13 มิ.ย. 2020 เวลา 11:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เคยสังเกตกันมั้ยว่า...ทำไมสายไฟฟ้าที่เป็นสายหลายแกนที่มีกราวด์ในเส้นเดี่ยวกัน (multi-core w/ground) ที่ผลิตตามมาตรฐาน มอก.11-2553 จึงมีขนาดสายกราวด์เท่ากับสายเส้นไฟ
เมื่อก่อน หากเรา ใช้สายไฟที่ผลิตตาม มอก.11-2531 (เก่า) เราจะเห็นว่า ถ้าเราใช้สายพวก NYY หรือ VCT ที่มีกราวด์ในเส้นเดียวกันนั้น จะมีขนาด สายกราวด์ลดหลั่นลงไป เช่น สายเส้นไฟ 4 ตร.มม. จะมีสายกราวด์ขนาด 2.5 ตร.มม. หรือสายเส้นไฟ 6 ตร.มม. จะมีสายกราวด์ขนาด 4 ตร.มม.
แต่หากเป็นสายที่ผลิตตามมาตรฐาน มอก.11-2553 (ใหม่) เราจะเห็นสายกราวด์ที่มีขนาดเท่ากันกับสายเส้นไฟ เช่น สายเส้นไฟ 4 ตร.มม. จะมีสายกราวด์ขนาด 4ตร.มม. หรือสายเส้นไฟ 6 ตร.มม. จะมีสายกราวด์ขนาด 6 ตร.มม. ไปจนถึงสายไฟขนาด 16 ตร.มม. ก็จะมีสายกราวด์ 16 ตร.มม.
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสายไฟฟ้า ตามมาตรฐาน มอก.11-2553 (ใหม่) ได้อ้างอิงมาจากมาตรฐานสายไฟที่เป็นไปตาม IEC 60227 โดยในหลักการคิดขนาดสายกราวด์ตามมาตรฐาน IEC (IEC60364-5-54 : Electrical installations of buildings Part 5-54 : Selection and erection of electrical equipment Earthing arrangements, protective conductors and protective boning conductors) หรือตาม BS7671 ตารางที่ 54.7 จะกำหนดขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายกราวด์ไว้ตามนี้
#หลักสูตรออกแบบงานระบบไฟฟ้าตามแบบฉบับแอดมินห้องไฟฟ้า(ออนไลน์)
1) สายเส้นไฟที่มีขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม. จะกำหนดขนาดสายกราวด์ เท่ากับสายเส้นไฟ
2) สายเส้นไฟที่มีขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. แต่ไม่เกิน 35 ตร.มม. จะกำหนดขนาดสายกราวด์ เท่ากับ 16 ตร.มม.
3) สายเส้นไฟมีขนาดใหญากว่า 35 ตร.มม. จะกำหนดขนาดสายกราวด์ เป็นครึ่งหนึ่งของสายเส้นไฟ
โฆษณา