6 มิ.ย. 2020 เวลา 03:07
#เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่องสั้นย้อนยุค,#พระธาตุดำ (คำ), #พระบรมอัฐิเจ้าอนุวงศ์, #พญานาคฝั่งลาว,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ,
วันนี้ ขอเล่าปูพื้น ถึงหนึ่งในสถานที่สำคัญของเรื่องราว คือ พระธาตุคำ และเรื่องราวของพระอัฐิของเจ้าอนุวงศ์ รวมไปถึงเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค ของฝั่งไทย-ลาว ที่จะกลับมามีบทบาทสำคัญ ในภายหลัง คราเมื่อฝรั่งเศสเข้ามาสอดแนม และสร้างความหวาดระแวงให้กับสยาม :)
สุขสันต์วันเสาร์นะครับ :)
#พระบรมอัฐิเจ้าอนุวงศ์,
-ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 จากเหตุการณ์ กบฏเจ้าอนุวงศ์,
ภาพวาดของ Louis Delaporte ขณะร่วมเดินทางกับคณะสำรวจแม่น้าโขง ของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๑๑
-ทางสยามจึงมิได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิถวายเป็นพระเกียรติยศของพระองค์เยี่ยงกษัตริย์ทั่วไปแต่ประการใด,
-และเรื่องเล่ากันต่อมาว่า พระบรมอัฐิของพระองค์ถูกเก็บไว้ใต้บันไดวัดอรุณราชวราราม , ส่วนเอกสารวรรณกรรมพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระองค์ทรงสั่งให้พระมเหสีนำง้วนสารหรือยาพิษมาเสวยจนสิ้นพระชนม์ ทางสยามได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ใต้ฐานพระธาตุดำกลางกรุงเวียงจันทน์
เจ้าอนุวงศ์ถูกพิพากษาหน้าลานพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทบนกำแพงพระบรมมหาราชวังฝั่งตะวันออกริมถนนมหาไชย
#พระธาตุดำ (คำ)
-เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานล่างเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนกัน 7 ชั้น องค์ระฆังเป็นรูปแปดเหรี่ยมสองชั้นไปสู่ยอดด้านบน ถือเป็นโบราณสถานของเมืองพานพร้าว (ศรีเชียงใหม่) บริเวณที่ตั้งโบราณสถาน เดิมเชื่อว่าเป็น ฮูพญานาค (รูพญานาค) ตามตำนานเล่าว่าบริเวณพระธาตุเป็นทางเข้าออกเมืองบาดาลที่พญานาค 7 เศียรมาช่วยเหลือชาวเมืองในสมัยที่ทำสงครามกับกองทัพสยาม,
จนต่อมาจึงถูกสร้างปิดกักขังทางเข้าออกพญานาคไว้ โดย รัชกาลที่1 พญานาคจึง พ่นพิษให้เจดีย์ดำหมด,
พระธาตุดำ
-มีการขุดแต่งปี ในพ.ศ. 2539 ก็พบว่ามีแนวกำแพงอิฐอยู่ใกล้องค์เจดีย์ แสดงว่ามีโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว และมีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ภายหลัง, เป็นการสร้างเจดีย์ปิดคล่อมทับ โบราณสถานเดิม,
1
#ตำนานพญานาคไทย-ลาว,
- “พญานาค” ตามความเชื่อและความศรัทธาของทั้งพี่น้องชาวไทยและชาวลาวนั้น จะเป็นผู้คอยดูแลปกปักรักษาผู้คนในแถบลุ่มน้ำโขงและองค์พระธาตุพนม กล่าวคือ ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาวต่างมี กษัตริย์แห่งนาคราช จะแยกปกครองดูแล
-แต่พื้นฐานคือ มีลักษณะตัวเป็นงู ตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง  เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี และที่สำคัญคือ  ตระกูลธรรมดำองค์ท่านจะมีเศียรเดียว แต่ถ้ำตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมี  3 เศียร 5 เศียร 7 เศียร และ 9 เศียร
-ฝั่งลาว คือ พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) ผู้มีเจ็ดเศียร เป็นกษัตริย์ใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวงในฝั่งลาว เป็นพญานาคที่ทรงฤทธิ์ ที่ชอบมาจำศีลและประพฤติ ปฏิบัติธรรม ที่วัดพระธาตุพนม ตามคำกล่าวของหลวงปู่คำพันธ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุมหาชัย
1
-พญาศรีสัตตนาคราช นี้มีปรากฏพบนาม ในตำนานอุรังคธาตุ ดังนี้ว่า “พระศาสดา ก็เสด็จไปสู่ดอยนันทกังรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อน มีนาคตัวหนึ่ง 7 เศียร ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอฐ เจ้าอานนท์กราบทูลถาม ตถาคตตรัสว่า เราเห็นนาค 7 เศียร เป็นนิมิต ต่อไปภายหน้าที่นี้จักบังเกิดเป็นเมือง มีชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค”
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
6/6/2020
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง: ฉายาลักษณ์สยาม, สุเจน กรรพฤทธิ์. ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. กรุงเทพฯ:สารคดี, หน้า 145, ภาสกร วงศ์ตาวัน, เจ้าอนุวงศ์ : กบฏหรือวีรบุรุษ. กรุงเทพ, 2553, อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์“อุรังคธาตุ ตำนานพระธาตุพนม” จัดพิมพ์เนื่องในการสัมมนาประวัติศาสตร์อีสาน ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๑, ภาพวาดของ Louis Delaporte ขณะร่วมเดินทางกับคณะสำรวจแม่น้าโขง ของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๑๑ แสดงให้เห็นถึงสภาพทรุดโทรม และซากปรักหักพังท่ีวางระเกะระกะอยู่บริเวณระเบียงหอพระแก้ว เวียงจันทน์ อันเกิดจากการทาลายของกองทัพไทย(ภาพจาก A Pictorial Journey On The Old Mekong, Cambodia, Laos and Yunnan)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา