7 มิ.ย. 2020 เวลา 14:24 • การศึกษา
TEQUILA เหล้าเตกีลา
เหล้าเตกีรา"Tequila" เป็นเหล้าประจำชาติของชาวเม็กซิกันประเทศเม็กซิโกที่ได้รับความนิยมดื่มกันทั่วโลก และเป็นเหล้าประจำท้องถิ่นที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมหาศาล
เตกีลาหรือเมซคาล
ราว 1000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัซเตกรู้จักการบ่มหมักเครื่องดื่มจากอะกาเว่ ที่เรียกว่า"ปูลเก"(Pulqua)
ซึ่งมีแอลกอฮอร์อยู่ประมาณ 4-8 % โดยสันนิฐานว่า
เป็นอารยธรรมเดียวกันกับชาวโอลเมค และชนเผ่าต่างๆที่อยู่รวมกันในสมัยเดียวกัน ก็น่าจะรู้จักวิธีการหมักเครื่องดื่มชนิดเดียวกันนี้
ชาวโอลเมคทำการบ่มหมัก "ปูลเก"
ราวศตวรรษที่ 15-16 หลังจากสเปนได้ทำสงครามล่าอาณานิคมเข้ามามีชัย ยึดเอาเม็กซิโกและชนพื้นเมืองเป็นอาณานิคมการเปลี่ยนแปลงการทำ "เตกีลา"
จึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น
ฟรันซิสโก เอร์นันเดซ กับราชาอัซเตก
ทหารสเปนสู้รบกับชนเผ่าพื้นเมือง
ทหารสเปนเข้ายึดเม็กซิโกขับไล่ชนเผ่ามายา
การเปลี่ยนแปลง ได้นำวิทยาการการกลั่นมาใช้กลั่นเหล้าจากต้น" อะกาเว่"(Agave) ซึ่งเรียกว่า
"เมซคาล"(Mazcal) ซึ่งเป็นต้นอะกาเวสายพันธ์ต่างๆ
การผลิตอย่างเป็นทางการเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
เมื่อ ดอน เปรโด ชานเชชส์ ( Don Pedro Sanchez)
ได้มาตั้งโรงงานขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว
ที่เม็กซิโก ซึ่งได้รับการชื่นชมว่าเป็นบิดาแห่งเตกีลา
โรงกลั่นแห่งแรกในเม็กซิโก
ราวศตวรรษที่ 18-19 เตกีลาสมัยใหม่ที่รู้จักกันทุกวันนี้ถือกำเหนิดขึ้นโดยแตกแขนงจาก เมซคาล นั่นเอง
เตกีลาแตกแขนงจากเมซคาล
ความแตกต่าง Mezal vs Tequila
ค.ศ. 1936 มาร์การิต้าค็อกเทลได้ถือกำเหนิดขึ้นโดยมีส่วนผสมหลักเป็นเหล้าเตกีลา และเป็นค็อกเทลที่ได้รับความนิยมดื่มไปทั่วโลกจนทุกวันนี้
ค.ศ.1974 รัฐบาลเม็กซิโกประกาศและยกย่องให้ "เตกีลา"เป็นทรัพสินย์ทางปัญญาของประเทศเม็กซิโก อีกทั้งยังจัดงานวัน "Tequila Day "
ที่จัดงานพร้อมกับอาหาร Mexican Food อีกด้วย
Mexican Day
"เตกีลา" กับ "เมซคาล"
เตกีลาเป็นชื่อสมัยใหม่ของสุรากลั่นท้องถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งตั้งชื่อตามเมืองเล็กๆ ในรัฐฮาริสโก
และต้องทำจากอะกาเวสายพันธ์สีฟ้า ที่เรียกว่า
"Blue Agave"และผลิตในเป็นพื้นที่ ที่กำหนด เท่านั้น
ส่วนมาซคาลนั้นทำจากอะกาเวหลากหลายสายพันธ์
พันธ์อะไรก็ได้ ตามที่มีตามท้องถิ่นหรือตามต้องการ
Blue Agave
พื้นที่การปลูก Blue Agave เพื่อผลิต "เตกีลา"
กฎหมายในการผลิตเตกีลา กำหนดให้มีการปลูกเฉพาะ เขตฮาลิสโก้ (Jalisco)ทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่
กวานาวาโต (Guanajuato) มิโซอากัง(Maisoacan)
นายาริต (Nayarit) ตามารีปัส (Tamaulipus)
รัฐฮาลิสโก้ ถือเป็นต้นกำเหนิดบ้านเกิดของเตกีลา
ร้อยละ 90% ของเหล้าเตกีลาผลิตจากที่นั่น
เตกีลามีหลักเกณฑ์ในการผลิตที่ชัดเจน ในการแบ่งแยกออกจากเมซคาลทั้งข้อกำหนดดังกล่าว
ยังได้แยกย่อยแบ่งเกรดและวิธีการกลั่นให้เหล้า
ชนิดนี้ตามข้อกำหนดในการควบคุมการผลิตเตกีลา
นี้เรียกว่า "NOM" หรือ Nomal Ofical Mexicana
ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเม็กซิโก ได้รับการควบคุมอย่างเคร่งครัดจากหน่วยงาน "CRT" หรือ Consejo
Regulador de Tequila หรือสภาจัดระเบียบเตกีลา
มีหน้าที่กำกับดูแลควบคุมขั้นตอนการผลิต คุณภาพ
ในการผลิตได้ตรงตามมาตรฐาน ตั้งแต่การปลูกจนถึงการบรรจุขวดส่งออกขาย
เตกีลาปลูกในเขตฮาลิสโก้
ขั้นตอนการผลิตเตกีลา
การปลูกและการเก็บเกี่ยว อะกาเวสีฟ้ามีอายุ 5-10 ปี
จะมีความฉ่ำน้ำอย่างมาก และจะเก็บเกี่ยวโดยคนงาน
ที่มีความเชี่ยวชาญ เรียกพวกนี้ว่า"ฮิมาดอร์ "Jimador
โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "โกเดฮิมา" Coa de Jima
หรือพลั่วจับด้ามยาวปลายโลหะที่ใช้สับก้านอะกาเว
จนเหลือเพียงหัว คล้ายๆสับปะรดยักษ์หัวสับปะรดยักษ์ที่โตเต็มที่จะหนักราวๆ 100 ปอนด์ หรือประมาณ 45 กิโลกรัม หรือบางหัวก็จะมีน้ำหนักมากกว่านั้น
การเก็บเกี่ยว"ฮิมาดอร์"ใช้"โกเดฮิมา" สับก้าน อะกาเวหรือสับปะรดยักษ์
การย่อยให้เกิดน้ำตาล "Hydrolysis"
บลูอะกาเว (Blue agave)ประกอบด้วยสารอินูลิน
ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต ที่สามารถนำไปย่อยสกัดเป็นน้ำตาลเพื่อนำไปหมักเป็นแอลกอฮอร์โดยกระบวน
การนี้ทำได้ด้วยการนำหัวอะกาเวไปอบในเตาอิฐ
หรืออบในหลุมดิน ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งเพื่อที่จะ
ให้เตกีราหรือเมซคาลนี้ได้กลิ่นไหม้ของผิวบลูอะกาเว
การอบในหลุมดิน
การสกัด "Extraction"
เมื่อย่อยน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการสกัดคั้นน้ำตาลออกมาจากกากใย โดยเครื่องบด
หรือโม่หิน เพื่อให้ได้น้ำตาลที่สกัดออกมาจาก
หัวอะกาเวที่เรียกว่า"อะกัวมีล" (Aguamiel) ซึ่งแปลว่า
น้ำหวานน้ำผึ้ง (Honey Water)
การบดโดยใช้เครื่องบดโม่หิน
ม้าเป็นตัวใช้แรงในการบดเอาแป้งออกจากหัวอะกาเว
การหมัก "Formentation"
น้ำหวานน้ำผึ้งจะถูกนำให้เจือจางแล้วนำไปไส่แทงค์หรือถังขนาดใหญ่ และยีสต์จะหมักน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอร์
การกลั่น "Distillation"
การกลั่นครั้งแรกจะแยกน้ำและสิ่งเจือปน พวกกากต่างๆออกจากกัน จะได้แอลกอฮอร์ประมาณ 20-25%
และจะกลั่นอีกครั้ง เพื่อให้ได้แอลกอฮอร์ที่แรงขึ้น
ก็จะได้ เตกีลา ประเภท Blanco
การบ่ม "Aging"
สำหรับการบ่มเตกีลา ประเภท Responsado Anejo
และ Extra Anejo จะบ่มในถังไม้โอ้คอเมริกันวิสกี้
โดยส่วนใหญ่ การบ่มในถังไม้โอ้คจะทำไห้ สี กลิ่น
รสชาตินุ่มลื่นขึ้น
เตกีราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. Plan ol Tequila หรือ Mixto ซึ่งหมายถึง เตกีลาที่ผลิตจากบลูอะกาเว 100 % รสชาติดี กลิ่นหอมสดชื่น
2. Mixtos Tequila หรือ เตกีลาแบบผสม จะนำพวก
น้ำตาลหรือน้ำอ้อยมาผสมกับเตกีลา แบ่งได้ดังนี้
1.เตกีลาสีเงินหรือสีขาว
Blanco, Plata,White Silver
โดยทั่วไปจะบรรจุขวดหลังจากการกลั่นไม่นานนัก
โดยไม่ได้รับการบ่ม หรือถ้าบ่มก็บ่มประมาณ 2 เดือน
เตกีลาจะมีสีเงิน สีขาว มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ของ
บลู อะกาเว ชัดเจน
2.เตกีลาสีทอง
Joven,Abocado,Oro,Gold
เตกรีลาในเกรดนี้ส่วนมากจะผลิตจากอะกาเวบริสุทธิ์
ซึ่งสีทองเกิดจากคาราเมล หรือการผสมของเตกีลา
ชนิดอื่นๆนำมาผสมกันให้ได้กลิ่นและรสชาติทีดีขึ้น
3.เตกีลาเรโปซาโด
Reposado,Restd
คือเตกีลาที่บ่มในถังไม้โอ้คเป็นเวลาอย่างน้อย2เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี ซึ่งจะมีรสชาติที่ซับซ้อนขึ้น จะมีกลิ่น
คาราเมล วานิลา แอลมอนด์เพิ่มมากขึ้น
4.เตกีลาอันเยโฮ
Anejo,Aged
เตกีลาชนิดนี้บ่มในถังไม้โอ้คเป็นเวลาอย่างน้อย 1ปี
แต่ไม่เกิน 3 ปี โดยทั่วไปถังไม้ที่บ่มจะเป็นถังเก่า
ที่ใช้บ่มวิสกี้มาก่อน ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นซับซ้อน และกลิ่นหอมของไม้โอ้ค สำหรับคนที่ชอบวิสกี้จะชอบ
เตกีลาชนิดนี้มากเป็นพิเศษ แต่ละแบรนด์ก็จะมีกลิ่น
เป็นเอกลักษณ์แต่กต่างกันไปแล้วแต่ว่าจะนำถัง
ไม้โอ้คจากอเมริกา แคนนาดาหรือว่า สก้อตแลนด์
มาใช้ในการบ่ม และมีการปรุงแต่งรสชาตินิดหน่อย
5.เตกีลาเอ็กซ์ตราอันเยโฮ
Extra Anejo,Ultra Anejo
เตกีลาชนิดนี้ได้รับการบ่มเป็นเวลายาวนานเป็นพิเศษ
มีระยะเวลาการบ่มอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป กลิ่นของ
ไม้โอ้คจะเสริมกลิ่นอะกาเวให้หอมยิ่งขึ้น และภายหลังจาก 3 ปีผ่านไป เหล้าจะระเหยหายไป
เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "Angles Share"
ทำให้เตกีลามีรสชาติซับซ้อนนุ่มนวลมากเป็นพิเศษ
และที่สำคัญยังทำให้มีราคาแพงตามไปอีกด้วย
ชาวเม็กซิกันจึงมีธรรมเนียมกินดื่ม เตกีลาแบบ
ยกแก้วหมดรวดเดียว ตามด้วยเกลือและมะนาว
ทำให้ได้รสชาติของเตกีลาร้อนแรงอร่อยมากยิ่งขึ้น
วัฒนธรรมการดื่มเหล้าเตกีลาของชาวเม็กซิกัน
ถึงแม้ว่าชาวเม็กซิกันจะเป็นผู้ผลิตเตกีลาและส่งออก
เป็นอันดับหนึ่ง แต่การดื่มเตกีลานั้นก็ไม่เป็นสองรองใคร เพราะชาวเม็กซิกันดื่มเตกีลาเป็นชีวิตจิตใจ
กับอาหารแทบทุกมื้อเป็นประจำอยู่แล้ว
The Cocktails Club
ศรีอุดมเครื่องดื่ม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา