6 มิ.ย. 2020 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพราะปุกปุย จึงเป็นภัย! 'แมวพัลลัส' เหมียวขนหนานุ่ม มันจึงถูกล่าจนเกือบสูญพันธุ์
"แมวพัลลัส" เป็นหนึ่งในแมวที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากลักษณะพิเศษของมันที่เป็นที่หมายปองของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง
WIKIPEDIA CC KARIN ST
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
แมวพัลลัสเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยการค้นพบของ Peter Simon Pallas นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันในปี 1776 พวกมันอาศัยอยู่ในทางตะวันตกของจีน มองโกล ทิเบต และในแถบเอเชียกลาง ซึ่งจะกระจายตัวอยู่ตามบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็น เพราะถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจึงทำให้แมวพัลลัสมีลักษณะเด่นก็คือขนของพวกมันที่มีความยาวและหนากว่า 7 ซม. เพื่อให้สามารถทนต่ออากาศหนาวได้ ซึ่งขนาดของพวกมันถ้าไม่รวมขนก็จะมีขนาดเท่าๆ กับแมวบ้านทั่วไป นิสัยของแมวพัลลัสนั้นค่อนข้างขี้อายและขี้กลัว พวกมันจะอาศัยเป็นครอบครัวในโพรงหินตามซอกเขา ตอนกลางวันจะเก็บตัวเงียบและออกหากินในตอนกลางคืน
WIKIPEDIA CC KAVEN LAW
ในอดีตแมวพัลลัสเป็นที่ต้องการของชาวจีน มองโกลและรัสเซีย เนื่องจากขนพวกมันนั้นนุ่มและหนา จึงทำให้ถูกล่าเพื่อเอาขนมาทำเครื่องนุ่งห่ม อีกทั้งยังมีความเชื่อในหมู่ชาวมองโกลว่าเนื้อของพวกมันนั้นเป็นยาที่สามารถรักษาโรคหวัด ไขข้อและภูมิแพ้ได้ จึงทำให้พวกมันถูกล่าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัวด้วยเหตุนี้ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มตระหนักถึงการสูญพันธุ์ของพวกมัน ในปี 2009 จึงได้มีการบรรจุชื่อพวกมันให้อยู่ในอนุสัญญาไซเตส ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 สามารถค้าได้แต่ต้องได้รับหนังสือรับรองจากทางการ เพื่อคุ้มครองไม่ให้พวกมันสูญพันธุ์
WIKIPEDIA CC PARKEN ZOO
ปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพวกมันเหลืออยู่ในธรรมชาติเป็นจำนวนเท่าใด แต่ในปี 2010 การผสมเทียมแมวพัลลัสในอเมริกาประสบความสำเร็จจนให้กำเนิดลูกแมวออกมา 3 ตัวได้เป็นครั้งแรก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา