15 มิ.ย. 2020 เวลา 00:30 • กีฬา
Warm-up และ Cool-down II การยืดเหยียดที่นักวิ่งหลายคนยังเข้าใจผิด
การยืดเหยียดมี 2 แบบ คือแบบ Dynamic Stretching และ Static Stretching ซึ่งทั้งสองแบบยืดแตกต่างกัน และมักถูกนำไปใช้ในการ Warm-up และ Cool-down
📍Warm-up II วอร์มอัพ
เป็นการยืดเหยียด แบบ Dynamic Stretching เป็นการยืดแบบเคลื่อนที่ไปมา ไม่ค้างกล้ามเนื้อ เช่น การแกว่งขาไปหน้าหลัง หรือ การดีดส้น รวมไปถึงการแตะขาไปข้างหน้า และอีกหลายท่า หรือจะเรียกง่ายๆที่เห็นนักว่ิ่งทำกัน คือ การดริล นั่นเอง ซึ่งช่วยในการวอร์มเตรียมความพร้อมให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ที่เราทำการยืด และพร้อมสำหรับการวิ่ง
โดยคนทั่วไปและส่วนมากมักเข้าใจผิด และจะเห็นได้บ่อยมาก ก่อนวิ่งจะมาทำท่ายืดๆ เหยียดๆค้างไว้ ซึ่งมันไม่เหมาะกับการเตรียมตัววิ่งเลย ฉะนั้นต่อไป การ Warm-up ควรทำการขยับตัวหรือเคลื่อนตัวนะครับ
หรือจะทำการ จ๊อกเบาๆ เป็นการวอร์มก็ถือว่าทำได้ครับ ช่วยให้ร่างกายอุ่นพร้อมกับการวิ่งที่เข้มข้นขึ้น มากกว่าการจ๊อกกิ้งครับ
📍Cool-down II คูลดาวน์
เป็นการยืดเหยียด แบบ Static Stretching เป็นการยืดเหยียดแบบที่เราๆทำกันบ่อยๆ เช่น ยืดแขนค้าง 30 วินาที หรือ กางขาก้มแตะปลายเท้า 30 วินาที ซึ่งการยืดเหยียดแบบนั้น ควรใช้หลังจากวิ่งนะครับ เพราะการยืดแบบนี้จะช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้คลายตัวหลังจากทำการวิ่งนั่นเองครับ
และจากการศึกษาพบว่าการใช้ Static Stretching ในช่วงของการWarm-up นั้นจะทำให้ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการวิ่งของเราครับ
🔴สรุป🔴
Warm-up = เคลื่อนที่ เน้นเคลื่อนไหว 15-30 นาที
Cool-down = เน้นยืด ค้าง ท่าละ 30 วินาที (แล้วแต่จำนวนท่า) ประมาณ 15-30 นาที
ฝากติดตามและขอบคุณมากครับ
Run In Race
โฆษณา