9 มิ.ย. 2020 เวลา 13:08 • ครอบครัว & เด็ก
“😍เรียนรู้ ที่จะ รู้จัก ลูก”😍
ถ้าเรารู้จักลูกก็จะตอบสนองได้ตามที่ลูกต้องการ ในเวลาที่เหมาะสมค่ะ
แม่มือใหม่จะกังวลกับ เทคนิคและตัวเลขต่างๆ เช่น ท่าอุ้มลูก ระยะเวลากินนมห่างแค่ไหน อึฉี่ไปกี่ครั้ง จนบางครั้งลืม ที่จะใช้เวลาสบายๆ แค่ “อยู่” ตรงนั้น ชื่นชมลูก พูดคุยกับลูก ทำความรู้จักกับลูก
 
การอุ้มสัมผัส คุยเบาๆ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตไปตามจังหวะชีวิตลูก มีความสำคัญ มากในการเริ่มต้น ความสัมพันธ์แม่-ลูกที่ดี
มองตาลูก เรียกร้องความสนใจ และ ใช้หน้าของเรามาอยู่ตรงหน้าของลูก แบบประจัญหน้ากันเลยค่ะ
ระยะห่างที่ลูกอยู่ในอ้อมแขน คือจุดที่ลูกจะเห็นหน้าแม่ได้ชัดที่สุด
ทารกเล็กๆชอบมองสิ่งที่มีสีตัดกัน ดวงตาสีดำ บนใบหน้าสีจางกว่า คือสิ่งที่ลูกชอบมองที่สุดค่ะ ....มองหน้ามองตาลูก..
🌸อยากมีเพื่อนตัวเล็กๆที่รู้ใจไหมคะ?
นี่เลยค่ะ ❤️ “กว่าจะรัก เท่าวันนี้ กว่าจะมีคนมาเข้าใจ ต้องใช้เวลา ใช่เพียงมองตากันเมื่อไร..” ❤️เพลงดัง “กว่าจะรัก” ของวง xyz เขาร้องไว้อย่างนี้
ทำความรู้จักกับลูก เหมือนลูกเป็นเพื่อนคนใหม่ของเรา😊
ต้องใช้เวลา แต่จะเป็นการใช้เวลาที่คุ้มค่ามากที่สุดในชีวิตค่ะ
ภาพจาก แฟ้มภาพ เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
“คุยกับลูกเหมือนคุยกับเพื่อน....”
“คุยเรื่องอะไรคะ?”
“อ๋อ! คุยไปได้ทุกเรื่องเลยค่ะ..อยู่กันสองคน ไม่มีใครแอบได้ยินหรอกค่ะ” 😀ช่วงลาคลอด 3 เดือนแรกนี่แหละ เหมาะจะทำความรู้จักกับลูก เข้าใจและยอมรับว่า ลูกคือ คนคนหนึ่งที่มีชีวิตจิตใจ เป็นของตนเอง ลูกรู้ร้อน หนาว เหงา หิว แต่ยังพูดไม่ได้เท่านั้น
🌸มาคุยกับลูก กันเถอะ!
คุยกับลูกแบเบาะนี่ล่ะนะ? ใช่ค่ะ เริ่มเร็วเท่าไรยิ่งดี แรกๆอาจจะ รู้สึกเขินๆ เดี๋ยวใครจะหาว่าบ้า ไม่ต้องแคร์สายตาใคร ถ้าพ่อแม่ ไม่คุยกับลูก ...จะให้ใครมาคุยล่ะคะ❣️
ตื่นเช้าก็ขึ้นมา ดูอารมณ์ลูกว่าพร้อมคุยก็คุยเลยค่ะ “วันนี้อากาศดีนะ ดูท้องฟ้าสิใสเชียว” .. เป็นทางการมากไปหน่อย...”จ๊ะเอ๋! แก้มใสของแม่ตื่นแล้ว...นอนสบายจังเนอะ “ จับมือเล็กๆของลูก ลูบไปทีละนิ้ว ...นิ้วเล็กๆก็น่ารัก ....บรรยายไปเรื่อย...คำพูดอะไรก็ได้ ที่พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ลูกจะจับความรู้สึกเราได้จากน้ำเสียง และท่าทางของเราค่ะ
ข้อสำคัญคือ หน้าของแม่ต้องอยู่ใกล้หน้าของลูกในระยะที่เขามองเห็นได้ชัดค่ะ และต้องคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงให้ดี ถ้าลูกหมดความสนใจก็ต้องเปลี่ยนมุข อย่าฝืนคุย ถ้าลูกหันหน้าหนีก็ต้องเปลี่ยนเรื่อง ความสนใจลูกจะสั้นค่ะ
🌸คุยสั้นๆ แต่คุยบ่อยๆ
ถ้าลูกเริ่มอ้าปากไซ้หาเอามือเข้าปากล่ะก็ เตรียมอุ้มขึ้นมาให้กินนมแม่ได้เลย ไม่ต้องรอให้ร้อง
ควรดูอารมณ์ของลูกด้วยว่า อารมณ์ดีไหม ไม่หิวเกินไป ไม่อิ่มเกินไป ไม่ง่วงนอน
นึกถึงตัวเราก็ได้ค่ะ ว่าชอบคุยกับคนอื่นเวลาไหน ลูกก็เหมือนกันค่ะ เขามีความรู้สึกเช่นเดียวกับเราๆทุกคน เพียงแต่เขายังพูดเป็นคำไม่ได้เท่านั้นเอง
🌸สังเกตลูกว่าพร้อมคุยเมื่อไร?
วงจรชีวิตทารกเกิดใหม่ๆ ก็จะมีไม่กี่อย่าง กินนม ง่วง นอนหลับ ตื่น ลูกจะค่อยๆปรับกิจวัตรของเขาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมข้างนอกท้องอันอบอุ่นของแม่
ซึ่งในวันเรกๆ เขาจะยังทำตัวเหมือนกับตอนอยู่ในท้องคือ “นอนกลางวัน ตื่นกลางคืน “ ค่ะ
ระยะเวลาการนอนหลับของลูกก็จะไม่ยาว แป๊บๆก็จะตื่นขึ้นมาแล้ว เราไปดูกันนะคะว่า ลูกในช่วงเดือนแรกมีวงจรการหลับตื่นอย่างไรบ้าง
☀️หลับลึก นอนนิ่งแบบไม่ไหวติง ปิดกั้นสิ่งเร้าจากภายนอก ตาปิดสนิท “นอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น”
หายใจลึกสม่ำเสมอ
☀️หลับตื้น (REM -Rapid Eye Movement -sleep)
หายใจตื้นขึ้น และไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำปากดูดจุ๊บๆ
ขยับตัวบ้างเล็กๆน้อยๆ ถ้าไปปลุกก็จะงัวเงียตื่น หรือพยายามจะหลับต่อ
1
☀️ภาวะกึ่งกลับกึ่งตื่น ลืมตาขึ้นมาแบบง่วงๆแล้วหลับต่อ อาจจะมีร้องเบาๆ พยายามขดตัวนอนต่อ หน้าตายู่ยี่ จะเข้าสู่ภาวะตื่น หรือหลับต่อดี?
☀️ภาวะตื่นเต็มที่. หน้าตาจะสดใส ดวงตาเป็นประกาย ขยับตัวช้าๆอย่างมีจุดหมาย ถ้ามีอะไรที่น่าสนใจเขาก็จะหายใจแรงลึก หน้าจะบ่งบอกว่าอยากให้ใครมาคุยมาสนใจ
ภาวะนี้แหละค่ะ ที่เหมาจะพูดคุยกับลูกมากที่สุด
อุ้มลูกขึ้นมาให้ประจันหน้ากับเรา มองไปในดวงตาของลูก ดึงความสนใจให้อยู่กับ การทำปาก ทำหน้าทำตาประกอบการคุย
เชื่อไหมคะว่า ทารกวัยเล็กๆแค่นี้ เขาจะพยายามเลียนแบบเราได้แล้ว!
ภาวะตื่นเต็มที่ ลูกพร้อมจะมองหน้าและพูดคุย
สมองของทารกจะเก็บรับทุกอย่างผ่าน ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ตาหู จมูก ลิ้น ผิวหนัง
ตาดูเห็นหน้าบ่อยๆ วงจรประสาทรับรู้ เมื่อทำปากจู๋ หรือแลบลิ้น ลูกสามารถแลบลิ้นเลียนแบบเราได้
ลูกอ้าปาก เมื่อเราเปิดปากยิ้ม
ลูกขยับปากตาม
ยื่นมือออกไปสัมผัสหน้า
สายตาไม่จับจ้อง หมดความสนใจ
ทารกเล็กๆรับรู้ และทำได้มากกว่าที่เราคิดค่ะ
❣️ใช้เวลาที่อยู่กับลูก ทำความรู้จักลูกกันค่ะ❣️
ซึมซับว่าขณะนั้นลูกมีอารมณ์อย่างไร ผิวสัมผัสของลูกเป็นอย่างไร ใจอยู่กับลูก ณ ขณะนั้น เนื้อนุ่มนิ่ม ละเอียดอ่อน ตัวร้อนหรือเย็น แขนขาผ่อนคลาย หรือตึง
ผนังหน้าท้องและหน้าอกที่หายใจขยับขึ้นลง ตื้นหรือลึก
ลมหายใจของลูกประสานกับลมหายใจของแม่
เพราะ เจ้าตัวเล็กๆคนนี้มิใช่หรือ ที่ทำให้ลมหายใจของแม่มีความหมาย
ดวงตา กลิ่นหอม แก้มนิ่ม ปากน้อยๆ ที่ขยับไปมา ช่างดูน่ารักไปหมด
การอยู่กับปัจจุบัน ขณะในเวลาที่อุ้มกอดลูก ทำให้แม่เป็นคนช่างสังเกต ดูการหายใจ คลำการเต้นของหัวใจ ลูกกับแม่คลอเคลียคู่เคียง ไม่ห่างจากกัน
เมื่อสังเกตจังหวะชีวิตลูก จังหวะชีวิตแม่ จะเนิบช้าตามลูก
จิตใจจะสงบลง เพลินจนลืมวันเวลา
นี่คือประสบการณ์ชีวิตที่ยากจะลืมเลือน และจะประทับในใจแม่ตลอดไป
❤️ขอให้แม่ลูกทุกคู่ ได้มีความรัก ความผูกพัน ที่ประสานเคียงคู่กันไปตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มชีวิตใหม่นี้ค่ะ❤️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา