7 มิ.ย. 2020 เวลา 08:38 • ธุรกิจ
4 mins Read - สรุป 10 บทเรียนธุรกิจจาก Covid กับ บริษัทสัญชาติจีน
บริษัทเหล่านี้รับมือ และ ปรับตัวกันอย่างไร ? (ตอน 2/2)
ชะแว้บบ มาต่อกันที่ ตอน 2 กันเถ้อะ ไม่พูดเยอะ เพราะคิดว่าน่าจะเขียนเยอะแทน 55555
ไปกันเลยจ้า !
5. เสาะหาวิธีใหม่ๆในการร่วมมือกับ Partner คนอื่นๆ
- อันนี้จะตรงตัวมากๆ คือวิธีการที่เราร่วมมือกันทำงานกับ Partner, Supplier หรือ Customer และ อาจจะรวมถึงเหล่า Competitor ! !
ตัวอย่าง
- บริษัทภาพยนต์ Huanxi Media Group ได้ผลิตภาพยนต์ฉายปี 2020 นี้แหละ ชื่อเรื่อง "Lost in Russia" และวางแผนจะฉายในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา
พอเกิด Covid โรงหนังก็เลยปิดทำการ และเป็นเหตุทำให้หนังเรื่องต้องงดฉาย และแน่นอน...ขาดทุนจ้าาา
อย่างไรก็ตาม Huanxi Media Group ได้มีสัญญาผูกไว้กับบริษัท Bytedance (เจ้าของ Tiktok) ระยะเวลา 1 ปี โดย Huanxi ได้ทำการฉายเป็น Live streaming แทน โดยบริษัททำรายได้ถึง 91 ล้านหยวนเลย และ 600ล้านวิว ในเวลาเพียงแค่ 2 วันเท่านั้นเอง ผลิกวิกฤตสุดๆ !
Lost in Russia (2020)
- อีกตัวอย่างนึงคือ Trip.com Group
เนื่องจาก การยกเลิกของนักท่องเที่ยว มีปริมาณมากกว่ายอดจองที่ผ่านมา (เพราะรวมถึงคนที่ของปีที่ผ่านมาด้วย) โดย Trip.com ได้ทำการใช้วิธี เชื่อมต่อ ทุกแผนกให้ร่วมมือกัน ภายใต้เป้าหมายของการช่วยเหลือลูกค้าในการยกเลิกการจอง
โดยแผนกที่เป็นหัวใจหลักคือ IT และให้ความช่วยเหลือกับ customer service, commercial, legal affairs, finance,และ marketing โดยการที่ สร้างปุ่มที่เรียกว่า "one click" ที่สามารถช่วยให้ลูกค้ายกเลิกได้เร็ว และยัง notice ทีมการเงินได้ต่อด้วย
รวมถึงพอมีการพัฒนาเจ้าปุ่มนี้เสร็จ ทีม Customer Service ก็ทำการแจ้งลูกค้าที่มีวันท่องเที่ยวตรงกับการ lockdown และนั้นทำให้ Trip.com สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
6. สนับสนุน Work from Home !
- เอาจริงๆ Remote working ที่ประเทศจีนเนี่ยค่อนข้างแปลกใหม่ และไม่ได้เป็นที่นิยม เพราะวิธีการนี้เน้น Self-motivate and result outcome individual เพราะงั้นแล้วการที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องยากมาก เราว่าที่ยากอีกอันก็คือ ความไว้ใจด้วย
ตัวอย่าง
- Bosch บริษัทเทคโนโลยีจากเยอรมัน ซึ่งการทำงานที่บ้านของชาวยุโรปเนี่ยไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อย่างไรก็ตาม Bosch ที่ประเทศจีนเอง โดยหัวหน้าแผนกสัญชาติจีนก็สามารถเรียนรู้และปรับใช้ Trust model โดยสามารถบริหารแผนการทำงานที่บ้านได้อย่างดี
7. ผลักดันเรื่องการเรียนรู้ระยะยาวขององค์กร (lifelong learning)
- ผู้บริหารที่สัมภาษณ์ทั้งหมด 20 คน ได้บอกว่า Lifelong learning และ Growth mindset ค่อนข้างเป็นจุดสำคัญของพนักงาน
มาดูตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายกันดีกว่า
- New Oriental Group เจ้าเดิมม บริษัทเกี่ยวกับการเรียน
CEO ได้มีการจัดคอร์ส learning online สำหรับพนักงานในขณะที่อยู่บ้าน (คล้ายๆ Linkedin learning หรือ Udemy ประมาณนี้) แล้ว CEO เค้ายังมีการเค้าไปเยี่ยมกลุ่มของพนักงานที่ทำการเรียนรู้ในหมวดต่างๆ เพื่อเข้าถึงและเข้าใจให้มากขึ้น และมีการจัดทำ workshop ขึ้นมาเพื่อให้ พนักงานได้นำความรู้มาทดลองปฏิบัติ ผลที่ตามมาก็คือ curve การเรียนรู้ของพนักงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
8. วางแผนกรอบเกณฑ์การประเมิณผลพนักงานซะใหม่ !
- ในวิกฤตแบบนี้ ถือว่าเป็น challenge มากๆอย่างหนึ่งสำหรับ middle - top management
เพราะในตอนนี้ Manager ระดับนี้ต้องมีการแสดงให้ลูกทีมได้เห็นถึงตัวอย่างที่ดี หรือสามารถมาสังเกตวิธีการทำงานได้
- การวัดผลที่ดีในตอนนี้ ไม่ใช่การวัดผลที่จำนวนของการขาย หรือ What results ? แต่ควรมองถึงปัจจัยและวิธีของการทำงาน (How?) เสียมากกว่า
- ผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ได้บอกอีกว่า บริษัทของพวกเค้าได้เน้นการทำงานแบบเป็นทีม และเป้าหมายหรือ KPI เน้นในรูปแบบของทีม ที่เป็นเป้าหมายระยะ กลาง - ยาว มากกว่า ในตอนนี้
- บริษัทใหญ่หลายๆที่จะมีการวัดผลโดยการใช้ หน้าตา output แบบ dashboard ซึ่งก็ยังมีการใช้อยู่เพียงแต่ Manager ของแต่ละทีมจะต้องเป็นคนรับผิดชอบนั้นเอง
9. โอกาสดีๆที่จะได้เลือกทำอาสาสมัครช่วยสังคมในยามตกยาก
- ถ้าไม่ใช่ในช่วงนี้แล้วจะเป็นช่วงไหนได้อีก โดยที่บริษัทในจีนต่างๆส่วนใหญ่จะมีการขอ อาสาสมัครพนักงานที่มี ขวัญกำลังใจดี เรี่ยวแรงยังดีอยู่ มาทำประโยชน์ให้กับสังคมในนามบริษัทนั้นเอง
- โดยมีตั้งแต่ การผลิตของ lot พิเศษ เช่นอาหารกระป๋อง หรือแม้แต่ แรงงานการขับรถขนส่งไปแจกจ่าย จนถึง พนักงานที่เก่งด้านไอที หรือเราเรียกว่าพวก Tech savvy ก็จะมีการรณรงค์ให้เค้าออกมาทำวีดีโอถ่ายทอดความรู้นั้นเอง
ตัวอย่าง
- Yum China, อาหารฟาสฟู้ดชื่อดังเจ้าของ KFC ในจีนนี่เอง ได้ปิดตัวทุกสาขาใน Wuhan ลงชั่วคราวระหว่างช่วง lock down แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทเองได้มีการทำอาสาสมัคร กับพนักงานของ Yum ที่พอจะสามารถช่วยได้ในเมือง Wuhan ให้มาเปิดร้านอาหารฟาสฟู้ดนี้ในสาขาใกล้เคียงโรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์นี่เอง
- เพื่อนๆเชื่อไม๊ว่า บริษัท Yum ได้ประกาศไปเพียงแค่ 2 ชั่วโมง มีพนักงานในบริษัทเกือบ 900 ชีวิต สมัครเข้ามาร่วมโครงการอาสานี้ !
- นอกจากนี้บริาัทอื่นๆที่ HBR ได้ทำการสัมภาษณ์ก็ได้บอกว่า มีการรณรงค์ให้พนักงานที่ยังเป็นวัยรุ่นมาทำการ Post Video ลองใน Tiktok เพื่อสร้างสีสันพลังบวกและกำลังใจให้กับเพื่อนๆร่วมงาน
10. สุดท้ายและสำคัญเลยคือ "การให้ความช่วยเหลือพนักงาน และการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพนักงาน (Resilience)"
- ในภาวะแบบนี้ พนักงานหลายๆคนอาจต้องห่างไกลครอบครัว หรือไม่ได้กลับบ้าน แน่นอนว่า กำลังใจของพนักงานเรียกได้ว่าแทบจะหมดเกลี้ยง
- โดยเฉพาะเด็ก gen millennium เป็นต้นไปที่จะหมดกำลังใจเอาซะง่ายๆ แต่ก็เป็นกำลังสมองที่สำคัญ
- บริษัทต้องทำความเข้าใจกับความรู้สึกของพวกเค้าให้มาก พยายามเข้าใจถึงความตรึงเครียด ไม่มองข้าม และพูดคุยกับพนักงาน
- ผู้บริหารต้องใช้หลักการ Empathy กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น ลงมาพูดคุยกับพนักงานอย่างเป็นกันเอง มีความอดทน Patience ที่มากขึ้น และเข้าใจว่า การที่พนักงานทำงานได้ไม่บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
จบแล้วจ้าาาาา
สรุปอีกทีนึง เพื่อนๆจะเห็นได้เลยว่า กลยุทธ์ที่ผู้บริหารที่มาสัมภาษณ์เนี่ย เค้โฟกัสกันเลยก็คือ (สรุปแบบเวอร์ชั่นของเราเองละกันนะ)
1. Technology - ได้เวลาที่จะปรับใช้ และลงทุนกับนวตกรรม
2. People - ปรับในเรื่องของจำนวนคนซึ่งทดแทนได้ด้วย machine และ เพิ่มขวัญกำลังใจพนักงาน
3. Society - แสดงออกถึงการช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤตเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเพื่อนร่วมประเทศ (ไม่เชิงเป็น CSR นะ เราว่ามันคือการ Volunteer มากกว่า)
หวังว่าบทความทั้ง 2 ตอนนี้ที่เราย่อยมาให้ จะเป็นอาหารสมองชั้นดีต่อเพื่อนๆน้าาาา ^^" ขอบคุณที่อ่านจ้าาา
โฆษณา