4 มิ.ย. 2020 เวลา 05:01 • การศึกษา
ใบปริญญายังจำเป็นอยู่ไหมในอนาคต?
และอนาคตของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร?
ในเมื่อโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก จนความรู้สามารถหาเรียนได้ มากกว่าในห้องเรียน ความรู้สามารถหาได้โดยง่าย เพียงแค่มี Internet แล้ว มุมมองต่อใบปริญญาที่มีควรจะเปลี่ยนไปหรือไม่??
1
พบกับ ตอนที่ 4 ของซีรีส์ การศึกษาในอนาคต ที่จะมาพูดถึง ความจำเป็นของมหาวิทยาลัย และวิชาที่จะต้องมีในอนาคต
ขออภัยที่ ซีรี่ย์นี้ห่างหายไปหลายวัน ผู้เขียนไปชาร์จแบตตัวเองมา ใครรออ่านอยู่ มาจัดหนักจัดเต็มกับบทความนี้ได้เลย
เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างหนักพอสมควร ผมจึงขอนำความคิดเห็นของ 2 บุคคลรุ่นใหม่ ที่หันมาสนใจทำเรื่องการศึกษาอย่างจริงจังอย่าง
คุณ ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้เริ่มต้นจัดทำ App Startdee และ คุณ ต้นสน สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea Limited (Sea คือกลุ่มบริษัทที่ดูแล Shopee,Airpay,Garena) มาประกอบการเขียนบทความนี้ด้วยครับ
อย่างที่เรารู้ ๆ กันครับว่า Skill ในปัจจุบัน นั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
เราเริ่มพบปัญหาที่ว่า เด็กที่จบมา มี Skill ที่ไม่ตรงกับความต้องการของท้องตลาด มากยิ่งขึ้น
1
สาเหตุนั่นก็เพราะว่า สิ่งที่เด็ก รุ่นนี้เรียนมาตลอด 19 ปี พอนำมาใช้ในปัจจุบัน แทบจะเป็น 0 ในบางสาขาการทำงาน
เราจึงจะเห็นได้ว่า มีบริษัท เอกชนหลายบริษัท เริ่มหันมาทำ โครงการเรียนรู้สำหรับเด็กรุ่นใหม่ เพื่อที่จะหาคนเข้าทำงานใน Skill ที่ต้องการในปลายทางนั่นเอง
เพราะแบบนี้ จึงเกิดคำถามที่ว่า ในอนาคต ใบปริญญา ยังคงจำเป็นอยู่ไหม?
คำตอบคือ ยังคงจำเป็นอยู่ครับ แต่ ไม่ทั้งหมด
ลองคิดภาพตามแบบนี้ครับ
ถ้าเกิดว่าโรงพยาบาล อยากที่จะได้หมอมาทำงาน จำเป็นไหมที่จะต้องได้คนที่เรียนจบ แพทย์มาโดยตรง? คำตอบก็คือจำเป็นอยู่ดี
เรายังจะมี อาชีพที่เป็นวิชาชีพ เฉพาะ ที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ในหมวดวิชานั้น ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้ได้มาตรฐาน มาใช้ในการทำงานจริง ไม่ใช่ทักษะ ความรู้ และวิชาที่เรียนมาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์
1
ดังนั้น ใบปริญญา ในวิชาชีพ เฉพาะนั้น ยังคงมีความจำเป็นอยู่ เสมอ ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ ยังไงก็ยังจำเป็น
แต่อาชีพ ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิชาเฉพาะ ต้องบอกว่า ปริญญา ไม่มีความจำเป็นขนาดนั้นครับ
ไม่ใช่ไม่จำเป็นเลยนะครับ เพราะวิชาพื้นฐานที่เรียนมาจากในมหาวิทยาลัย ยังสามารถนำมาใช้ได้ในการทำงานจริงบ้าง แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ได้
อีกส่วนหนึ่งคือการเรียนรู้ และปรับตัวจริงในการทำงาน ซึ่งบางทีก็เป็นการเรียนรู้ใหม่แทบทั้งหมด อีกทั้ง ที่บอกไปว่า ในปัจจุบัน มีเรื่องใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย การเรียนแต่ภายในห้องเรียน สุดท้ายแล้ว ก็ไม่สามารถมาใช้กับการทำงานได้หมดจริง ๆ ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ตลอดเวลาที่ทำงาน
เราต้องมองว่าการเรียนรู้ แท้จริงแล้ว ไม่ได้จบแค่เพียงในห้องเรียน ถึงแม้ว่าจะเรียนจบแล้ว การใช้ชีวิตก็ยังจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
1
คนในยุคก่อนอาจจะคิดว่า พอเรียนจบแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมากนัก แค่ทักษะในการทำงานในแต่ละวัน ก็เพียงพอแล้ว
แต่โลกในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีตไปอย่างสิ้นเชิง การเรียนรู้แค่ทักษะการทำงาน จึงไม่เพียงพอ เราต้องเข้าถึงทักษะต่าง ๆ ทั้ง Mindset เทคโนโลยี เพื่อที่จะตามให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1
แล้วมหาวิทยาลัยควรจะปรับตัวยังไง??
หัวข้อนี้ ขอนำความคิดเห็นของคุณต้นสนมาใช้ละกันครับ
ก่อนอื่นต้องมองให้กว้างก่อนครับ ว่าแท้จริง แล้วการเรียนในระบบการศึกษาทั้งหมดทั้งมวลที่ เราร่ำเรียนมา 19 ปี แท้จริงแล้วมันเพื่ออะไร??
คำตอบนั่นก็คือ การหล่อหลอมให้คน คนหนึ่ง มีความพร้อมมากพอที่จะเข้ามาสู่ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการที่จะทำให้ พร้อมได้ นั้น การศึกษาในปัจจุบัน อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่จะปรับแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ แต่ต้อง ทั้งวงจร
ถ้าเกิดมองว่าวันหนึ่ง ใบปริญญาบัตร ไม่จำเป็นต่อไปแล้ว
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนอันดับแรก คือความคิดของผู้ประกอบการ ถ้ายังยึดติดกับความคิดเดิม ๆ ที่ว่า ต้องจบ ป.ตรี ถึงจะเข้าทำงานได้ แบบนี้ต่อให้ เปลี่ยน ระบบให้ดีสักกี่รอบ สุดท้าย ก็มาตกม้าตายอยู่ดี
ถ้าเปลี่ยนความคิดได้>>>ระบบเปลี่ยน>>>การวัดผลเปลี่ยน>>>การสอนเปลี่ยน
ทุกอย่างจะเชื่อมโยงกันเป็น เหมือนห่วงโซ่ ที่แก้เพียงจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้นั่นเอง
2
ผู้ประกอบการทุกคนอยากได้ พนักงานที่มีความรู้ตรงตามความต้องการของตัวเอง จนบางที บริษัทเอกชนบางแห่ง ก็ลงทุน เปิดเป็น โรงเรียนของตัวเอง เพื่อนสอน วิชาที่ตัวเองต้องการ เพื่อให้ได้คนที่ตัวเองต้องการ
1
การเรียนรู้ จะมีความแตกต่างออกไป บางที พอจบจากมัธยมศึกษา ก็สามารถเข้ามาทำงาน+เรียนรู้ที่บริษัทได้เลย เพื่อเป็นทั้งการฝึกฝนและ ได้คนที่ต้องการไปด้วยในตัว
ดังนั้นจะบอกว่าการเรียนรู้ในอนาคต อาจจะไม่จบแค่ที่มหาวิทยาลัย แต่อาจจะมีการเรียนแบบ on the job training เกิดขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลา และก็ทำให้ได้คนที่ตรงกับ Skill ตามความต้องการมากขึ้น
นี่แหละคือ รูปแบบการเรียนในอนาคต ที่การเรียนรู้ คือที่ไหนก็ได้ เป็นการเรียนรู้แบบไม่มีสิ้นสุด
แต่ในมุมมองนี้เอง ก็ ภาครัฐ อย่าง มหาวิทยาลัย ก็มีสิ่งโดดเด่นและทำได้ดีกว่าภาคเอกชน 4 ด้าน ที่ต่อให้เป็นภาคเอกชนที่ทำนั้น ก็ยังไม่สามารถทำได้ดีพอ นั่นก็คือ S-A-F-E
S = Soul จิตวิญญาณ
มหาวิทยาลัย คือสถานที่ในการค้นหาตัวเอง
ในรั้วของมหาวิทยาลัย เป็นช่วงวัยที่ค่อนข้างอิสระ ที่คนเรียนจะสามารถลองผิดลองถูก เพื่อค้นหาตัวเองได้ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเด่นที่มหาวิทยาลัยมีมากกว่าเอกชน เพราะ เอกชนมุ่งเน้นมองถึงผลกำไรมากกว่าสิ่งใด จึงไม่มีโอกาสและเวลาให้คนในภาคเอกชน จะสามารถมาค้นหาตัวเองได้อย่างจริง ๆ จัง ๆ
4
A = Accept diversity ยอมรับความแตกต่าง
ในชีวิตการทำงาน น่าจะบอกได้เลยว่า การยอมรับในความแตกต่างอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะ แต่ละหน่วยงาน ก็จะมีภาระรับผิดชอบแตกต่างกันไป ทุกคนล้วนยืนอยู่บนภาระของตัวเอง ทำให้บางที ทะเลาะกัน เพียงเพราะ ความรับผิดชอบ และสิ่งที่เกิดขึ้นมันสวนทางกัน การยอมรับในความแตกต่างเลยไม่เกิดขึ้น ผิดกับมหาวิทยาลัย ที่ มีโอกาสเจอ คนต่างคณะในชั้นเรียนเดียวกัน ทำให้เกิดความคิด และการยอมรับได้ง่ายมากกว่า และเมื่อยอมรับในความแตกต่างได้ ก็จะทำให้เกิด ไอเดีย หรือแนวทางใหม่ ๆ ขึ้นมา
2
F = Failure ความล้มเหลว
แน่นอนว่า ในชีวิตของการทำงาน นั้น ต่อให้เป็นขั้นตอนไหน ๆ ก็ไม่ได้สนับสนุนความล้มเหลวมากขนาดนั้น เพราะ ภาคเอกชนย่อมมองถึงผลประโยชน์มาเป็น อันดับแรก เมื่อคนไม่ตรงกับงาน ก็แค่เปลี่ยนคน ผิดกับภาครัฐ ที่ยังมีพื้นที่ให้กับความล้มเหลวที่เยอะกว่า การเรียนถึงแม้ตก ก็ยังมีซ่อม 4 ปีเรียนไม่จบ ก็ต่อเวลาได้ เป็นต้น
E = Empatize การเข้าอกเข้าใจ
นี่คือหนึ่งใน หัวข้อของ Design Thinking ที่สำหรับผมแล้ว ขึ้นแท่น Future skill ไปแบบ แบเบอร์เลย
ึความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ในมหาวิทยาลัยสอนในเรื่องของความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลมากกว่าในมุมของการทำงานมากมาย มีหลายต่อหลายคนที่ได้เพื่อนดี ๆจากมหาวิทยาลัยมามากต่อมาก
2
เมื่อนำตัวอักษร 4 ตัว มารวมกันก็จะได้คำว่า SAFE นั่นก็คือ พื้นที่ปลอดภัย
สำหรับการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้น ต้องเกิดจากความรู้สึกว่า ปลอดภัยก่อน และพื้นที่มหาวิทยาลัย จะให้ความรู้สึกนี้ได้ดีกว่าภาคเอกชน เพราะไม่มีการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ นั่นเอง
1
และแล้วก็มาถึงคำถามที่สำคัญ
วิชาในอนาคต นั้นควรจะมีวิชาอะไร??
คำถามนี้ ต้องบอกก่อนนะครับว่า แท้จริงแล้วไม่มีใครรู้คำตอบที่ถูกต้องหรอกครับ พวกเราได้แค่คาดเดากันทั้งนั้นว่า ในอนาคต วิชาที่จำเป็น จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง
คำถามที่ได้ถามทั้ง 2 ท่านจึงไม่ใช่ว่า วิชาในอนาคตนั้นจะมีอะไรบ้าง แต่เป็น ถ้าอยากจะสอนวิชาในอนาคต จะสอนวิชาอะไร
ึึคุณไอติมตอบว่า วิชาความสุข
1
ความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนวิ่งหา และพร้อมที่จะนำเงินที่มีเพื่อไปแลกกับความสุขนั้นมา โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่นำไปแลกนั้น เป็นเพียงแค่ความสุขเพียงชั่วคราว หาใช่ความสุขระยะยาวไม่
เรากำลังอยู่ในโลกที่แต่ละคนวิ่งวนเพื่อหาความสุขมาเติมเต็มให้กับตัวเอง ในทุก ๆ วิถีทาง จะดีกว่ารึไม่ ถ้าเขาได้เรียนรู้ และเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่าความสุขมากยิ่งขึ้น ว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่ตามหานั้น หาได้ง่ายเพียง แค่มองรอบตัว
เพราะเหตุนี้ ความสุข จึงเป็นวิชาหนึ่งที่ควรจะเรียนรู้ในอนาคต เพื่อให้เข้าใจ ความสุขมากขึ้น
ส่วนคุณต้นสน ตอบว่า วิชาความล้มเหลว
เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ควรค่าแก่การสอน ในห้องเรียน
เรารู้อยู่แล้วว่าคนที่ประสบความสำเร็จ ผ่านความล้มเหลวมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน สิ่งที่น่าจะสอนในวิชานี้ คือการทำอย่างไร ที่เราจะก้าวผ่านความล้มเหลวนั้น ไม่จมลงไปกับมัน และเปลี่ยนความล้มเหลวมาเป็นแรงผลักดัน มาเป็นพลังงาน ให้เราก้าวมาทำสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
เพราะเราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน จึงเห็นได้ว่ามีหลายต่อหลายคน ก้าวไม่พ้นความล้มเหลว ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่เพียงเรื่องเล็กน้อย
1
สำหรับผมขอเสริมให้ อีกสัก 2 วิชานั่นก็คือ
1. การจัดการด้านการเงิน หรือ การลงทุน
"น่าแปลก ที่เราทุกคนเรียนมา 19 ปี เพื่อจบมาและทำงานหาเงิน แต่กลับไม่มีสักวิชา ที่สอนเราอย่างจริง ๆ จัง ๆ ในการเพิ่มพูน รักษา การใช้เงินนั้นให้ถูกให้ควร"
ก็นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกจริง ๆ ที่การเรียนตลอด 19 ปี ของหลาย ๆ คน ไม่มีวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการเงิน การลงทุน
เรื่องการจัดการเงิน หรือการลงทุน เป็นวิชาหนึ่งที่ควรจะเรียน สาเหตุนั่นก็เป็นเพราะ ทุกคนล้วนแล้วแต่ทำงานเพื่อหาเงิน แต่มีหลายต่อหลายคน ที่ไม่รู้วิธีการจัดการที่ดีพอ ทำให้ต้องกลายเป็นหนี้ หรือไม่มีการออมเงิน หรือนำเงินไปลงทุน
ต้องยอมรับนะครับว่า นี่เป็นเรื่องพื้นฐานเรื่องหนึ่ง ที่ทุกคน รู้ แต่เรารู้กันไม่มากพอ
อย่างผมเอง ถ้าไม่มาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับ การแบ่งสัดส่วนของเงินรายได้ ที่จะต้องมีเงินออม 10% หรือความรู้ทางด้านการลงทุน ที่ควรจะเป็นความรู้หนึ่ง ที่ควรจะมี เพื่อทำให้เงินงอกเงยได้มากกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารเฉย ๆ
ความรู้เหล่านี้ ไม่ได้มีสอนในมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช่ คณะที่ต้องเรียน ก็จะไม่มีความรู้ในด้านนี้ติดตัวเลย
วิชานี้ คือ หนึ่งในวิชาในอนาคตที่ควรจะมี
3
2. การเข้าอกเข้าใจ
ในอนาคตคือโลกของ AI และ เทคโนโลยี สิ่งที่จะทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้นคือการ Empatize(เข้าอกเข้าใจ) เพราะนั้นคือสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้ และที่สำคัญ การเข้าอกเข้าใจคน นำมาซึ่ง การเกิดเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาแล้ว มากมาย อย่างเช่น สตีฟจ๊อป ที่ เข้าใจว่าแท้จริงแล้วคนเราอยากฟังเพลงแบบง่ายและก็หลากหลาย จนก่อเกิดเป็น ipod ที่สามารถบรรจุเพลงเป็นพัน ๆ ลงไปในเครื่องเพื่อฟังได้
ถ้าเราได้เรียนรู้ทักษะนี้ กันทุกคนเป็นพื้นฐาน บางทีอาจจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกนี้ก็ได้
2
สุดท้ายต้องขอทิ้งท้ายไว้ว่า การศึกษา เป็นเรื่องที่ ส่งผลกระทบต่อ คนทุกคน
แรงผลักดันที่ทำให้ผมเขียนซีรี่ส์นี้ขึ้นมา นั่นก็คือ การได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำว่า "ความยั่งยืน" หรือ sustainability มากขึ้นครับ
ทำให้รู้ว่า แท้จริงแล้วเรากำลัง ทำลายโลกที่เราอยู่เพียงใด และการศึกษาเองก็เป็นหนึ่งใน ปัญหาที่จะช่วยคลี่คลายให้โลกใบนี้ ดีขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้มากขึ้น
ผมจึงอยากเป็นหนึ่งในกระบอกเสียง ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เพราะว่าการศึกษา เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามได้
เราจึงต้อง ทำให้การศึกษาเป็นไปในแบบที่ยั่งยืนในอนาคต
Ref.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา