบคอบว่าอยากให้คนรุ่นหลังจดจำเขาแบบไหน อย่างไร แถมยังคิดมาให้เสร็จสรรพด้วยว่าโดยวิธีการใด จนกระทั่งถึงวันที่เขาล่วงลับลาจากโลกนี้ไปจริง ๆ
ทุกสิ่งก็ถูกดำเนินการขึ้นตามประสงค์ แต่ที่สุดแล้ว คนรุ่นหลังจะจดจำเขาในแบบที่เขาเองต้องการหรือไม่... คุณนี่แหละจะเป็นผู้ตัดสิน และเขาคือ "เจเรมี เบนแธม" (Jeremy Bentham) นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งจากอังกฤษคนนี้นี่แหละพี่น้อง
ขณะที่ครอบครัวและญาติสนิทมิตรสหาย
กำลังอาลัยกับการจากไป
ก็ได้พบว่านักปรัชญาผู้นี้ได้ทิ้งคำสั่งเสีย
ว่าด้วยวิธีการจัดการร่างกายไร้วิญญาณของตนเอง
ไว้อย่างละเอียดครบถ้วน
เขาเขียนพินัยกรรมไว้ระบุว่าหากเขาตายให้ยกร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อการผ่าศึกษา ซึ่งความต้องการประการนี้ก็เป็นไปตามประสงค์ หลังการเสียชีวิต 3 วัน ร่างของเขาถูกส่งไปผ่าศึกษาที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London)
ส่วนความปรารถนาในประการต่อมา คือให้เก็บโครงกระดูกและ "ศีรษะ" ของเขาเอาไว้ กระดูกให้ทำร่างขึ้นจำลองเหมือนตัวเขา สวมใส่สูทสีดำ
"ออโต้ ไอคอน"หุ่นรูปเหมือนของเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)
เช่นที่เขาเคยใส่ประจำเมื่อครั้งมีชีวิต ส่วนศีรษะให้นำไปถนอมเป็นหัวมัมมี่ แล้วนำมาประกอบเป็นร่าง รายงานบางแหล่งยังบอกว่า
เบนแธมจริงจังกับการมีหุ่นที่มีหัวจริง ๆ ของเขาไว้แทนตัวมาก มากขนาดที่ช่วงท้ายของชีวิต นักปรัชญาผู้นี้ถึงกับพกลูกตาเทียมที่ทำจากลูกแก้วติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อให้คนที่ดูแลศพเขารู้ว่าต้องใช้มันใส่แทนลูกตาจริง ๆ หลังจากเขาตายไปแล้ว ป๊าด...
หุ่นขนาดเท่าตัวจริงของเบนแธมถูกเรียกว่า "ออโต้ ไอคอน" (Auto Icon)
โชว์ตัวอยู่ในตู้ไม้ที่โถงทางเดินอาคารฝั่งทิศตะวันออก ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน
แต่ภาพที่เห็นด้านบนนี้ ที่จริงแตกต่างออกไปจากความต้องการของเบนแธมเล็กน้อย ตรงที่ศีรษะของหุ่นนั้นไม่ใช่หัวจริงๆ ของเขา แต่เป็นหัวขี้ผึ้งที่ถูกปั้นขึ้นมาแทนต่างหาก ส่วนหัวจริง ๆ มีสภาพเป็นอย่างในภาพ...
สภาพหัวจริงๆของ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)
ด้วยความผิดพลาดในกระบวนการทำมัมมี่ศีรษะของเบนแธม ซึ่งลองทำแบบวิธีพื้นเมืองของชาวเมารี ปรากฏว่าแม้จะทำถนอมศีรษะไว้ได้จริง แต่ผิวหนังกลับเหี่ยวกลายเป็นสีคล้ำดำ แลดูไม่ชวนมองเท่าไรนัก
ในตอนแรกศีรษะของจริงของเบนแธมถูกวางไว้แทบเท้าระหว่างขาทั้งสองของ "ออโต้ ไอคอน" แต่ในช่วงปี 1970s ดันถูกนักศึกษา เล่นพิเรนทร์ลักศีรษะของเบนแธมไปเรียกค่าไถ่ แต่ในที่สุดก็ได้ศีรษะนั้นคืนกลับมา แหมมสุดติ่งจริงๆ
และทางวิทยาลัยก็ตัดสินใจย้ายศีรษะจริงของเบนแธมไปไว้ในห้องของภาควิชาประวัติศาสตร์แทน ส่วนหุ่นเต็มตัวของเขายังจัดแสดงไว้ในตู้ไม้นั้นเช่นเดิม
ไม่รู้ว่าเบนแธมตั้งใจให้คนจดจำเขาไว้ในแบบไหนหลังจากตายไปแล้ว
จึงได้สั่งเสียให้สร้างหุ่นแทนตัวเอาไว้แบบนี้ ...
"ออโต้ ไอคอน"หุ่นรูปเหมือนและหัวจริงของเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)
ติดตามแนวคิดของ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)ต่อใน Part2 นะครับ
วิรุฬหก
12 บันทึก
10
4
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปรัชญาประโยชน์นิยม Utilitarianism
12
10
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย