6 มิ.ย. 2020 เวลา 13:54 • การศึกษา
การขอประกันตัวชั่วคราวในคดีอาญา !!
-หากมีการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ก็ต้องทำเรื่องประกันตัวหากไม่มีเงินประกันตัว ก็จะถูกขังในระหว่างพิจารณาครับ
-หลักเกณฑ์การใช้บุคคล
บุคคลผู้ขอประกันตัวจะต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือ มีรายได้แน่นอน เช่น เป็นข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ ลูกจ้างของทางราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง ทนายความ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ทำสัญญาประกันได้ ไม่เกินวงเงิน 10 เท่า ของ อัตราเงินเดือน หรือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
 
ผู้ขอประกันจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้ ในกรณีแจ้งว่ามีความสัมพันธ์เป็นญาติต้องแสดงบัญชีเครือญาติต่อศาลด้วย
-หลักฐานที่ใช้ในการขอประกันตัว
การยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยชั่วคราว ผู้ยื่นขอประกันตัว จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวตามแบบฟอร์มของศาล และจะต้องจัดเตรียมเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน เอกสารที่ต้องเตรียมมาประกอบการขอประกันตัว
1. บัตรประจำตัวเจ้าของหลักทรัพย์
บัตรประจำตัวประชาชน
บัตรประจำตัวข้าราชการ
บัตรประจำตัวอื่นๆ
2. บัตรประจำตัวของคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ (คู่สมรสจะต้องมาให้ความยินยอมด้วยตนเองที่ศาล)
3. ทะเบียนสมรส
4. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของหลักทรัพย์ และคู่สมรส
5.ใบมรณะบัตร ( กรณีคู่สมรสเสียชีวิต )
-วิธีการขอยื่นขอประกันตัว
1.ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหาพบและยื่นคำร้องต่อ พนักงานสอบสวนที่จะปฎิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
2.หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เองให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
3.เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่ง ต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4.เจ้าพนักงานจะพิจารณา แจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาที่รับคำร้อง
5.หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรหรือสารวัตร หัวหน้างานคนใดคนหนึ่งทราบทันที
6.ในการยื่นและขอประกันตัวผู้ต้องหานี้เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจที่ะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง
6.1 ความหนักเบาแห่งข้อหา
6.2 พยานหลักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด
6.3 พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด
6.4 เชื่อถือผู้ร้องขอประกันได้เพียงใด
6.5 ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว มีเพียงใด หรือไม่ ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
7.หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ก็จะนำสัญญาประกันและผู้ยื่นประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
8.หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสืบเนื่องจากเหตุใน ข้อ 6 ก็จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์ไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา