12 มิ.ย. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
เพราะผิดพลาด เดอะซีรีย์
EP:06 เรียนรู้เพื่อที่จะรู้ทัน
งานปัจจุบัน กับความคาดหวังใหม่ๆ โครงการในการพัฒนาใหม่ๆ โอกาสในการพัฒนามากมายที่สามารถทำให้หน่วยงานและองค์กรพัฒนาขึ้นได้
สร้างความกดดันให้ตัวผม ความกลัว ความไม่รู้ ความไม่พร้อมมากมายถาโถมเข้ามาในชีวิต และในความเป็นจริงที่ผ่านมาผมตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างไรบ้าง
สามารถอธิบายได้ง่ายมากเลย โดยเรียงลำดับ จาก
(1) นิ่งเฉย
(2) หนี
(3) สู้
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็ตอบสนองต่อปัญหาต่างๆ แบบนี้ มันเป็นกลไลป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่ติดตัวเรามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเพื่อการมีชีวิตรอด ไม่มีใครพร้อมที่จะ “สู้” กับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต เราเพียงแค่ต้องรู้ว่าตอนไหนควรที่จะ “สู้” ก็แค่นั้นเอง
เกร็ดในการเรียนรู้
ในเมื่อเราเข้าใจแล้วว่าร่างกาย จิตใจตอบสนองต่อเรื่องต่างๆ อย่างไร ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะมีสิทธิพิเศษ "ที่จะไม่กลัว" หรือรู้แจ้งในทุกๆ เรื่อง
ในกรณีที่จะต้องทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้น "ความกลัว" เป็นสัญญาณตามธรรมชาติให้เรารู้ว่าเรายังไม่ดีพอก็เท่านั้น
เราจึงควรพัฒนาตัวเองเพื่อสร้างความมั่นใจที่มากพอที่จะเลือก "สู้" แล้วชนะ
คงไม่มีใครเลยที่ชอบการต่อสู้ ชอบการแข่งขันที่ไม่มีโอกาสชนะ หรือมีความชอบอย่างแรงกล้าที่จะแข่งขันให้ไม่ชนะ (ชอบการเป็นผู้แพ้)
เมื่อทบทวนจากปัจจุบัน (ส่วนนี้เพิ่มเติมเข้าไปจากฉบับเดิม)
ในเมื่อไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะมีสิทธิพิเศษ "ที่จะไม่กลัว" หรือรู้ในทุกๆ เรื่อง
มองมุมกลับเมื่อถึงเวลาเลือกที่จะ "สู้" กับทุกโอกาส ความท้าทายใหม่ในงาน ต้องยอมรับเลยว่า.....เริ่มต้นผมมีความกลัวว่าผมอาจไม่สามารถทำงานชิ้นนั้นได้สำเร็จ (พร้อมความคิดด้านดาร์ก และเหตุผลรองรับมากมาย ให้กลับเข้าสู่สภาวะ "นิ่งเฉย" หรือ "หนี")
แต่วิธีแก้ของผมหรือครับ
"ผมคิดถึงเรื่องอื่นที่กลัวมากกว่า ถ้าผมไม่ได้ทำงานชิ้นนั้น"
ตัวอย่าง
ถ้าจะปฏิเสธงานใหม่ที่ท้าทาย ยาก มีความสำคัญกับองค์กร
จริงๆ ปฏิเสธก็ไม่ยากนะครับ แต่ สิ่งที่ผมกลัวมากกว่าคือ
1. เมื่อปฏิเสธแล้ว จะมีโอกาสครั้งที่ 2 หรือไม่ (และมีวันไหนจริงที่เราบอกตัวเองได้ว่าเราพร้อม 100% ในความรู้ ทักษะ ความสามารถในการทำงานนั้นให้สำเร็จ เพื่อจะทำงานที่ได้รับมอบหมายนั้นแบบไร้ความกลัว กังวลใจ)
2. ถ้าต่อไปเราหมดโอกาสที่จะได้รับงานยากและท้าทาย แล้ว....องค์กรยังต้องมีเราจริงหรือ? ยิ่งถ้าระบบ AI เข้ามา โดยส่วนตัวผมที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้างานระดับต้น ซึ่งส่วนใหญ่ปกติก็มีโอกาสในการสร้างปัญหาเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้บุคลากรตัดสินใจลาออก รวมถึงการบริหารความสัมพันธ์การสื่อการกับทีมงาน (ก็มีความสนิทแบบคนวงใน คนวงนอก หรือบริหารผลงานไม่เป็นกลางมีความเบ้ มีอคติ)
ประกอบกับหัวหน้างานขั้นต้นบางคนเดิมก่อนขึ้นตำแหน่ง เก่งแต่เรื่องงาน พอมาบริหารคน อาจไม่ได้รับการพัฒนาเตรียมตัวเต็มที่ หรือไม่ถนัดในการบริหารคน
ดูแล้วน่าจะเป็นตำแหน่งที่ "หายไปง่ายที่สุด" เมื่อ AI เข้ามาช่วยในงาน HR ได้แบบเต็มที่ (แต่กว่าระบบจะเข้ามาก็น่าจะตามต่างประเทศประมาณ 5 - 10 ปี....ทั้งนี้อนาคตก็ไม่แน่นอน)
3. แล้วมูลค่าของตัวผม ยังเหลือความสำคัญในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา หรือขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอยู่ไหม? (ในเมื่อเราจะปฏิเสธงานที่เป็นทิศทางมุ่งไปข้างหน้าขององค์กร)
พวกคุณเคยลองทำกันไหม ผมทำสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี ผมจะอัพเดท Resume / Curriculum Vitae สม่ำเสมอโดยจะอัพเดทเงินเดือนถ้าเปลี่ยนไปทำที่ใหม่ โดยเพิ่มเงินเดือน 1.5 - 2 เท่า ว่ายังมี Head Hunter โทรศัพท์ตรงมาเชิญชวนทำงานอยู่ไหม
(ซึ่งในแต่ละปี ก็โชคดีที่ยังมีโทรมาหาอยู่แต่พอดีแม้ที่ใหม่ให้เงินมากกว่าอยู่ แต่ช่วงนี้ผมก็มีหลายอย่างที่อยากทำงานกับองค์กรปัจจุบันอยู่...ทำมาจะ 12 ปีละ).. แต่ปีนี้ covid ไม่น่ามีติดต่อ
สุดท้ายแม้ผมจะกลัวงานใหม่ที่ยากและท้าทาย แต่ถ้างานนั้นมีความสำคัญผมก็จะเลือก "สู้" แม้จะกลัวๆ (ทุกครั้ง) ก็ตาม และถ้าเกิด "สู้" แล้วผิดพลาดก็เรียนรู้พัฒนาต่อไป....เพราะผมคือตัวตนของความไม่สมบูรณ์แบบที่อยู่ระหว่างพัฒนาให้ดีขึ้นนั้นเอง
อ้างอิง EP:05 ฉุดคิด "ตัวเราเอง" ในวัย 40
โฆษณา