13 มิ.ย. 2020 เวลา 10:18 • ความคิดเห็น
คิดไว้รึยังว่าชีวิตนี้ จะ ‘ตาย’...แบบไหน?
***ได้โปรดอย่าเลื่อนผ่าน เพราะ เป็นเรื่อง ”ใกล้ตัว”..มากกว่าที่คุณคิด***
บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้ใคร ’คิดสั้น’ ...หรือ ‘ฆ่าตัวตาย’ แต่อย่างใด...
ทุกคนทราบดีว่าชีวิตไม่มีอะไรที่แน่นอน...แต่สิ่งที่แน่นอนคือ “ความตาย”
และเราทุกคนมี ... ’สิทธิ’ ที่จะออกแบบความตายของ ‘ตัวเอง’
การออกแบบความตาย สามารถทำได้ โดยการทำ “ Living will ”
📌 Living will หรือ หนังสือแสดงเจตนา คือหนังสือที่สามารถ แสดงเจตนาไว้ ‘ล่วงหน้า’
ว่า ’คุณ’ จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อ “ยืดการตาย”
ใน ’วาระสุดท้าย’ ของชีวิตหรือไม่...
🚨🚨🚨 อ่านมาถึงตรงนี้อย่าเพิ่งกดออก...ถ้ายังไม่ได้อ่านบรรทัดต่อไป...🚨🚨🚨
อย่าเพิ่งคิดว่า...
‘ฉัน’ จะรีบทำไปทำไม ยังไม่ใช่คนที่ ‘ใกล้จะตาย’ หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรงระยะสุดท้าย
ที่จะต้องมาทำหนังสือแสดงเจตนาหรือวางแผนการรักษาก่อนตาย...หรือ
‘ฉัน’ ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องตายหรอก อายุยังน้อยและแข็งแรงอยู่...ไม่เห็นจะต้องรีบทำ
.
....ลองพิจารณาดูดีๆ...
.
นึกถึง ‘คนในครอบครัว’ ของคุณ...ที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวรุมเร้า ต้องกินยาเป็นแผงๆ
หรือต่อให้แข็งแรงมีสุขภาพที่ดี ยังด่าคุณได้ ...ตีลังกาได้...กระโดดเกาะเสาไฟฟ้าได้ ...
แล้ว..’คุณ’ เคยคิดมั้ยว่า ‘พวกเขา’ เหล่านั้น...จะอยู่กับคุณได้นานแค่ไหน...
เคยคุยกันบ้างมั้ยว่าถ้าถึง ’วัน’ ที่จะต้องจากกันจริงๆ ...พวกเขาต้องการจากไปแบบไหน
นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ...เพราะหากถึงวันนั้นจริงๆ ‘คุณ’ อาจจะต้องเป็นคนที่ตัดสินใจ ว่าจะ...
“ยื้อชีวิต” คนที่คุณรักไว้...หรือปล่อยให้เขาจากไปอย่างสงบ...
ใช่แล้ว...บทบาทหน้าที่ของแพทย์ต้องทำตามกระบวนการช่วยเหลือชีวิต...
ภาพจาก...Living will หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในวาระสุดท้ายของชีวิต ฉบับประชาชน
ถ้า... หัวใจ’หยุดเต้น’...ก็กู้ชีพโดยการปั๊มหัวใจ
ถ้า... เกิดภาวะ ’การหายใจล้มเหลว’ ...ก็ใส่ท่อช่วยหายใจ
ถ้า... ความดันโลหิตต่ำ...ก็ให้ยากระตุ้นความดันโลหิต
สารพัดสิ่ง และสายระโยงระยาง...จากหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์
...ที่ต้องช่วยชีวิตของ ‘ผู้ป่วย’
และเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ จะทำหน้าที่นี้ไม่ได้ (ถ้าไม่ใช่ภาวะเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือประสบอุบัติเหตุ)... หากปราศจากความยินยอมของญาติ ที่มีอำนาจในการ’ตัดสินใจ’
...เมื่อผู้ป่วยไม่มีสติที่จะเลือกการรักษาด้วยตัวเอง
***สิ่งที่สำคัญคือการพูดคุยและสอบถามกับแพทย์เจ้าของไข้ ว่าแนวทางการรักษาเป็นอย่างไร...โอกาสในการรอดชีวิตเป็นเท่าไหร่ ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละกรณี***
เพราะความเป็นจริง ไม่มีอะไร 100% ในทางการแพทย์...
👉🏼 แล้ว...Living will ควรจะทำตอนไหน ?
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ตามปกติและ สามารถเขียนหนังสือแสดงเจตนาได้ด้วยตนเอง (หากอยุต่ำกว่า 18 ปีควรได้รับคำอนุญาตจากผู้ปกครอง) สามารถทำ living will ได้ โดยจะทำ ณ สถานที่ใดก็ได้...
*** และเพื่อความรอบคอบ ควรขอคำแนะนำจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข
🚨🚨🚨 การทำ Living will จำเป็นต้องมีผู้แทนการตัดสินใจ 🚨🚨🚨
จะเลือกใครก็ได้ที่ไว้วางใจ เช่น สามี/ภรรยา พ่อแม่ พี่น้อง ลูก คนใกล้ชิด เพื่อนสนิทหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพราะบุคคลที่เป็น “ผู้แทนกรตัดสินใจ” จะมีบทบาทสำคัญเมื่อในการอธิบายความประสงค์ที่แท้จริง ของผู้ที่ทำ Living will
***สิ่งที่สำคัญกว่าการทำ Living will ให้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร คือ ผู้แทนการตัดสินใจ หรือญาติของผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจในด้านการรักษานั้น...
⭐️ “จำเป็นต้องเข้าใจ” เจตนาที่แท้จริงของผู้ป่วย....และ“ทุกคน” ในครอบครัวควรทราบว่าผู้ป่วยเลือกจะรับการรักษาแบบไหน หรือจะปฎิเสธการรักษาเพราะอะไร ควรเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย เพราะมีบางกรณี ที่ญาติไม่ได้ทำตามเจตนาของผู้ป่วยที่ตั้งใจไว้ และทำให้วาระสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วยเป็นแบบภาพด้านบน 👆🏽
🚨🚨🚨 เมื่อทำ Living willแล้ว...สามารถเก็บฉบับจริงไว้ที่ตัวเอง วางไว้บริเวณที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อน คนในครอบครัวทราบว่าอยู่ที่ไหน พร้อมทำสำเนา ไปแนบกับแฟ้มประวัติผู้ป่วยของตนเอง ในโรงพยาบาลที่มีโอกาสจะเข้าไปใช้บริการ หากท่านใดมีทีมรักษาก็สามารถยื่นสำเนากับทีมรักษาได้เลย
👉🏼 ถ้าทำ Living will ไป แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา...จะไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ ?
ผู้ที่ทำ Living will ไว้แล้วหาก อยู่ในภาวะฉุกเฉินหรือปะสบอุบัติเหตุมา จะยังคงได้รับการรักษาตามมาตรฐานปกติ
👉🏼 ทำ Living will ไปแล้ว สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หรือไม่?
ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ได้โดยต้องลงวันที่และเซ็นกำกับพร้อมแจ้งผู้แสดงเจตนาแทน พยาน คนใกล้ชิด ทีมผู้รักษาพยาบาล และโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา...ซึ่งฉบับที่มีผลบังคับ คือฉบับล่าสุดที่ยื่นต่อทีมรักษา
นี่คือตัวอย่างของ Living will จาก https://www.thailivingwill.in.th/node/53
และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Living will ได้ที่นี่ 👇🏼
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thailivingwill.in.th/node/53
ทำเป็นกระดาษแผ่นเดียวง่ายต่อการแก้ไข และทำสำเนา
Living will มีหลายรูปแบบ สามารถทำในรูปแบบของ “สมุดเบาใจ” ได้เช่นกัน...
เพราะนอกจากจะมีส่วนที่เป็น Living will แล้ว ยังมีส่วนของ การดูแลทางกาย การดูแลทางใจ การจัดการร่างกายหลังเสียชีวิต และงานศพ
สามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PDF ได้ ฟรี ที่นี่ 👇🏼
หรือ👇🏼
“การตายดีเป็นสิทธิของทุกคน”
“ควรใช้ช่วงที่ยังมีสติวางแผนเพื่อการตายดี”
ด้วยรัก และความปรารถนาดี 🥰
หน่องหมอ
ขอขอบพระคุณโครงการดีๆ
“โครงการความตาย พูดได้ เครือข่ายพุทธิกา สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (THAPS)
ที่จัดทำสมุดทรงคุณค่า “สมุดเบาใจ” ขึ้นมา
และหนังสือ Living will หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในวาระสุดท้าย
ของชีวิต ฉบับประชาชน
✨แถม✨ คู่มือบริจาคร่างกายออนไลน์ สามารถทำได้ที่บ้าน👇🏼

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา